ยุบสภาฯ แล้วยังไงต่อ กางไทม์ไลน์เลือกตั้ง 2566
หลังจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (21 ก.พ.) ว่าจะยุบสภาผู้แทนราษฎรภายในเดือน มี.ค. เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งในวันที่ 7 พ.ค.
เราไปดูกันว่าหลังจากยุบสภาฯ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น และไทม์ไลน์หลังจากนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง
ไทม์ไลน์เลือกตั้ง 2566
- 9 มี.ค. (60 วันก่อนเลือกตั้ง)
- อาจยุบสภาฯ วันนี้
- ถ้ายุบสภาฯ รัฐมนตรีจะพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
- 23 มี.ค.
- สภาผู้แทนราษฎรหมดอายุ ในกรณีที่ไม่ยุบสภา
- 3-7 เม.ย.
- เปิดรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
- 7 เม.ย.
- นักการเมืองย้ายพรรคได้ถึงวันนี้
- 30 เม.ย.
- เลือกตั้งนอกเขต
- 4 พ.ค.
- วันฉัตรมงคล
- 7 พ.ค.
- วันเลือกตั้ง
- 6 ก.ค.
- ประกาศผลเลือกตั้งได้ถึงวันนี้เป็นวันสุดท้าย
นอกจากนี้ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แจ้งไทม์ไลน์หลังการเลือกตั้งเพิ่มเติมดังนี้
- กลางเดือน ก.ค.
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดสภาผู้แทนราษฎร
- เลือกตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาฯ
- ปลายเดือน ก.ค.
- รัฐสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
- ส.ค.
- ตั้งคณะรัฐมนตรี
- คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเข้ารับตำแหน่ง
ส่วนวันหมดอายุของสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ คือวันที่ 6 พ.ค. 2570 ถ้าหากไม่ยุบสภาฯ เสียก่อน