ธนาธร โผล่รัฐสภา-เสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญ เลือกตั้งผู้ว่าฯ-เพิ่มอำนาจท้องถิ่น

ธนาธร โผล่รัฐสภา-เสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญ เลือกตั้งผู้ว่าฯ-เพิ่มอำนาจท้องถิ่น

ธนาธร โผล่รัฐสภา-เสนอร่างแก้รัฐธรรมนูญ เลือกตั้งผู้ว่าฯ-เพิ่มอำนาจท้องถิ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การประชุมรัฐสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้เข้าสู่วาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ…. เกี่ยวกับหมวดการปกครองท้องถิ่น และการกระจายอำนาจ ที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าคณะก้าวหน้า และประชาชน จำนวน 76,591 คน เสนอ

นายธนาธร นำเสนอว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นฉบับปลดล็อกท้องถิ่น เพื่อทำให้อำนาจและอิสระต่อการบริหาร งบประมาณ รวมถึงประชามติปรับโครงสร้างการบริหารประเทศครั้งใหญ่ โดยยังยึด หลักการพื้นฐานอำนาจเป็นของประชาชน และประชาชนเป็นผู้เลือกตัวแทน

หัวหน้าคณะก้าวหน้า ที่กล่าวต่อประชุมรัฐสภาต่อไปว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้มีความชัดเจนในอำนาจของการให้บริการสาธารณะ การออกแบบพัฒนาชุมชนของตนเอง เพื่อพัฒนาจังหวัดไปข้างหน้าตอบสนองความต้องการของประชาชนในชุมชน ขณะเดียวกันยังกำหนดให้จัดสรรงบประมาณมีความเป็นธรรม เพียงพอต่อการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเพิ่มจากปัจจุบันที่ท้องถิ่นได้รับงบเพียง 30% ของรายได้ที่เก็บได้ไปเป็น 50%

ขณะเดียวกัน เชื่อว่าการแบ่งสรรอำนาจ จัดสรรงบที่เป็นธรรมตามร่างปลดล็อกท้องถิ่น จะทำให้เป็นจริงได้ ภายใน 10 – 15 ปี โดยร่างนี้เสนอให้ทำประชามติภายใน 5 ปี ต่อการยกเลิก ควบรวมราชการ ส่วนภูมิภาคเข้ากับส่วนท้องถิ่น ซึ่งระยะเวลา 5 ปีจะเป็นช่วงที่สังคมไทยถกเถียงในเรื่องดังกล่าว

นายธนาธร ยกตัวอย่างให้เห็นถึงการที่รัฐรวมศูนย์อย่างชัดเจน อย่างเช่น การหารือของ ส.ส. ที่หารือในสภาฯ ถึงปัญหาเชิงพื้นที่ เพื่อให้ผู้มีอำนาจแก้ปัญหา ข้อมูลพบว่า 65% ข้อหารือเป็นปัญหาเชิงพื้นที่ที่แก้ได้ด้วยท้องถิ่นหากได้รับงบประมาณที่เพียงพอและได้รับอำนาจเพื่อแก้ปัญหา ตอบสนองปัญหาให้ประชาชนได้ ดังนั้น หากท้องถิ่นละประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ งบประมาณ และประเทศร่วมกันจะแก้ไขปัญหาได้

อย่างไรก็ตาม นายธนาธรกล่าวว่า บางคนอาจไม่ชอบตนไม่เป็นไร แต่ขอให้ดูผลประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก ร่างปลดล็อกท้องถิ่น ตนไม่ได้รับประโยชน์อะไร แต่ประชาชนส่วนใหญ่ จะได้ประโยชน์ หากเห็นด้วยในทิศทาง และหลักการในการกระจายอำนาจ หากไม่เห็นด้วยรายละเอียดบางประเด็นขอให้รับหลักการ เพื่อหาทางประนีประนอม ข้อสรุปที่ยอมรับได้ในวาระต่อไปเพื่อให้เราเท่าทัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook