แนวโน้มที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะเป็นลูกหลานของชาวอาณานิคมในไม่ช้านี้

แนวโน้มที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะเป็นลูกหลานของชาวอาณานิคมในไม่ช้านี้

แนวโน้มที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะเป็นลูกหลานของชาวอาณานิคมในไม่ช้านี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จักรวรรดิอังกฤษ กำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิอังกฤษเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าศตวรรษ

ปี 2465 (ตรงกับสมัย ร.6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) จักรวรรดิอังกฤษครอบครองดินแดนเป็นอาณานิคมครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 33,000,000 ตารางกิโลเมตร

เกือบหนึ่งในสี่ของพื้นดินทั้งหมดของโลกและปกครองประชากรประมาณ 458 ล้านคน หรือกว่าหนึ่งในห้าของประชากรโลกในขณะนั้น เป็นผลให้มรดกทางการเมือง กฎหมาย ภาษาและวัฒนธรรมของอังกฤษแผ่ขยาย ในยุคที่จักรวรรดิอังกฤษรุ่งเรืองที่สุดนั้นมีคำพูดแบบกำแหงหาญว่า 

"ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินในจักรวรรดิอังกฤษ"

เพราะดินแดนของที่จักรวรรดิอังกฤษมีอยู่ทั่วทุกทวีปทำให้ดวงอาทิตย์ยังส่องแสงอยู่ในดินแดนใต้ปกครองอย่างน้อยที่สุดหนึ่งแห่งตลอดเวลา

ในปัจจุบันอังกฤษต้องปลดปล่อยให้บรรดาอาณานิคมทั่วโลกเป็นเอกราชไปเกือบหมด ประเทศอังกฤษหรือที่โดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก

ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก มีพื้นที่เล็กกว่าประเทศไทยประมาณครึ่งหนึ่งคือประมาณ 243,610 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 64,100,000 คน

อังกฤษเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก อังกฤษถือเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลกและอังกฤษยังถูกจัดว่าเป็นมหาอำนาจประเทศหนึ่งในโลกและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมาก อังกฤษเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก

อังกฤษมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีรัฐบาลตามระบบรัฐสภาซึ่งแบ่งเป็นสองสภา คือสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และ สภาขุนนางที่มาจากการแต่งตั้งแต่ปัจจุบันสภาขุนนางแทบจะไม่มีอำนาจหน้าที่อะไรแล้วเพราะไม่มีความผูกพันใดๆ กับประชาชนเลยเป็นเพียงพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตเอาไว้ดูเล่นเท่านั้นเอง ส่วนสภาผู้แทนราษฎรนั่นเองที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

สำหรับตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี, หัวหน้ารัฐบาลของอังกฤษต้องเป็นบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่ง โดยต้องเป็นเป็นผู้นำของพรรคการเมือง ที่มีจำนวนที่นั่งมากที่สุดในสภา นายกรัฐมนตรีจะเลือกคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการโดยพระมหากษัตริย์ โดยการประชุม สมเด็จพระราชินีจะเคารพในการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี 

ครับ! มาเข้าเรื่อง "แนวโน้มที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะเป็นลูกหลานของชาวอาณานิคมในไม่ช้านี้" 

จากการที่อังกฤษเคยเป็นเจ้าอาณานิคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกในอดีตก็ย่อมต้องมีชาวอาณานิคมโดยเฉพาะชาวอินเดียและปากีสถานอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอังกฤษเป็นจำนวนมากซึ่งจากตัวเลขที่สำรวจแล้วปรากฏว่ามีชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดียในอังกฤษถึง 1,451,862 คน และมีชาวอังกฤษเชื้อสายปากีสถานในอังกฤษประมาณ 1,174,983 คน

ทั้งชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดียและชาวอังกฤษเชื้อสายปากีสถานได้เข้ามาเล่นการเมืองสมัครเข้ารับเลือกตั้งในวงการเมืองอังกฤษอย่างเป็นล่ำเป็นสันและประสบความสำเร็จอย่างสูงแล้วหลายคน อาทิ นายซาดีก คาน ผู้มาจากตระกูลผู้อพยพมาจากปากีสถาน

นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน นายซาดีก คาน กล่าวบนเวทีระหว่างงานเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของชาวเพศหลากหลายในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2565Tristan Fewings/Getty Imagesนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน นายซาดีก คาน กล่าวบนเวทีระหว่างงานเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของชาวเพศหลากหลายในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2565

พ่อของเขาอยู่ในบ้านแบบสงเคราะห์ของรัฐบาล ทำงานเป็นลูกจ้างขับรถบัสในกรุงลอนดอน แต่วันนี้ลูกคนหนึ่งที่ชื่อซาดีก คาน ได้รับความไว้วางใจจากชาวลอนดอน เลือกให้มาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ยังเป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็นมุสลิมคนแรก และเป็นชาวเอเซียคนแรกด้วยที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ 

ชาวอังกฤษเชื้อสายปากีสถานอีกคนหนึ่งคือ นายซาจิด จาวิด รัฐมนตรีสาธารณสุข เป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีคนแรกที่ประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อประท้วงกรณีที่นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน เจอกับข้อกล่าวหาว่าบิดเบือนต่อสังคมเกี่ยวกับสิ่งที่จอห์นสันรู้เกี่ยวกับข่าวอื้อฉาวการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นกับสมาชิกสภานิติบัญญัติของพรรคอนุรักษ์นิยม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุขสหราชอาณาจักร นายซาจิด จาวิด ร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีที่บ้านพักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2565Carl Court/Getty Imagesรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุขสหราชอาณาจักร นายซาจิด จาวิด ร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีที่บ้านพักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2565

นายซาจิด จาวิด คือ อดีตนายธนาคาร เคยดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง และเคยลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลังในปี 2543 มาแล้ว

ยิ่งกว่านั้นเขายังได้คะแนนเสียงสนับสนุนเป็นอันดับที่ 4 ในการลงคะแนนเลือกหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมแทนที่นางเทเรซา เมย์ อดีตนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2562 อีกด้วย

ขณะนี้นายซาจิด จาวิดก็เป็น 1 ใน 6-7 คนที่จะเป็นคู่แข่งคนสำคัญที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษต่อจากนายบอริส จอห์นสันผู้เพิ่งลาออกไปเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมานี้เอง เนื่องจากชาวอังกฤษชอบเล่นการพนันแบบฝังหัวและรัฐบาลอังกฤษก็เปิดให้เล่นการพนันกันได้อย่างถูกกฎหมาย

ดังนั้นการคาดการว่าใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนต่อไปจึงมักขึ้นอยู่กับบริษัทการพนันขนาดใหญ่เช่นสกาย เบ็ทได้เปิดการต่อรองแล้วโดยให้นายเบน วอลเลซ รัฐมนตรีกลาโหมวัย 52 ปี ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งในฐานะสมาชิกคณะรัฐมนตรีและสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยม จากผลงานในการรับมือกับวิกฤตสงครามยูเครน

ส่วนอันดับที่ 2 คือนายริชี ซูนัก หรือฤษิ สุนัก ชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดียที่พ่อแม่อพยพจากอินเดียไปอยู่แอฟริกาใต้แล้วจึงย้ายมาอยู่ในอังกฤษ

นายริชี ซูนัก เพิ่งลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีคลังอังกฤษเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา พร้อมกับประกาศว่า สาธารณชนอังกฤษคาดหวังให้รัฐบาลดำเนินการอย่างเหมาะสม มีความสามารถและจริงจัง และเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ได้รับการคาดหมายว่าจะก้าวขึ้นมาแทนที่จอห์นสัน เนื่องจากนายริชี ซูนัก ได้รับเสียงชื่นชมจากนโยบายอุดหนุนเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งรวมไปถึงนโยบาย ประคับประคองตำแหน่งงานที่ใช้งบประมาณมหาศาล ที่สามารถช่วยหลีกเลี่ยงการเลิกจ้างครั้งใหญ่ได้

นายฤษิ สุนัก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหราชอาณาจักร ออกจากบ้านพักในกรุงลอนดอน หลังจากเปิดตัวแคมเปญหาเสียงในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมคนต่อไปเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2565Hollie Adams/Getty Imagesนายฤษิ สุนัก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหราชอาณาจักร ออกจากบ้านพักในกรุงลอนดอน หลังจากเปิดตัวแคมเปญหาเสียงในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมคนต่อไปเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2565

แต่เขาเสียคะแนนนิยมไปมากเพราะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความร่ำรวยและการเลี่ยงภาษีของภรรยาของเขาอย่างถูกกฎหมาย รวมไปถึง เป็นคนที่ "ถูกปรับ" พร้อมๆ กับ นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ในข้อหาละเมิดมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกับภาพลักษณ์ของซูนัก มากที่สุด 

อย่างไรก็ตามในอนาคตอันใกล้นี้แนวโน้มที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะเป็นลูกหลานของชาวอาณานิคมคงเป็นความจริงได้อย่างแน่นอน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook