อย่าแชร์มั่ว! อ.เจษฎ์ ย้ำอีกครั้ง "แช่แข็งขวดน้ำพลาสติกเสี่ยงมะเร็ง" เป็นเรื่องไม่จริง

อย่าแชร์มั่ว! อ.เจษฎ์ ย้ำอีกครั้ง "แช่แข็งขวดน้ำพลาสติกเสี่ยงมะเร็ง" เป็นเรื่องไม่จริง

อย่าแชร์มั่ว! อ.เจษฎ์ ย้ำอีกครั้ง  "แช่แข็งขวดน้ำพลาสติกเสี่ยงมะเร็ง" เป็นเรื่องไม่จริง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรณีโลกออนไลน์มีการนำคลิปจากรายการหนึ่งกลับมาแชร์ซ้ำกันอีกครั้ง โดยใจความพูดถึงเรื่อง "อันตราย!! อย่าแช่ขวดน้ำดื่มและถุงพลาสติกในช่องแช่แข็ง เพราะเมื่อสารพลาสติกเจอความเย็นจนเป็นน้ำแข็ง น้ำแข็งจะดูดไดออกซินออกมา เป็นสารก่อมะเร็ง" จนทำให้หลายคนหลงเชื่อและเกิดความกังวล

ล่าสุด อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาให้ข้อมูลยืนยันอีกครั้งว่า เรื่องดังกล่าวนั้น "ไม่เป็นความจริง" ซึ่งทางรายการเองก็ได้เคยออกมาขอโทษในประเด็นดังกล่าวไปแล้วด้วย ทั้งนี้ อาจารย์เจษฎา ยังได้แชร์ข้อมูลที่เคยอธิบายไปในอดีตว่า

ขวด PET ที่เราใช้ใส่น้ำดื่มแบบบรรจุขวดกันนั้น ไม่ได้มีส่วนผสมของสารอันตรายอย่าง ไดออกซิน และการแช่แข็งขวดในตู้เย็นนั้น ก็ไม่ได้จะทำให้สารไดออกซินหรือสารอันตรายอื่นๆ ละลายออกมาจากขวด (หรือน้ำแข็งจะดูดไดออกซินออกมา อย่างที่รายการใช้คำนั้น) เรื่องนี้ น่าจะมาจากความเชื่อตามๆ กันในโลกอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่สมัยฟอร์เวิร์ดเมล์หลอก ที่บอกว่า "ห้ามดื่มน้ำจากขวดน้ำดื่ม ในรถที่จอดตากแดด จะทำให้ได้รับสารไดออกซิน ก่อมะเร็ง" จนทำเอาคนไม่กล้าดื่มน้ำกัน แม้กระทั่งน้ำแจกฟรีตามปั๊มน้ำมัน ก็ไม่กล้ารับ

ซึ่งเรืองที่เป็นฟอร์เวิร์ดเมล์มั่วดังกล่าวนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างไร! มีการอธิบายหลายครั้งจากทั้งผม นักวิชาการหลายๆ คน และจากสถาบันพลาสติก จนกระทั่งมีการทดสอบวิเคราะห์ และแถลงจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี พ.ศ. 2557 ว่า ขวดน้ำดื่มตากแดด ไม่ได้จะเป็นอันตรายอย่างที่กล่าวกัน กล่าวคือ ไม่พบสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง รวมถึงไม่พบสารพิษไดออกซิน (Dioxins) สาร Bisphenol A (BPA) หรือสาร PCB (Polychlorinated biphenyl) ในขวดน้ำที่ถูกทิ้งไว้ในรถอุณหภูมิสูงแต่อย่างใดนั้น

ซึ่งทางอธิบดีกรมวิทย์ฯ (ในขณะนั้น) ได้สรุปไว้ว่า "ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก และสารเคมีต่าง ๆ ที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะการแช่แข็ง ซึ่งไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าเกิดขึ้นได้"
นั่นก็ตรงกับความรู้พื้นฐานเรื่องพลาสติก ที่การแช่แข็งขวดน้ำพลาสติกไม่ได้ทำให้ขวดน้ำปล่อยสารเคมีออกมา ในทางกลับกัน น่าจะช่วยชะลอและป้องกันการปล่อยสารเคมีออกมาอีกด้วย (ตามหลักปฏิกิริยาเคมีทั่วไป เนื่องจากความร้อนที่ลดลงในขวด)

ปล. ในต่างประเทศ ก็เคยมีการดีบังค์ แก้ข่าวปลอมเรื่องที่ "ห้ามแช่แข็งขวดน้ำ" กันมาแล้ว โดยเอฟดีเอ องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ได้ออกแถลงการณ์ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างต่างๆ ว่าจะมีสารเคมีจากพลาสติกแพร่ออกมาสู่อาหารให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และบอกว่าไม่มีหลักฐานว่าขวดพลาสติกหรือภาชนะพลาสติกต่างๆ จะมีสารไดออกซิน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook