กรี๊ด! หมอธีระวัฒน์เตือน งีบตอนกลางวันบ่อยๆ เสี่ยงสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์

กรี๊ด! หมอธีระวัฒน์เตือน งีบตอนกลางวันบ่อยๆ เสี่ยงสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์

กรี๊ด! หมอธีระวัฒน์เตือน งีบตอนกลางวันบ่อยๆ เสี่ยงสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก เปิดเผยข้อมูลการศึกษาที่น่าสนใจว่า การงีบนาน งีบบ่อย นอนกลางวัน ส่อและเสี่ยงทำให้สมองเสื่อม โดยระบุว่า

เป็นความจริงที่งีบนาน-บ่อย ทำให้เสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้ไม่ทราบกลไกชัดเจน

การศึกษาก่อนหน้า สมองของคนอัลไซเมอร์ พบว่ามีการเสื่อมสลายของกลุ่มเซลล์ที่กระตุ้นให้ตื่น

การตรวจจีโนมของประชากรประมาณ 450,000 ราย พบ 123 ตำแหน่งที่สัมพันธ์กับการงีบหลับกลางวันบ่อย และเชื่อมโยงกับสภาวะสุขภาพแย่และสมองเสื่อม

การติดตามประชากรตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2020 อายุเฉลี่ย 81.4 ปี เป็นจำนวนประมาณ 1400 ราย และรายงานในปี 2022 พบว่า ถ้างีบบ่อยงีบนาน “ส่อ” ให้เห็นสภาพ ว่าเริ่มมีหรือมีสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ โดยเริ่มต้นการติดตามมีคนปกติ 76% เริ่มมีอาการก้ำกึ่ง 20% และมีสมองเสื่อมแล้ว 4% เมื่อติดตามไป คนปกติงีบ 11 นาที คนที่สมองเริ่มก้ำกึ่ง งีบ 24 นาทีและคนที่มีสมองเสื่อมจะงีบกลางวัน 69 นาทีต่อวัน

งีบนาน งีบบ่อย “เสี่ยง” สมองเสื่อม เมื่อติดตามคนที่เริ่มต้นปกติและเกิดสมองเสื่อมในหกปีพบว่า

ถ้างีบนานกว่า 1 ชั่วโมงจะเพิ่มความเสี่ยง 40%
ถ้างีบบ่อยมากกว่าหนึ่งครั้งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 40%

ทั้งนี้คล้องจองกับรายงานในปี 2019 ที่ศึกษาในผู้ชายและพบว่าถ้างีบกลางวัน 2 ชั่วโมงจะมีโอกาสเสี่ยงสมองเสื่อมมากกว่ากลุ่มที่งีบ 30 นาทีต่อวัน ปกติแล้ว งีบหลับกลางวัน เป็นเรื่องปกติทำได้ เพื่อทดแทนการนอนกลางคืนที่น้อยไป หรือนอนไม่ดีหรือเป็นประเพณีในบางประเทศที่เริ่มมีการปรับเปลี่ยน แต่จะงีบกลางวันทดแทนนานเท่าใดที่จะเหมาะสม?

การงีบหลับกลางวันตามธรรมดาแล้วจะพบในกลุ่มที่นอนไม่ดีหรือนอนไม่มีคุณภาพ เช่น ในกลุ่มที่ทำงานไม่เป็นเวลา และข้อสำคัญคือมีโรคประจำตัวเมตาบอลิค รวมทั้งกลุ่มที่เป็นแล้วหรือกำลังจะเป็นโดยเฉพาะที่ครอบครัวมีสมองเสื่อมอยู่แล้ว และตนเองอาจกำลังเพาะบ่มสมองเสื่อมอยู่ การงีบหลับกลางวันบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น จำเป็นต้องวิเคราะห์สุขภาพ หาสาเหตุที่ทำให้นอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ มีการใช้ยาไม่เหมาะสม ดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด กลางคืนมีการหายใจติดขัดทำให้ออกซิเจนไม่ไปสมอง 

ระยะการนอนที่เหมาะสมอยู่ที่หกถึง 8 ชั่วโมงโดยมีช่วงหลับลึกอยู่ที่ 13 ถึง 23%

พวกเราประชาชนทั่วไปต้องส่งเสริมการกินอาหารที่เข้าใกล้มังสวิรัติที่ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบต้องพยายามหมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ งดเว้นบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินที่กำหนด ทั้งหลายเหล่านี้ทำให้สุขภาพดีการนอนมีคุณภาพและปลอดภัยจากภาวะสมองเสื่อมและโรคทางกายอื่นๆด้วย ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาเชิงรุกให้บริการตรวจเลือดเพื่อระบุอัลไซเมอร์และจุลินทรีย์ในลำไส้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook