TSMC ยักษ์ใหญ่เซมิคอนดักเตอร์ไต้หวัน เสาหลักของสันติภาพที่แท้จริง

TSMC ยักษ์ใหญ่เซมิคอนดักเตอร์ไต้หวัน เสาหลักของสันติภาพที่แท้จริง

TSMC ยักษ์ใหญ่เซมิคอนดักเตอร์ไต้หวัน เสาหลักของสันติภาพที่แท้จริง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความจริงที่ประจักษ์แจ้งสำหรับทุกประเทศในปัจจุบันนี้ก็คือทุกประเทศขาดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ เลยเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปอยู่ในเทคโนโลยีแทบทุกอย่างโดยสิ้นเชิงแล้วไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ เครื่องบินเรือเดินสมุทร เครื่องคิดเลข โทรทัศน์ และที่สำคัญที่สุดคือโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะขาดเซมิคอนดักเตอร์ไม่ได้เลยเช่นกัน

เซมิคอนดักเตอร์คือศูนย์กลางการควบคุมไฟฟ้าให้เปิดปิดได้ด้วยหลักการของเลขฐาน 2 เรียกสั้นๆ ว่า "ชิป" ที่เปรียบเสมือนสมองและที่เก็บความจำของคอมพิวเตอร์นั่นเองแบบว่าคอมพิวเตอร์จะปฏิบัติการอันใดไม่ได้เลยถ้าปราศจากเซมิคอนดักเตอร์

เรื่องนี้ทำให้เราโยงไปถึงไต้หวันเซมิคอนดักเตอร์แมนูแฟกเจอริงคอมพานี (TSMC) หรือบริษัทไต้หวันเซมิคอนดักเตอร์แมนูแฟกเจอริง (ทีเอสเอ็มซี) เป็นบริษัทรับจ้างผลิตและออกแบบ เซมิคอนดักเตอร์ข้ามชาติสัญชาติไต้หวันซึ่งเป็นบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกและเป็นโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์โดยเฉพาะที่ใหญ่สุดของโลกและบริษัทใหญ่อันดับต้นๆ ของไต้หวัน โดยมีสำนักงานใหญ่และแหล่งประกอบการหลักในอุทยานวิทยาศาสตร์ซินจู๋ในซินจู๋ มีผู้ถือหุ้นหลักเป็นนักลงทุนของนานาชาติ

นายมอร์ริส จางชาวจีนที่เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทไต้หวันเซมิคอนดักเตอร์แมนูแฟกเจอริง เมื่อปี 2530 โดยการเชื้อเชิญของรัฐบาลไต้หวันให้เป็นโรงงานรับจ้างผลิตเซมิคอนดักเตอร์โดยเฉพาะแห่งแรกของโลกแบบว่ารับจ้างผลิตเซมิคอนดักเตอร์ตามสั่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่ผลิตอย่างอื่นเลยคือไม่ผลิตโทรศัพท์มือถือหรือสินค้าอย่างอื่นที่ต้องใช้เซมิคอนดักเตอร์อย่างเด็ดขาด จึงทำให้บริษัทผู้ว่าจ้างสบายใจว่าเซมิคอนดักเตอร์ที่สั่งให้ทีเอสเอ็มซีผลิตไปนั้นจะรักษาความลับไว้ได้ ไม่เหมือนบริษัทที่รับจ้างผลิตเซมิคอนดักเตอร์อื่นๆ ที่มีผลิตภัณฑ์ของตนเองด้วยที่อาจใช้เซมิคอนดักเตอร์ที่ถูกสั่งให้ผลิตเอาไปใช้ในผลิตภัณฑ์ของตนเองเช่นกรณีการฟ้องร้องกรณีละเมิดลิขสิทธิ์เซมิคอนดักเตอร์ของโทรศัพท์มือถือระหว่างยี่ห้อเป็นต้น

นายมอร์ริส จาง ประธานบริษัท ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง จำกัดSAM YEH / AFPนายมอร์ริส จาง ประธานบริษัท ไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริง จำกัด

ทีเอสเอ็มซีเป็นบริษัทแถวหน้าในอุตสาหกรรมรับจ้างผลิตเซมิคอนดักเตอร์มาช้านานโดยทีเอสเอ็มซี ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันตั้งแต่ปี 2536 และปี 2540 ทีเอสเอ็มซีได้เป็นบริษัทไต้หวันบริษัทแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ทีเอสเอ็มซีมีอัตราเติบโตต่อปีแบบทบต้นของรายได้ถึง 17.4%   

นอกจากนี้ในเดือน มิ.ย. 2565 ทีเอสเอ็มซี มีมูลค่าตลาดประมาณ 90% ของจีดีพีไต้หวัน

อุตสาหกรรมการรับจ้างผลิตเซมิคอนดักเตอร์ถือเป็นธุรกิจเฉพาะที่ต้องอาศัยการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่มีความซับซ้อนสูงรวมถึงต้องใช้เงินลงทุนสร้างโรงงานในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชิปมีผู้ผลิตที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำกระจายไปทั่วโลกโดยเริ่มจากกลุ่มผู้ผลิตที่เป็นบริษัทออกแบบแผงเซมิคอนดักเตอร์ เช่น บริษัท แอปเปิล เป็นต้นซึ่งบริษัทเหล่านี้จะไม่ผลิตเองจะส่งไปจ้างผลิตยังโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์โดยเฉพาะมีเพียงไม่กี่บริษัทที่ยังคงลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพียงอย่างเดียวซึ่งมีราคาค่าใช้จ่ายสูงมากจึงจะสามารถพัฒนาการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ตามคำสั่งของบริษัทที่ออกแบบมาได้เช่นเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าหรือใช้กับเครื่องบินรบ F-35 เป็นต้น

ทีเอสเอ็มซีเป็นผู้นำ และมีบทบาทสูงยิ่งจากการเป็นผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ให้กับสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่กำลังแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีชิงนำการเป็นเบอร์หนึ่งโลกด้านคอมพิวเตอร์ด้วยบทบาทของทีเอสเอ็มซีต่อการผลิตเซมิคอนดักเตอร์นี้เองทำให้เกาะไต้หวันซึ่งมีฐานโรงงานของทีเอสเอ็มซีจำนวนมากมีความสำคัญเชิงภูมิรัฐศาสตร์ไปโดยปริยาย

ตั้งแต่ปี 2562 ทีเอสเอ็มซีมีสัดส่วนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์มากกว่า 50% ของทั้งโลก ซึ่งโรงงานส่วนใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่บนเกาะไต้หวัน นอกจากนี้ ทีเอสเอ็มซีจะเพิ่มสัดส่วนการผลิตชิป 5 นาโนเมตร สู่ระดับ 38.5% ของทั้งโลกในปี 2567 นี้

ปัจจุบันทีเอสเอ็มซีมีโรงงานในไต้หวันและ ที่มลรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เท่านั้น ที่สามารถผลิตชิป 5 นาโนเมตร อันเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น สมาร์ทโฟนรุ่นสำคัญของค่ายโทรศัพท์มือถือทุกค่าย และสถานีฐาน 5G สำหรับสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย

แม้รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเร่งสนับสนุนบริษัทผู้ผลิตชิปภายในประเทศก็ตามถึงแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตชิปที่ก้าวหน้าที่สุดของจีนอย่างเอสเอ็มไอซี (SMIC) ยังตามหลังบริษัทผู้นำในอุตสาหกรรมนี้อย่างน้อย 3-5 ปี  

สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงต้องพึ่งพาการนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวัน และยังต้องการให้ทีเอสเอ็มซีขยายฐานการผลิตมาเพิ่มเติมในสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย จีนไม่กล้าลงดาบต่อทั้งทีเอสเอ็มซีและไต้หวันจากกรณีการไปตั้งโรงงานที่แอริโซนา เนื่องจากอำนาจต่อรองของทีเอสเอ็มซีมีสูงจากการกุมการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ 

คนเดินผ่านอาคารสำนักงานใหญ่ของ TSMC ในเมืองซินจู๋ ทางเหนือของไต้หวันSam Yeh / AFPคนเดินผ่านอาคารสำนักงานใหญ่ของ TSMC ในเมืองซินจู๋ ทางเหนือของไต้หวัน

ในส่วนของสหรัฐอเมริกาที่มีบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำจำนวนมาก เช่น แอปเปิล ควอลคอม อินวิเดีย หรือแม้แต่อินเทล เป็นต้น ที่สามารถออกแบบชิปเองได้ แต่ในขั้นตอนการผลิตจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าจากไต้หวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้นเกาะไต้หวันจึงมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ต่อสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างสูง หากมีการรุกรานไต้หวันและทำให้ไต้หวันไม่สามารถส่งออกสินค้าเซมิคอนดักเจอร์ได้ ย่อมกระทบต่อบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรง ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องแสดงออกว่าพร้อมจะปกป้องไต้หวันจากภัยคุกคาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของเกาะไต้หวันที่มีต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีของสหรัฐอีกด้วย

จึงกล่าวได้ว่าสหรัฐอเมริกาก็ต้องพึ่งพาไต้หวันในลักษณะเดียวกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเช่นกันแต่ถ้าหากการเมืองไต้หวันเกิดการพลิกขั้ว โดยพรรคก๊กมินตั๋งที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลจีนสามารถเอาชัยเหนือพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของไต้หวันในปัจจุบันได้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีคราวหน้า โฉมหน้าทางการเมืองของไต้หวันก็อาจจะเปลี่ยนไปได้เหมือนกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook