เกิดอะไรขึ้นกับมอลโดวา เพื่อนบ้านยูเครน หรือเป็นเป้าต่อไปของรัสเซีย?

เกิดอะไรขึ้นกับมอลโดวา เพื่อนบ้านยูเครน หรือเป็นเป้าต่อไปของรัสเซีย?

เกิดอะไรขึ้นกับมอลโดวา เพื่อนบ้านยูเครน หรือเป็นเป้าต่อไปของรัสเซีย?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันพุธ (22 ก.พ.) นายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ตัดสินใจยกเลิกประกาศของรัฐบาลรัสเซียฉบับหนึ่งที่ออกมาเมื่อปี 2555 ว่าจะสนับสนุนอธิปไตยของประเทศมอลโดวาระหว่างการเจรจาปัญหาการแบ่งแยกดินแดนทรานส์นิสเตรีย

เรื่องนี้เกี่ยวข้องอะไรกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน หรือมอลโดวากำลังจะตกเป็นเป้าหมายต่อไปของรัสเซีย

ตั้งประเทศใหม่หลังโซเวียตล่ม

มอลโดวาเป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันตกของยูเครนและเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต แต่แคว้นทรานส์นิสเตรียที่สนับสนุนรัสเซีย แยกตัวออกมาจากมอลโดวาเมื่อปี 2533 ก่อนที่สหภาพโซเวียตจะล่มสลายเมื่อปี 2534 เสียอีก เพราะกลัวว่ามอลโดวาจะไปรวมเข้ากับประเทศโรมาเนีย ที่ใช้ภาษาและมีวัฒนธรรมร่วมกันมากกว่า

อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้ยังไม่มีชาติไหนให้การรับรองว่าอธิปไตยของแคว้นทรานส์นิสเตรีย แม้แต่รัสเซียเอง

ภาพถ่ายเมื่อปี 2554 ที่เห็นถนนในแคว้นทรานส์นิสเตรีย และมีป้ายขึ้นโฆษณาชวนเชื่อที่มีข้อความว่า Sergei GAPON / AFPภาพถ่ายเมื่อปี 2554 ที่เห็นถนนในแคว้นทรานส์นิสเตรีย และมีป้ายขึ้นโฆษณาชวนเชื่อที่มีข้อความว่า

ถึงอย่างนั้น รัสเซียก็มีส่วนอย่างมากในการเจรจาระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย และยังคงกองกำลังของตัวเองเอาไว้ในดินแดนแห่งนี้ โดยอ้างว่าเพื่อรักษาสันติภาพ หลังจากมอลโดวาทำสงครามเพื่อไม่ให้แคว้นทรานส์นิสเตรียแบ่งแยกดินแดนออกไป ซึ่งตลอด 30 ปีที่ผ่านมาก็แทบไม่เกิดความรุนแรงใดๆ ต่อกันเลย

รัสเซียจ้องสกัดหลังหันซบอียู

ตั้งแต่นั้นมา มอลโดวาเองก็พึ่งพารัสเซียอย่างมาก ทั้งด้านการค้าและพลังงาน เพราะก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในประเทศ 100% นำเข้ามาจากรัสเซีย ขณะเดียวกันบรรดานักการเมืองก็ทราบจุดนี้ดี จึงมักเลี่ยงการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่จะขัดใจรัสเซีย

แต่การทุจริตอย่างกว้างขวางและความยากจนที่ไม่เคยแก้ไขได้เสียที ทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่พอใจจนทำให้นางมายา ซันดู ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2563 อย่างถล่มทลาย ด้วยนโยบายที่จะนำประเทศหันเข้าไปหาสหภาพยุโรปและชาติตะวันตกมากขึ้น 

นางมายา ซันดู ประธานาธิบดีมอลโดวานางมายา ซันดู ประธานาธิบดีมอลโดวา

การหันเข้าหาชาติตะวันตกยิ่งมากขึ้นไปอีก เมื่อรัสเซียรุกรานยูเครน ทำให้วันที่ 3 มี.ค. หรือหลังจากสงครามเริ่มไม่นาน นางซันดูก็เซ็นชื่อในใบสมัครนำมอลโดวาเข้าร่วมสหภาพยุโรป จนกระทั่งได้สถานะผู้สมัครอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาพร้อมกับยูเครน

เหตุนี้ทำให้รัสเซียไม่พอใจนัก ทั้งยังมองว่ารัฐบาลมอลโดวาเป็นภัยคุกคาม

อย่างไรก็ตาม ผลพวงจากสงครามที่ทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น รวมถึง ก๊าซธรรมชาติ ที่มีราคาสูงขึ้น 7 เท่า ส่งผลให้มอลโดวาเผชิญอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 30% จนประชาชนจำนวนหนึ่งไม่พอใจและออกมาชุมนุมบนถนน เมื่อปีที่แล้ว

สั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาล

กลุ่มผู้ประท้วงไม่เพียงแต่เรียกร้องเรื่องค่าครองชีพ แต่ยังพัฒนาเป็นการเรียกร้องให้รัฐบาลมอลโดวาลาออกด้วย ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนมองว่ารัสเซียอาจเห็นเป็นโอกาสเหมาะในการโค่นล้มรัฐบาลชุดปัจจุบันที่นิยมตะวันตก

ประชาชนกลุ่มหนึ่งชุมนุมขับไล่รัฐบาลในกรุงคิชิเนาของมอลโดวา เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2566ELENA COVALENCO / AFPประชาชนกลุ่มหนึ่งชุมนุมขับไล่รัฐบาลในกรุงคิชิเนาของมอลโดวา เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2566

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลมอลโดวาออกคำสั่งห้ามพลเมืองของเซอร์เบีย เบลารุส และมอนเตเนโกร ซึ่งเป็นชาติที่มีผู้นิยมรัสเซียอยู่มาก เดินทางเข้าประเทศ เพราะมองว่ารัสเซียอาจส่งคนเหล่านี้มาก่อความวุ่นวายในประเทศ ด้วยการแฝงตัวเป็นผู้ชุมนุม

นางซันดู กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า "จุดประสงค์ของการกระทำเหล่านี้คือการโค่นล้มวิถีตามรัฐธรรมนูญของเรา เพื่อล้มรัฐบาลที่ชอบธรรมไปเป็นรัฐบาลเถื่อน ที่จะทำให้ประเทศของเราตกอยู่ใต้อาณัติของรัสเซีย ไม่ให้กระบวนการเข้าร่วมสหภาพยุโรปเดินต่อได้ แล้วก็ใช้ประเทศเราเป็นเครื่องมือในสงครามยูเครนด้วย"

ด้านรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวอ้างดังกล่าว ขณะที่มอนเตเนโกรและเซอร์เบีย เรียกร้องให้รัฐบาลมอลโดวาอธิบายและให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าคำกล่าวอ้างของนางซันดูถูกต้องมากน้อยเพียงใด

ไม่ใช่แค่นั้น เมื่อช่วงที่ผ่านมาของเดือนนี้ ยังมีรายงานว่าขีปนาวุธของรัสเซียพุ่งเข้ามาในน่านฟ้ามอลโดวา ส่งผลให้รัฐบาลเรียกทูตรัสเซียไปเข้าพบเพื่อประท้วงการกระทำดังกล่าว

แต่หลังจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่นาน นางนาตาเลีย กัฟวรีลิตา นายกรัฐมนตรีมอลโดวา ประกาศลาออก วัย 45 ปี หลังดำรงตำแหน่งมานาน 18 เดือน และได้นายดอริน เรจัน อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ วัย 48 ปี ที่ฝักใฝ่ตะวันตกเช่นกัน มาทำหน้าที่แทน

นางนาตาเลีย กัฟวรีลิตา อดีตนายกรัฐมนตรีมอลโดวา ที่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2566นางนาตาเลีย กัฟวรีลิตา อดีตนายกรัฐมนตรีมอลโดวา ที่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2566นายดอริน เรจัน เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมอลโดวาเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2566นายดอริน เรจัน เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมอลโดวาเมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2566

งัดปมขัดแย้งทรานส์นิสเตรียมาใช้อีกครั้ง

การประกาศล่าสุดของนายปูติน ว่าจะยกเลิกการรับรองอธิปไตยของมอลโดวาเหนือดินแดนทรานส์นิสเตรียนั้น เท่ากับว่ารัสเซียกำลังกดดันรัฐบาลมอลโดวามากขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่น อาจจะรับรองแคว้นดังกล่าวเป็นประเทศเอกราชหรือผนวกเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย โดยไม่สนใจว่ามอลโดวาจะไม่พอใจอีกต่อไป

เจ้าหน้าที่รัฐกำลังตรวจรถยนต์ที่เดินทางเข้าออกทรานส์นิสเตรียและมอลโดวา ด้านหน้าป้อมพักเจ้าหน้าที่ ที่มีแถบสีธงของทรานส์นิสเตรีย (แดง-เขียว-แดง) และสัญลักษณ์ประเทศติดอยู่ รูปนี้ถ่ายเมื่อเดือน เม.ย. 2565เจ้าหน้าที่รัฐกำลังตรวจรถยนต์ที่เดินทางเข้าออกทรานส์นิสเตรียและมอลโดวา ด้านหน้าป้อมพักเจ้าหน้าที่ ที่มีแถบสีธงของทรานส์นิสเตรีย (แดง-เขียว-แดง) และสัญลักษณ์ประเทศติดอยู่ รูปนี้ถ่ายเมื่อเดือน เม.ย. 2565

การประเมินดังกล่าวยังเริ่มเป็นจริงมากขึ้น หลังจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียอ้างเมื่อวันพฤหัสบดี (23 ก.พ.) ว่ายูเครนมีแผนการเข้าไปยึดครองแคว้นทรานส์นิสเตรียของมอลโดวา ซึ่งเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อกองกำลังรัสเซียที่ประจำการอยู่ในแคว้นดังกล่าว ทำให้รัสเซียอาจต้องใช้มาตรการตอบโต้อย่างเด็ดขาด

แต่รัฐบาลมอลโดวาแถลงปฏิเสธทันควันว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวของรัสเซียไม่เป็นความจริง และเรียกร้องให้ประชาชนรับข้อมูลที่แหล่งที่น่าเชื่อถือ

หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นการเริ่มเดินเกมของรัสเซีย ที่สุดท้ายอาจเลยเถิดถึงการโจมตีมอลโดวาด้วยหรือไม่

เมื่อช่วงที่ผ่านมาของเดือนนี้ นายแซร์เกย์ ลาฟวโรฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียเตือนอย่างเปิดเผยว่า ความพยายามหันไปหาตะวันตกของมอลโดวาอาจทำให้กลายเป็นยูเครนประเทศต่อไปก็ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook