สาวถูกจับ เพราะป้ายแดงปลอม ปรึกษาอัยการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ยังไม่คิดดำเนินคดีใคร

สาวถูกจับ เพราะป้ายแดงปลอม ปรึกษาอัยการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ยังไม่คิดดำเนินคดีใคร

สาวถูกจับ เพราะป้ายแดงปลอม ปรึกษาอัยการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ยังไม่คิดดำเนินคดีใคร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้​ (29 ต.ค.)​ เมื่อเวลา​ 13.00​ น.​ ที่​ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคุ้มครองสิทธิเเละช่วยเหลือกฎหมายทางกฎหมายประชาชน​ สำนักงานอัยการสูงสุด​ ถนนรัชดาภิเษก​ นางสาว​ บี​ (นามสมมุติ​) ผู้เสียหาย​ เดินทางเข้าปรึกษาอัยการคุ้มครองผู้บริโภค​ หลังซื้อรถยนต์จากศูนย์โชว์รูมย่านตลิ่งชัน ออกรถป้ายแดงมา​ แล้วมาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมบริเวณทางด่วนบางนาบูรพาวิถี ส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบางแก้ว​ จ.สมุทรปราการ ดำเนินคดีอาญา​ จึงได้เดินทางเข้า​มาขอคำปรึกษาจากอัยการคุ้มครองผู้บริโภค

โดย​ นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองอธิบดีอัยการสำนักงานคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) เเละโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เเละ น.ส.จีรวรรณ นิลอุบล อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นผู้รับเรื่องเเละรับฟังข้อเท็จจริง โดยภารกิจของการคุ้มครองผู้บริโภค จะช่วยเหลือกฎหมายและเยียวยาโดยการเรียกร้องสิทธิให้

เรื่องแรกที่ผู้เสียหายมาขอความช่วยเหลือคือ ห่วงเรื่องคดีอาญา ที่ถูกดำเนินคดี ซึ่งทางอัยการ สคช.ได้ให้ความรู้ถึงกระบวนการ ตั้งแต่ชั้นจับกุม ขึ้นไป และแนะนำผู้เสียหาย ให้รู้ถึงสิทธิ เพราะ อัยการ สคช.ไม่มีหน้าที่ไปฟ้องใครแต่มีหน้าที่ให้ความรู้ ในกระบวนการที่ถูกต้อง เพื่อใช้สู้คดี ในกรณีที่ต้องคดีอาญา ซึ่ง ป.วิอาญา กำหนดไว้ว่า พนักงานสอบสวน จะต้องสอบให้ได้ความจริงทั้ง 2 ฝ่าย ต้องสอบให้ได้ว่า ผู้ต้องหาได้กระทำผิด หรือ บริสุทธิ์ ไม่ใช่สอบเพื่อเอาผิดอย่างเดียว โดยหลังจากสอบสวนดำเนินคดีแล้ว พนักงานสอบสวน จะต้องทำความเห็นส่งอัยการ ว่าควรจะสั่งฟ้อง หรือไม่ควรสั่งฟ้อง พร้อมแนบเหตุผลประกอบ พนักงานอัยการก็จะพิจารณาตามพยานหลักฐาน เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งทางคดีต่อไป

หลังจากสอบข้อเท็จจริง ทางอัยการจะขอทราบความประสงค์ของผู้เสียหาย ว่า ประสงค์จะได้รับการเยียวยาอย่างไรบ้าง และจะช่วยเหลือ ดำเนินการตามกฎหมาย

ส่วนข้อมูลที่ผู้เสียหาย มายื่นร้องขออัยการ จะถูกส่งไปยังสำนวนคดีอาญาที่มีการพิจารณาด้วยหรือไม่ นายโกศลวัฒน์ ตอบว่าอาจจะมีการส่งไป ถ้าอัยการที่ทำคดี มีการถามมา

เมื่อถามว่าจะมีการ ฟ้องคดีผู้บริโภค กับเซลล์ และศูนย์รถยนต์ หรือไม่ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ตอบว่า อัยการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจจะฟ้องคดีให้ได้และเป็นบริการฟรีไม่เสียเงิน ถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างที่ผู้ร้องกล่าว ก็ฟ้องได้ แต่เบื้องต้น ต้องมีการเชิญ ศูนย์รถ หรือ เซลล์ เข้ามาพูดคุยหรือเจรจากันก่อน ว่าจะมีการเยียวยาแก้ไขอย่างไร ถ้าเจรจากันได้ก็ไม่ต้องดำเนินคดี ส่วนมากจะจบที่การไกล่เกลี่ย

ทั้งนี้จากการสอบถามในเบื้องต้น ผู้เสียหายยังไม่คิดดำเนินคดีกับเซลล์ขายรถและศูนย์รถยนต์ เพียงอยากได้รับความเป็นธรรมในคดี ซึ่งวันนี้ได้รับความเมตตา จากอัยการที่เข้ามาดูแล และได้รับคำแนะนำ จนเข้าใจทุกอย่าง
จริงๆเรื่องนี้ เราไม่ควรจะถึงขั้นไปฟ้อง เเต่คนที่ทำ ควรออกมารับผิดชอบ หลังจากได้คุยกับอัยการ วันนี้สบายใจมากที่สุด เพราะที่ผ่านมา รู้สึกว่า ไม่ได้ทำผิดอะไร บริสุทธิ์ใจมาโดยตลอด แต่กลายเป็นว่า เราจะมีรถสักคัน กลับกลายเป็นปัญหา

จากการหาข้อมูลพบว่า นอกจากเราแล้ว ก็เคยมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นมานานแต่กลับไม่มีใครถูกดำเนินคดี เรื่องที่ศูนย์รถ ส่งมอบป้ายทะเบียนป้ายแดงปลอม มีมานานแล้ว ที่ผ่านมาไม่มีใครโดนจับ ทำไมเรื่องนี้ไม่ได้รับการแก้ไขสักที ทั้งที่มีมานานแล้ว แต่ละคนจะมีเหตุผลในมุมของตัวเอง อย่างตนเองเดือดร้อนเพราะถูกดำเนินคดี คนขายรถเดือดร้อนเพราะป้ายแดงขนส่งมีไม่พอ ทางศูนย์ก็เดือดร้อนเพราะขายรถไม่ได้ กลายเป็นว่า ทุกคนเดือดร้อนไปหมดไม่มีการแก้ปัญหา ต้องรอให้เป็นข่าว กันก่อนหรืออย่างไร

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook