พลิกวิกฤตเป็นโอกาสจากขยะอาหาร หนทางสู่การเติบโตที่ยั่งยืนของ MSMEs

พลิกวิกฤตเป็นโอกาสจากขยะอาหาร หนทางสู่การเติบโตที่ยั่งยืนของ MSMEs

พลิกวิกฤตเป็นโอกาสจากขยะอาหาร หนทางสู่การเติบโตที่ยั่งยืนของ MSMEs
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


ในแต่ละปี อาหารกว่า 1,300 ล้านตัน หรือ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตได้ทั่วโลก ต้องกลายเป็นขยะอาหาร (Food Waste) ที่ถูกทิ้งอย่างสูญเปล่า และสร้างก๊าซเรือนกระจกถึง 8% ในขณะที่คนกว่า 830 ล้านคนทั่วโลกกลับประสบภาวะอดอยาก สำหรับประเทศไทย กว่า 60% ของขยะมาจากขยะอาหาร โดยส่วนใหญ่เป็นเศษอาหารหรืออาหารเหลือทิ้งจากการบริโภค และอาหารส่วนเกินที่มีลักษณะภายนอกไม่สวยงามหรือไม่ได้มาตรฐานของร้านค้า แต่ในขณะเดียวกัน ขยะอาหารก็เป็นวิกฤตที่สามารถบริหารจัดการได้ รวมถึงเป็นโอกาสให้ MSMEs รุ่นใหม่ในธุรกิจอาหาร สามารถสร้างคุณค่าและไอเดียใหม่ ๆ จากขยะอาหารที่ให้ทั้งกำไรและใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของธุรกิจและการเติบโตที่ยั่งยืนได้ เช่น การทำปุ๋ยออร์แกนิคจากการหมักขยะเศษอาหาร, การเป็นตัวกลางรับอาหารคุณภาพดีจากร้านชั้นนำมาจำหน่ายในราคาพิเศษ, การขายผลผลิตทางการเกษตรที่อาจไม่สวยแต่คุณภาพดีในราคาที่จับต้องได้ และการใช้เทคโนโลยีในการลดปริมาณขยะอาหาร เป็นต้น

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการผลักดันประเด็นดังกล่าวในเวทีการประชุม APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคของไทย (APEC Business Advisory Council: ABAC) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบการประชุมทางไกลในหัวข้อ “การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ MSMEs เพื่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ครอบคลุมและยั่งยืน: การลดขยะภาคอาหารในห่วงโซ่อุปทาน” ระหว่างวันที่ 13 - 14 มกราคม 2565 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการขยะอาหารจากเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมการลดขยะภาคอาหารในห่วงโซ่อุปทานของ MSMEs ไปจนถึงโมเดลธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและดิจิทัลโซลูชั่น เพื่อลดขยะอาหารและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด BCG Economy Model ที่เป็นแนวคิดสำคัญในการขับเคลื่อน APEC 2020 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ ยังมีแนวคิดสำคัญที่ได้จากการประชุมฯ เพิ่มเติม ได้แก่


1) ความท้าทายหลักสำหรับ MSMEs ในการลดขยะอาหารซึ่งเป็นต้นทุนและข้อจำกัดด้านศักยภาพ กุญแจสำคัญคือความร่วมมือแบบหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชน การมีแพลตฟอร์มในระดับภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างศักยภาพ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่และดิจิทัลโซลูชั่น เช่น แอปพลิเคชันเพื่อการแบ่งปันอาหาร ถังขยะอัจฉริยะเพื่อแยกขยะอาหารกับขยะอื่น ๆ และเทคโนโลยีที่ช่วยติดตามข้อมูลการสูญเสียอาหารในร้านอาหาร เพื่อสร้างความตระหนักรู้และลดการสร้างขยะอาหาร เป็นต้น


2) การลดขยะอาหารอาศัยความร่วมมือแบบองค์รวมจากทุกภาคส่วนในห่วงโซ่มูลค่า โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ต่อการป้องกันการสร้างขยะมากกว่าการจัดการขยะและฟื้นฟู

3) การใช้ประโยชน์จากอาหารอย่างเต็มศักยภาพและแปลงขยะให้มีมูลค่าถือเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวคิด BCG Economy Model

[Advertorial] 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook