สภาล่มซ้ำซาก องค์ประชุมไม่ครบ ส.ส.ซัดกฎหมายคุมสื่อล้าหลัง

สภาล่มซ้ำซาก องค์ประชุมไม่ครบ ส.ส.ซัดกฎหมายคุมสื่อล้าหลัง

สภาล่มซ้ำซาก องค์ประชุมไม่ครบ ส.ส.ซัดกฎหมายคุมสื่อล้าหลัง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รัฐสภาล่มอีก องค์ประชุมไม่ครบ หลังลงมติร่าง พรบ.ส่งเสริมจริยธรรมสื่อ

การประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ หลังจากเปิดให้สมาชิกอภิปรายพอสมควรแล้ว นายธนากร  วังบุญคงชนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีชี้แจงและอภิปรายสรุปว่า

ขอขอบคุณสมาชิกฯ ทุกคน ที่ได้แสดงความคิดเห็นและเสนอแนะประเด็นต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งนี้ ในสิ่งที่ทุกคนมีความกังวลและเป็นประเด็นหลัก คือ รัฐบาลจะไปกำกับหรือแทรกแซงสื่อนั้น ขอยืนยันไม่เคยแทรกแซงสื่อและสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนเพราะในอดีตตนเคยเป็นสื่อมวลชนมาก่อน แม้จะเป็นระยะเวลาช่วงสั้นๆ แต่ก็เข้าใจวิถีชีวิตการทำงานของพี่น้องสื่อมวลชนเป็นอย่างดี

ดังนั้น จะไม่มีการเข้าไปแทรกแซงกำกับดูแลสื่อเหมือนที่ทุกคนเข้าใจ แต่จะเป็นการส่งเสริมในเรื่องจริยธรรมและการมีกลไกในการทำงานของสื่อมวลชนที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารไปยังพี่น้องประชาชน โดยสื่อมวลชนตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ต้องเป็นสื่อที่เป็นช่องทางในการนำเสนอข่าวสารไปยังประชาชน ไม่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่างๆ

อาทิผู้ทำเพจ Facebook Twitter ซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีทราบเรื่องดีเพราะมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีถึง 4 ครั้งและจะเป็นดุลพินิจของสมาชิกฯ ที่จะรับหลักการหรือไม่ โดยรัฐบาลได้ทำอย่างดีที่สุดแล้ว โดยหากที่ประชุมรับหลักการก็สามารถแก้ไขในประเด็นต่างๆ ที่สมาชิกฯ มีความห่วงใยได้

ด้านผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้แจงประเด็นข้อกฎหมายที่สมาชิกฯ ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเนื้อหาของกฎหมายโดยสมาชิกฯ เข้าใจว่าในมาตรา 35 เหตุใดจึงอ้างเพียงวรรคแรกวรรคเดียวนั้น ความต้องการของร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องการสื่อให้เห็นถึงเหตุผลในการออกกฎหมายในมาตรา 35 ที่ระบุว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

ซึ่งได้มีสมาชิกฯ อภิปรายถึงขอบเขตและความหมายของคำว่า “จริยธรรม” ว่าวัดจากตรงไหนหรือดูจากอะไรจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่จะต้องร่างกฎหมายฉบับนี้และตั้งชื่อว่า กฎหมายส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน เพราะต้องการให้มีเนื้อหาในการอธิบายว่าจริยธรรมสื่อที่เขียนในมาตรา 35 มีขอบเขตเพียงใด จึงมีการกำหนดให้มีองค์กรหนึ่งซึ่งรัฐไม่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook