เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 3 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 3 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน

เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 3 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมานี้ ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน มีพิธีปล่อยเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 3 ชื่อว่า "ฝูเจี้ยน" ซึ่งเป็นเรือที่มีความยาว 320 เมตร ความกว้างของดาดฟ้าบิน 73 เมตร และมีระวางขับน้ำ 80,000 ตันลงน้ำ แต่ยังไม่ขึ้นระวางประจำการ จากอู่ต่อเรือเจียงหนันในนครเซี่ยงไฮ้

เรือบรรทุกเครื่องบินฝูเจี้ยนเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่จีนออกแบบเองในประเทศจีนเองทั้งหมด และที่จีนภาคภูมิใจที่สุดคือความสำเร็จในการพัฒนาระบบส่งเครื่องบินแบบแคตะพัลต์แม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินฝูเจี้ยนมีกำหนดจะเริ่มก่อสร้างที่นครเซี่ยงไฮ้ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้ และคาดว่าเรือบรรทุกเครื่องบินฝูเจี้ยนจะเข้าประจำการในปีหน้านี้แน่นอน

พลเรือตรี หยิน จวอ ผู้อำนวยการคณะกรรมาธิการที่ปรึกษากองทัพเรือจีน กล่าวว่า กองทัพเรือจีนนำระบบแคตะพัลต์แม่เหล็กไฟฟ้ามาทดสอบใช้จริงกับเครื่องบินรบรุ่น เจ-15 แล้วหลายพันครั้ง

พล.ร.ต.หยิน จวอCCTV7พล.ร.ต.หยิน จวอ

ความสำเร็จในการพัฒนาแคตะพัลต์แม่เหล็กไฟฟ้าจะส่งผลให้เรือบรรทุกเครื่องบินของจีนมีเทคโนโลยีส่งเครื่องบินรบขึ้นสู่ท้องฟ้าเทียบชั้นได้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน เจอรัลด์ ฟอร์ด ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาแล้ว

จากเดิมที่องค์ความรู้ดังกล่าวมีอยู่เฉพาะในกองทัพเรือสหรัฐเท่านั้นที่ครอบครองเทคโนโลยีระบบแคตะพัลต์แม่เหล็กไฟฟ้า มีเพียงเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา 10 ลำ และเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส 1 ลำเท่านั้น ที่มีระบบดีดส่งเครื่องบินพลังไอน้ำ เพื่อช่วยให้เครื่องบินขับไล่เร่งความเร็วถึงระดับที่บินขึ้นได้ภายในเวลาอันสั้น ซึ่งก็จะทำให้เครื่องบินบรรทุกเชื้อเพลิงและอาวุธขึ้นไปได้มากขึ้นกว่าเรือบรรทุกเครื่องบินทั่วไปที่ใช้ทางลาดสกีจัมป์เป็นทางวิ่งขึ้นของเครื่องบินรบ

เจ้าหน้าที่แคตะพัลต์ส่งสัญญาณมือขณะเครื่องบินรบสหรัฐรุ่น F-18 กำลังถูกดีดด้วยระบบรางดีดแคตะพัลต์ บนเรือบรรทุกเครื่องบินรบ ยูเอสเอส จอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2561 กลางมหาสมุทรแอตแลนติกEric BARADAT / AFPเจ้าหน้าที่แคตะพัลต์ส่งสัญญาณมือขณะเครื่องบินรบสหรัฐรุ่น F-18 กำลังถูกดีดด้วยระบบรางดีดแคตะพัลต์ บนเรือบรรทุกเครื่องบินรบ ยูเอสเอส จอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2561 กลางมหาสมุทรแอตแลนติก

เรือบรรทุกเครื่องบินส่วนใหญ่ รวมทั้งเรือเหลียวหนิงและซานตงของจีนมีทางลาดสกีจัมป์ ไว้ช่วยส่งเครื่องบินขับไล่ขณะบินขึ้น แต่ทางลาดแบบนี้ไม่มีประสิทธิภาพสูงเท่ารางดีดส่งเครื่องบินพลังไอน้ำหรือระบบแคตะพัลต์แม่เหล็กไฟฟ้าเพราะว่าเครื่องบินขับไล่รุ่น เจ-15 ที่บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบินเหลียวหนิง สามารถบรรทุกน้ำหนักด้วยพิกัดสูงสุดที่ราว 28,000 กิโลกรัม

ในขณะที่เครื่องบินรบแบบเดียวกันซึ่งบินขึ้นจากเรือ ยูเอสเอส โรนัลด์ เรแกนที่มีระบบรางดีดส่งเครื่องบินพลังไอน้ำ สามารถบรรทุกน้ำหนักด้วยพิกัดสูงสุดที่กว่า 45,000 กิโลกรัม ทำให้บรรทุกเชื้อเพลิงและอาวุธไปได้มากกว่า เพิ่มขีดความสามารถในการสู้รบและระยะทางที่บินไปได้ก็ไกลขึ้นด้วย เนื่องจากเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีนที่ชื่อเหลียวหนิงนั้นเป็นเรือคู่แฝดของเรือบรรทุกเครื่องบินชื่อ "แอดมิรัล คุซเนตซอฟ" ของสหภาพโซเวียตที่สร้างไม่แล้วเสร็จ และจีนซื้อต่อจากประเทศยูเครนมาปรับปรุงใหม่ตามแบบเดิมของสหภาพโซเวียตซึ่งล้าสมัยไปมาก

เรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 2 ของจีนก็ชื่อ "ซานตง" ก็สร้างเลียนแบบเรือเหลียวหนิงนั่นเอง แต่เรือบรรทุกเครื่องบินฝูเจี้ยนนั้นวิศวกรชาวจีนเป็นผู้ออกแบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าจีนกำลังไล่ตามสหรัฐอเมริกา ที่เป็นมหาอำนาจด้านเรือบรรทุกเครื่องบินอย่างรวดเร็วเพราะเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินฝูเจี้ยนจะใช้ระบบรางดีดส่งเครื่องบินแบบแม่เหล็กไฟฟ้า บนดาดฟ้า ซึ่งส่งเครื่องบินรบออกไปปฏิบัติการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดเหมือนกับระบบดีดส่งเครื่องบินที่คล้ายกับที่ใช้ในเรือบรรทุกเครื่องบิน เจอรัลด์ ฟอร์ด ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นระบบที่ดีกว่าระบบรางดีดส่งเครื่องบินพลังไอน้ำของเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ชั้นนิมิตซ์ของสหรัฐอเมริกาด้วยซ้ำไป

เรือบรรทุกเครื่องบินรบเหลียวหนิงเดินทางถึงเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2560Keith Tsuji/Getty Imagesเรือบรรทุกเครื่องบินรบเหลียวหนิงเดินทางถึงเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 2560

เทคโนโลยีนี้ช่วยให้จีนสามารถส่งเครื่องบินหลากหลายออกจากเรือฝูเจี้ยนได้เร็วขึ้น ด้วยอาวุธที่บรรทุกได้มากกว่า

เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศจีนมักตั้งชื่อเรือบรรทุกเครื่องบินตามชื่อมณฑลชายฝั่ง เช่นมณฑลเหลียวหนิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลซานตงในภาคตะวันออก และมณฑลฝูเจี้ยนในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตั้งอยู่ใกล้กับไต้หวันที่สุดคั่นด้วยช่องแคบไต้หวันซึ่งจุดที่แคบที่สุดของช่องแคบนี้กว้างไม่ถึง 128 กิโลเมตร (มณฑลฝูเจี้ยนนี้เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดีในชื่อ "ฮกเกี้ยน" ซี่งชาวฮกเกี้ยนเป็นคนจีนโพ้นทะเลที่มีมากเป็นอันดับ 2 ในบรรดาคนจีนโพ้นทะเลในเมืองไทยรองจากคนจีนแต้จิ๋ว อนึ่งชาวไต้หวันส่วนใหญ่ก็คือชาวฮกเกี้ยนอพยพเข้าไปอยู่บนเกาะไต้หวันนั่นเอง)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook