MEA เร่งถอดหม้อแปลงไฟฟ้าล็อตไฟไหม้สำเพ็ง นำตรวจสอบสร้างความเชื่อมั่นประชาชน

MEA เร่งถอดหม้อแปลงไฟฟ้าล็อตไฟไหม้สำเพ็ง นำตรวจสอบสร้างความเชื่อมั่นประชาชน

MEA เร่งถอดหม้อแปลงไฟฟ้าล็อตไฟไหม้สำเพ็ง นำตรวจสอบสร้างความเชื่อมั่นประชาชน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากความคืบหน้าล่าสุด กรณีเหตุเพลิงไหม้ย่านสำเพ็ง นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง ได้สั่งระงับการใช้งานหม้อแปลงไฟฟ้าในรุ่นเดียวกันกับหม้อแปลงไฟฟ้าจากเหตุการณ์สำเพ็ง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ในระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA ทั้งหมดจำนวน 4 ลูก ก่อนนำไปตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้กับประชาชน พร้อมตอบสนองนโยบายการดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิดของกระทรวงมหาดไทย โดยในวันนี้ (5 กรกฎาคม 2565) เจ้าหน้าที่ MEA ลงพื้นที่ถอดหม้อแปลงไฟฟ้าวงจรตาข่าย (Network Transformer) ในรุ่นเดียวกับที่เกิดเหตุ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนกรุงเกษม จำนวน 2 ลูก ก่อนนำไปตรวจสอบที่การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ และมีแผนที่จะถอดหม้อแปลงที่เหลืออีก 2 ลูก ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565

นอกจากนี้ MEA ได้ดำเนินมาตรการตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าในกลุ่มหม้อแปลงวงจรตาข่าย (Network Transformer) อีกจำนวน 450 ลูก ในพื้นที่เมืองชั้นใน เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร โดยเป็นการดำเนินงานเพิ่มเติมจากภารกิจบำรุงรักษาตามมาตรฐานวิศวกรรมที่ MEA ทำอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยใช้วิธี Dissolved Gas Analysis (DGA) หรือ การวิเคราะห์ก๊าซที่ละลายในน้ำมัน เพื่อตรวจหาความผิดปกติของหม้อแปลงไฟฟ้า เสมือนการตรวจเลือดของมนุษย์เพื่อตรวจสอบสุขภาพ โดยจะสามารถตรวจวัดค่าความชื้น ค่าก๊าซไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ เอทิลีน อีเทน มีเทน และอะเซทิลีน เป็นต้น ซึ่งหากพบความผิดปกติ ก็จะทำให้สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุได้อย่างแม่นยำ และสามารถซ่อมบำรุง หรือการเปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้าลูกนั้น ๆ ได้ในทันที มีกำหนดการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ให้แล้วเสร็จภายในเดือน สิงหาคม 2565


ขณะเดียวกัน MEA จะดำเนินการตรวจสอบด้วยรูปแบบ Standard Check กับหม้อแปลงไฟฟ้าของ MEA ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 67,000 ลูก ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยเริ่มต้นระยะที่ 1 จากการตรวจสอบควบคู่กับการทดสอบ DGA และพื้นที่ติดตั้งหม้อแปลงใกล้แหล่งชุมชน รวมจำนวนประมาณ 18,000 ลูก มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 4 เดือน ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนที่ทำเพิ่มเติมจากการตรวจประจำปี โดยการตรวจสอบด้วยกล้องวัดอุณหภูมิ Thermo Scan เพื่อหาค่าความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ ตรวจสอบการทำงานของระบบป้องกันในหม้อแปลงไฟฟ้า รวมถึงการตรวจสอบค่ากระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า จุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ และระบบสายดิน  เพื่อประเมินประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้าแต่ละลูก และประเมินความปลอดภัยตลอดอายุการใช้งาน ตลอดจนการเพิ่มนวัตกรรมระบบควบคุมและติดตามการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า (Online Transformer Control & Monitoring System) มาใช้เสริมความปลอดภัยจากการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook