ทปอ. แจงดราม่าข้อสอบเมนูลดโลกร้อน ขอบคุณคนไทยสนใจผลกระทบจากอาหาร

ทปอ. แจงดราม่าข้อสอบเมนูลดโลกร้อน ขอบคุณคนไทยสนใจผลกระทบจากอาหาร

ทปอ. แจงดราม่าข้อสอบเมนูลดโลกร้อน ขอบคุณคนไทยสนใจผลกระทบจากอาหาร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรณีที่มีการถกเถียง เรื่องข้อสอบวิชาความถนัดทั่วไปหรือ TGAT และวิชาความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ TPAT ปีการศึกษา 2566 ข้อหนึ่ง ที่ถามว่า เมนูใดต่อไปนี้ที่สร้างก๊าซเรือนกระจก และส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด โดยมีคำตอบ 4 ข้อให้เลือกคือ 1.ข้าวราดไก่ผัดกระเทียมพริกไทย 2.ราดหน้าหมู 3.สเต็กปลาแซลมอน และ 4.สุกี้ทะเลรวม

ล่าสุด (11 ธ.ค.65) แฟนเพจ Mytcas.com เผยแพร่ประกาศ TCAS66 เรื่อง ทปอ. ชี้แจงประเด็นที่สื่อสังคมให้ความสนใจข้อสอบ TGAT พร้อมอธิบายเจตนาของการปรับการสอบรูปแบบใหม่ โดยระบุรายละเอียดว่า

ตามที่มีประเด็นไวรัลในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับข้อสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) ในข้อคำถามเกี่ยวกับการเลือกเมนูอาหารที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุดนั้น คณะกรรมการดำเนินงาน TCAS รู้สึกยินดีที่ข้อคำถามดังกล่าว กระตุ้นให้ถกเถียง และทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบของการเลือกรับประทานอาหาร ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างก๊าซเรือนกระจก ตามหลักของเป้าหมายการพัฒนา อย่างยั่งยืนข้อ 13-Climate Action ของสหประชาชาติ (SDG: Sustainable Development Goals)

เพราะนอกจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ประหยัดพลังงาน การเดินทางโดยสาธารณะ การเลือกทานอาหารจากแหล่งในท้องถิ่น และการบริโภคอย่างพอเหมาะ แล้วการเลือกชนิดอาหารที่รับประทานก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ในการสร้างก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน
ข้อสอบดังกล่าวได้พัฒนาบนฐานความรู้ของการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของสังคม (Civic Engagement) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competency) ในส่วนที่ 3 ของวิชา TGAT ซึ่งเป็นวิชาใหม่ที่จัดสอบในปีนี้เป็นครั้งแรก

ความมุ่งหวังประการหนึ่งของการพัฒนาระบบการสอบรูปแบบใหม่ ในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศ ไทย คือการกระตุ้นให้ผู้เข้าสอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะอนาคตและทัศนคติที่ดี โดยกำหนดให้เป็นส่วนใหม่ของการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT)

เช่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ การคิดเชิงวิพากษ์และการใช้เหตุผล การบริหารจัดการอารมณ์ การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม และการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาของสังคม และหวังว่าการจัดศึกษาในอนาคตและการพัฒนาตนเองของผู้เรียนจะเป็นไปในทิศทางดังกล่าวควบคู่ไปกับการเรียนรู้ และประยุกต์เนื้อหาเชิงวิชาการตามหลักสูตรไปพร้อมกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook