3 จังหวัดภาคเหนือ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ประสบภัยแล้งหนัก

3 จังหวัดภาคเหนือ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ประสบภัยแล้งหนัก

3 จังหวัดภาคเหนือ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ประสบภัยแล้งหนัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ระบุ 3 จังหวัดภาคเหนือ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ประสบปัญหาภัยแล้งหนัก ส่วนอีก 18 จังหวัด มีแนวโน้มประสบภัยแล้งเช่นกัน ส่วนภาคตะวันออกมีปริมาณน้ำสำรองในอ่างไม่ประสบภัยแล้งแน่

นายเกษมสันต์ จิณณวาโส อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ว่า จากการประเมินสถานการณ์ โดยดูจากแหล่งน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ บวกกับข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ปรากฏการณ์เอลนิโญ จะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงกลางปีหน้า และผลกระทบจากปรากฎการณ์นี้จะส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งได้ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณฝนสะสมที่มีน้อยกว่าค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 10 โดยเบื้องต้นคาดว่ามี 3 จังหวัด ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงภัยแล้งมาก ได้แก่ พะเยา เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ขณะที่อีก 18 จังหวัดที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงภัยแล้งปานกลาง ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน อุทัยธานี สุโขทัย เพชรบูรณ์ จันทบุรี ตราด เลย ปราจีนบุรี สระแก้ว นครรราชสีมา ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ มหาสารคาม นครพนม และมุกดาหาร โดยจะปรากฎภัยแล้งชัดเจนมากหลังกลางเดือน ม.ค.53

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า สาเหตุของภัยแล้งรุนแรงใน 3 จังหวัด เนื่องจากที่ผ่านมามีฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณเก็บน้ำในอ่างหลายแห่งต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เช่น แม่กวง จ.เชียงใหม่ มีน้ำเพียงร้อยละ 29 ทับเสลา จ.อุทัยธานี ร้อยละ 41 น้ำพุง และ น้ำอูน จ.สกลนคร ร้อยละ 41 โดยกรมทรัพยากรน้ำได้ร่วมกับกรมชลประทาน ติดตามและหามาตรการรับสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น โดยกรมชลประทานได้กำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทานลดน้อยลงกว่าปีที่แล้ว 1.3 ล้านไร่ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เพราะภาคเกษตรเป็นภาคการผลิตที่ใช้น้ำมากที่สุด และการใช้น้ำผ่านระบบคลองเปิดจะมีอัตราการระเหย ร้อยละ 10-15 ส่วนของกรมทรัพยากรน้ำจะการฟื้นฟูแหล่งน้ำภายใต้งบไทยเข้มแข็ง คาดว่าจะแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะกว่างานจะแล้วเสร็จต้องใช้ระยะเวลา 3-4 เดือน และน่าจะทันกับฤดูฝนหน้า

สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออก ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่มากนั้น นายเกษมสันต์ กล่าวว่า ข้อมูลพบว่ายังมีปริมาณน้ำสะสมในอ่างเก็บน้ำของภาคตะวันออก ค่อนข้างมาก เฉลี่ยทุกอ่างรวมกันร้อยละ 79 โดยเฉพาะใน จ.ระยอง อ่างหนองปลาไหล มีน้ำเก็บกักถึงร้อยละ 98 อ่างประแสร์ ร้อยละ 93 ดอกกราย ร้อยละ 91 ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นห่วงว่าในภาคตะวันออกจะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ แต่ทั้งหมดก็ขึ้นกับการบริหารจัดการน้ำ ระหว่างภาคอุตสาหกรรม เกษตรและชุมชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook