ค้นพบ "มด Diacamma assamense" ครั้งแรกในไทย ที่อุทยานแห่งชาติ จ.กำแพงเพชร

ค้นพบ "มด Diacamma assamense" ครั้งแรกในไทย ที่อุทยานแห่งชาติ จ.กำแพงเพชร

ค้นพบ "มด Diacamma assamense" ครั้งแรกในไทย ที่อุทยานแห่งชาติ จ.กำแพงเพชร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ค้นพบ "มด" พันธุ์ใหม่ครั้งแรกในไทย อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จ.กำแพงเพชร  

กลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ รายงานการค้นพบ มด Diacamma assamense ครั้งแรกในประเทศไทย การค้นพบครั้งนี้ เกิดขึ้นโดยนักวิจัยกลุ่มงานวิจัยกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ โดย น.ส.เนตรนภา โพธิ์ศรีทอง นักกีฏวิทยาปฏิบัติการ และ ดร.แก้วกวิกา รัตนจันทร์ นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ ร่วมกับ ดร.วียะวัฒย์ ใจตรง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ รายงานการพบมด Diacamma assamense Forel, 1897 ครั้งแรกในประเทศไทย

โดยมดชนิดนี้ มีขนาดลำตัวยาว 10-11 มม. สีดำ หัว อก เอว และท้องปล้องแรกมีสันร่องคล้ายลายนิ้วมือ ส่วนเอวยาวเป็นแท่ง ด้านบนของเอวมีหนามแหลม 1 คู่ มีบทบาทในระบบนิเวศเป็นตัวห้ำ (แมลงที่กินแมลงชนิดอื่น ๆ เป็นอาหาร และจะกินเหยื่อได้หลายตัว จนกว่าจะเจริญเติบโตครบวงจรชีวิต) กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร

สำหรับมด Diacamma assamense ถือเป็นชนิดที่ 6 ของสกุลนี้ ที่มีรายงานพบในประเทศไทย โดยค้นพบที่ป่าเบญจพรรณ อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และอุทยานแห่งชาติคลองลาน จ.กำแพงเพชร โดยปกติมดชนิดนี้ จะมีเขตการแพร่กระจายในพื้นที่ อินเดียถึงออสเตรเลีย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook