ดราม่า ทบ. บินโปรยเมล็ดพันธุ์ลงป่า ชาวเน็ตแห่สอน "กระถินยักษ์" คือพืชต่างถิ่นรุกราน

ดราม่า ทบ. บินโปรยเมล็ดพันธุ์ลงป่า ชาวเน็ตแห่สอน "กระถินยักษ์" คือพืชต่างถิ่นรุกราน

ดราม่า ทบ. บินโปรยเมล็ดพันธุ์ลงป่า ชาวเน็ตแห่สอน "กระถินยักษ์" คือพืชต่างถิ่นรุกราน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดราม่า ทบ. ทำภารกิจบินโปรยเมล็ดพันธุ์ลงพื้นที่ป่า ชาวเน็ตแห่ให้ความรู้ "กระถินยักษ์" คือพืชต่างถิ่นรุกรานรุนแรงติดอันดับ 

จากกรณี กองทัพบก Royal Thai Army เผยภาพ หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 36 ร่วมกับ ชุดปฏิบัติการบินทหารบก หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 ทำโครงการปลูกป่าทางอากาศ โปรยเมล็ดพันธุ์ลูกหว้า จำนวน 2,000 เมล็ด ลงในพื้นที่ป่าต้นน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน แต่ถูกหลายคนคอมเมนต์ท้วงติงว่าการทำแบบนี้ถือว่ารบกวนธรรมชาติ ทำลายระบบนิเวศให้มันเสื่อมโทรมลง อีกทั้งยังเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงในการขึ้นบิน 

ต่อมา เฟซบุ๊ก Army Spoke Team ได้มีการโพสต์ข้อความ โดยกองทัพบก ระบุว่า การโปรยเมล็ดพันธุ์ทางอากาศ กองทัพบกได้แสวงประโยชน์จากใช้อากาศยานในภารกิจทางทหาร เช่น การบินลาดตระเวน การบินส่งเสบียงในพื้นที่ป่าเขา โดยนำเมล็ดพันธุ์ขึ้นเครื่องไปด้วย เมื่อพบพื้นที่ป่าที่เสื่อมโทรม ป่าต้นน้ำก็จะโปรยเมล็ดพันธุ์เพื่อให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ ซึ่งไม่ได้มีการใช้เชื้อเพลิงเพิ่มเติมเพราะเป็นเส้นทางบินของอากาศยาน ตามแผนภารกิจทางทหารอยู่แล้ว

ทั้งนี้ เมล็ดพันธุ์มีหลายชนิด อาทิ ต้นสัก ลูกหว้า กระถินยักษ์ โดยความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ กรมป่าไม้ ค่ายอาสา ร่วมกันจัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ โดยใช้ดินเหนียวห่อให้เมล็ดพันธุ์มีน้ำหนัก ที่ผ่านมาได้โปรยเมล็ดพันธุ์และเติบโตโดยธรรมชาติในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ ป่าต้นน้ำบ้านห้วยเดื่อ อ.เมือง, ป่าต้นน้ำบ้านเมืองน้อย อ.ปาย, อุทยานแห่งชาติสาละวิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดยหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 ยืนยันว่า กองทัพบก จะใช้ศักยภาพ พร้อมความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ และเพิ่มปริมาณป่าไม้เพื่อยังประโยชน์กับทุกคนในชาติตลอดไป

อย่างไรก็ตาม หลังการชี้แจงดังกล่าว ก็ยังคงมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นโจมตี เพราะทางหน่วยงานยังไม่สามารถชี้แจงถึงผลลัพธ์ของโครงการนี้ว่าสำเร็จจริง และมีข้อมูลหรือไม่ว่าโครงการนี้ไม่ได้รบกวนระบบนิเวศจริง

สำหรับ กระถินยักษ์ จากข้อมูลระว่า คือพืชต่างถิ่นรุกรานที่รุนแรงสูงสุดติดอันดับ 100 ชนิดแรกของโลก และ 51 ชนิดแรกของไทย ไม่ควรใช้ในการปลูกฟื้นฟูป่า หรือนำไปปลูกในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือการปลูกในระบบวนเกษตรที่ไม่มีการดูแลจัดการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นพืชที่มีนิสัยรุกรานพืชชนิดอื่นๆ อย่างรุนแรง และใบ กิ่งก้าน ฝักที่ร่วงลงมายังปล่อยสารเคมียับยั้งการงอกและเจริญเติบโตพืชชนิดอื่นๆ ผลก็คือป่าไม้จะไม่มีการฟื้นฟูตัวเองกลับมาเป็นป่าที่สมบูรณ์ได้ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook