ตร. PCT โร่แจง หลังอดีตผู้การทางหลวง จวกระบบจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้ไม่ได้

ตร. PCT โร่แจง หลังอดีตผู้การทางหลวง จวกระบบจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้ไม่ได้

ตร. PCT โร่แจง หลังอดีตผู้การทางหลวง จวกระบบจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้ไม่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตำรวจ PCT ชี้แจง อดีตผู้การทางหลวง ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ปลอมเสียงเพื่อนสนิทหลอกโอนเงิน เป็นอุทธาหรณ์เตือนภัย

(30 ก.ค.65) พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) หรือ PCT ชี้แจงกรณี พลตำรวจตรีอังกูร อาทรไผท อดีต ผบก.ทล. แชร์ข้อมูลเพื่อเป็นวิทยาทาน รำพันถึงประสบการณ์ที่ตนเองถูกแก๊ง Call Center ปลอมเสียงเป็นเพื่อนสนิทโทรมาหลอกยืมเงิน โดยให้ข้อสังเกตไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า ที่ตนหลงเชื่อเพราะ 1.น้ำเสียงเหมือนคนที่แอบอ้าง 2.โทรมาแจ้งเบอร์โทรศัพท์ใหม่ให้ทราบแล้วทิ้งระยะวันนึงแล้วจึงเริ่มปฏิบัติการ 3.อ้างเรื่องซื้อโทรศัพท์ใหม่ (เรื่องที่เป็นไปได้) 4.ใช้เบอร์บัญชีผู้อื่นรับโอน (ทำให้คิดว่าเป็นเบอร์คนขาย) 5.คนที่ถูกแอบอ้างมีฐานะสามารถใช้คืนได้

ต่อมาเมื่อรู้ตัวว่าเป็นเหยื่อมิจฉาชีพและประสงค์ดำเนินคดี พบว่ามีปัญหาในระบบจัดการกับแก๊ง Call Center เช่น เมื่อโทรไปแจ้งความก็พบกับระบบรับโทรศัพท์แบบอัตโนมัติ ของศูนย์ปราบปรามไซเบอร์ ,โทรไปที่หน่วยงานต่างๆ ไม่มีผู้รับสาย หรือแจ้งว่าจะติดต่อกลับ สุดท้ายไปพบ พนักงานสอบสวน สน.ประเวศ เพื่อร้องทุกข์ดำเนินคดีกับคนร้าย ได้รับฟังปัญหาจากพนักงานสอบสวนท้องที่ว่า หน่วยงานเฉพาะทางไม่ทำ โยนให้ท้องที่หมด นั้น

ขอเรียนชี้แจงในเรื่องนี้ว่า ศูนย์ PCT ได้ให้ฝ่ายสืบสวนประสานสนับสนุนข้อมูลกับตำรวจพื้นที่แล้ว และทำเรื่องอายัดบัญชีกับทางธนาคารเรียบร้อยแล้ว จากนี้ไปจะเร่งติดตามจากบัญชีม้า ตรวจสอบความเชื่อมโยง และรายงานไปยัง ปปง. เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ที่เกี่ยวข้องหากมีความคืบหน้าในคดีจะแจ้งให้ทราบโดยเร็ว เราได้มีการประชาสัมพันธ์เตือนภัยเรื่องการปลอมหรือแฮก Line หรือ Facebook ทักข้อความไปหลอกยืมเงิน โดยแนะนำว่าควรโทรศัพท์ หรือวีดีโอคอลตรวจสอบตัวตนว่าใช่เจ้าตัวหรือไม่

กรณีการหลอก โดยการเลียนเสียงเพื่อนโทรหลอกยืมเงิน ยังไม่พบว่าเคยมีมาก่อนและไม่ทราบว่าคนร้ายเลียนเสียงได้จริงหรือไม่ ต้องรอให้ชุดสืบสวนของ PCT สืบสวนและตรวจสอบข้อมูลในรายละเอียดก่อน ซึ่งถ้าเป็นจริง จะถือเป็นรูปแบบใหม่ที่ทางศูนย์ PCT จะต้องทำการประชาสัมพันธ์เตือนภัยกันต่อไป ขอย้ำเตือนให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัด  ก่อนโอนเงินให้ใคร เช่น สอบถามข้อมูลส่วนตัว วีดีโอคอลเพื่อให้เห็นใบหน้า เป็นต้น

ส่วนกรณีที่โทรมาแจ้งความ แต่เป็นระบบอัตโนมัติ ได้โทรไปสอบถาม พล.ต.ต.อังกูร ฯ แล้ว ทราบว่าเป็นความเข้าใจที่คาดเคลื่อน เนื่องจากเป็นเบอร์โทรศัพท์ 02-2527883 ที่ค้นหาจาก กูเกิ้ล ไม่ใช่สายด่วน บช.สอท. 1441 หรือ ศูนย์ PCT 081-8663000 ซึ่งทาง ศปอส.ตร. ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบมาโดยตลอด และมีการเปิดระบบรับแจ้งความออนไลน์ผ่าน www.thaipoliceonline.com ไปตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65 ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันมีผู้เสียหายแจ้งความผ่านระบบวันละประมาณ 300-400 ราย

 สำหรับกรณีพนักงานสอบสวน สน.ประเวศ เอ่ยว่า “ท่านครับ หน่วยปราบไซเบอร์เค้าไม่ทำละครับ มันเยอะ โยนมาให้ท้องที่หมด” นั้น สอบถามไปยังพนักงานสอบสวนรายนี้แล้ว ยอมรับว่าเข้าใจคาดเคลื่อน เนื่องจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มีหนังสือสั่งการที่ ตร.ที่ 322/2565 ลง 6 ก.ค.2565 แบ่งงานให้ บช.สอท. ,บช.ก. และหน่วยพื้นที่ตามลักษณะคดี เพื่อให้การดำเนินคดี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในลักษณะคดีดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของโรงพัก แต่ก็จะมีการประสานความร่วมมือระหว่างสถานีตำรวจท้องที่ กับ บช.สอท. และ บช.ก. บูรณาการทำงานเป็นสถานีตำรวจประเทศไทยเพื่อรองรับรูปแบบคดีประเภทต่างๆ ที่เกิดขึ้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook