จำนวน ส.ส. 8 จังหวัดเปลี่ยนแปลง หลังมติศาล รธน. ให้ใช้จำนวนประชากร “เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย”

จำนวน ส.ส. 8 จังหวัดเปลี่ยนแปลง หลังมติศาล รธน. ให้ใช้จำนวนประชากร “เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย”

จำนวน ส.ส. 8 จังหวัดเปลี่ยนแปลง หลังมติศาล รธน. ให้ใช้จำนวนประชากร “เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญ ตีความสูตรคำนวณจำนวน ส.ส. แบบเบ่งเขต หลังหลายภาคส่วนค้านการนับรวมประชากรไม่มีสัญชาติไทย ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา จากนั้น ในวันที่ 3 มีนาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีการประชุมแถลงด้วยวาจาปรึกษาหารือ และลงมติ 

“ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) ที่กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรในปีสุดท้ายก่อนที่มีการเลือกตั้งนั้น คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย” 

จากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้จำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตที่ กกต. ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ ในวันที่ 31 มกราคม 2566 มีการเปลี่ยนแปลง โดยต้องคำนวณจำนวน ส.ส.​แบ่งเขตตามจำนวนประชากรเฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งได้ผลลัพธ์ตามที่ร็อกเกต มีเดีย แล็บ เคยคำนวณไว้ก่อนหน้านี้

โดยผลของมติศาลรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวน ส.ส. แบ่งเขต ใน 8 จังหวัด ดังนี้ 

  • 4 จังหวัดที่จะได้จำนวน ส.ส.​ แบ่งเขต เพิ่มขึ้น (เมื่อเปรียบเทียบกับประกาศ กกต. ก่อนหน้านี้) 
    • นครศรีธรรมราช จาก 9 คน เป็น 10 คน
    • อุดรธานี จาก 9 คน เป็น 10 คน
    • ลพบุรี จาก 4 คน เป็น 5 คน
    • ปัตตานี จาก 4 คน เป็น 5 คน 
  • 4 จังหวัดที่จะได้จำนวน ส.ส. แบ่งเขต ลดลง (เมื่อเปรียบเทียบกับประกาศ กกต. ก่อนหน้านี้)
    • เชียงใหม่ จาก 11 คน เหลือ 10 คน
    • เชียงราย จาก 8 คน เหลือ 7 คน
    • สมุทรสาคร จาก 4 คน เหลือ 3 คน
    • ตาก จาก 4 คน เหลือ 3 คน 

ทั้งนี้ ร็อกเกต มีเดีย แล็บ ยังได้พูดคุยกับสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ผู้ที่ออกมาตั้งข้อสังเกตถึงการคำนวณจำนวน ส.ส. ของ กกต. ในแบบแรก ที่รวมประชากรที่ไม่มีสัญชาติไทยด้วย ถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าในการคำนวณให้ใช้เฉพาะประชากรที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น 

“จากนี้ไปอยากให้ กกต. ประกาศตัวเลข ส.ส. แบ่งเขตใน 69 จังหวัดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากมติของศาลรัฐธรรมนูญลงในราชกิจจานุเบกษาก่อน เพื่อที่จะได้เดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไป ส่วนในอีก 8 จังหวัดที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามที่ร็อกเกต มีเดีย แล็บ เคยทำข้อมูลไว้ ผมเสนอว่าให้ กกต. ประกาศการเปลี่ยนแปลงตัวเลข ส.ส. ใน 8 จังหวัดวันนี้เลย แล้วจึงออกประกาศในราชกิจจาฯ ตามมาทีหลัง เพื่อให้พรรคการเมืองทำไพรมารี่โหวตได้ ซึ่งถ้าทำแบบนี้ผมคิดว่าจะไม่กระทบกับไทม์ไลน์การจัดการเลือกตั้งเดิมที่วางไว้ว่าไม่เกินวันที่ 7 พฤษภาคม 2566” 

หากคำนวณ ส.ส. โดยตัดผู้ไม่มีสัญชาติไทยออก จังหวัดใดมี ส.ส. เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งปี 2562 บ้าง

เมื่อเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งปี 2562 ซึ่งมี ส.ส.แบบแบ่งเขต 350 คน แต่ในปี 2566 มีจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตทั้งสิ้น 400 คน พบว่า มี 42 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.เพิ่มขึ้น โดยกรุงเทพฯ มีจำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 คน จาก 30 คนเป็น 33 คน รองลงมา เพิ่มขึ้นจังหวัดละ 2 คน รวม 5 จังหวัด คือ นนทบุรี จาก 6 เป็น 8 คน, ชลบุรี จาก 8 เป็น 10 คน, นครราชสีมา จาก 14 เป็น 16 คน, บุรีรัมย์ จาก 8 เป็น 10 คน และอุดรธานีจาก 8 คนเป็น 10 คน 

จังหวัดที่มี ส.ส. เพิ่มขึ้น 1 คน มี 36 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ ตรัง ตาก นครนายก นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส บึงกาฬ ปทุมธานี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พังงา เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ร้อยเอ็ด ระยอง เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สมุทรปราการ สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ อ่างทอง อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุบลราชธานี

จำนวน ส.ส. แบ่งเขต 400 เขต ใน 77 จังหวัด ในการเลือกตั้งปี 2566 นี้ มีดังต่อไปนี้ 

  • ภาคเหนือ มีจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 37 คน แบ่งเป็น 
    • เชียงใหม่ 10 คน 
    • เชียงราย 7 คน
    • แพร่ 3 คน
    • แม่ฮ่องสอน 2 คน
    • น่าน 3 คน
    • พะเยา 3 คน
    • ลำปาง 4 คน
    • ลำพูน 2 คน
    • อุตรดิตถ์ 3 คน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 133 คน แบ่งเป็น 
    • กาฬสินธุ์ 6 คน 
    • ขอนแก่น 11 คน
    • ชัยภูมิ 7 คน
    • นครพนม 4 คน
    • นครราชสีมา 16 คน
    • บึงกาฬ 3 คน
    • บุรีรัมย์ 10 คน
    • มหาสารคาม 6 คน
    • มุกดาหาร 2 คน
    • ยโสธร 3 คน
    • ร้อยเอ็ด 8 คน
    • เลย 4 คน
    • ศรีสะเกษ 9 คน
    • สกลนคร 7 คน
    • สุรินทร์ 8 คน
    • หนองคาย 3 คน
    • หนองบัวลำภู 3 คน
    • อำนาจเจริญ 2 คน
    • อุดรธานี 10 คน
    • อุบลราชธานี 11 คน

  • ภาคตะวันออก มีจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 29 คน แบ่งเป็น
    • จันทบุรี 3 คน
    • ฉะเชิงเทรา 4 คน
    • ชลบุรี 10 คน
    • ตราด 1 คน
    • ปราจีนบุรี 3 คน
    • ระยอง 5 คน
    • สระแก้ว 3 คน
  • ภาคตะวันตก มีจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 19 คน แบ่งเป็น
    • กาญจนบุรี 5 คน
    • ตาก 3 คน
    • ประจวบคีรีขันธ์ 3 คน
    • เพชรบุรี 3 คน
    • ราชบุรี 5 คน
  • ภาคกลาง มีจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 122 คน แบ่งเป็น
    • กรุงเทพมหานคร 33 คน
    • กำแพงเพชร 4 คน
    • ชัยนาท 2 คน
    • นครนายก 2 คน
    • นครปฐม 6 คน
    • นครสวรรค์ 6 คน
    • นนทบุรี 8 คน
    • ปทุมธานี 7 คน
    • พระนครศรีอยุธยา 5 คน
    • พิจิตร 3 คน
    • พิษณุโลก 5 คน
    • เพชรบูรณ์ 6 คน
    • ลพบุรี 5 คน
    • สมุทรปราการ 8 คน
    • สมุทรสงคราม 1 คน
    • สมุทรสาคร 3 คน
    • สระบุรี 4 คน
    • สิงห์บุรี 1 คน
    • สุโขทัย 4 คน
    • สุพรรณบุรี 5 คน
    • อ่างทอง 2 คน
    • อุทัยธานี 2 คน

  • ภาคใต้ มีจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็น
    • กระบี่ 3 คน
    • ชุมพร 3 คน
    • ตรัง 4 คน
    • นครศรีธรรมราช 10 คน
    • นราธิวาส 5 คน
    • ปัตตานี 5 คน
    • พังงา 2 คน
    • พัทลุง 3 คน
    • ภูเก็ต 3 คน
    • ยะลา 3 คน
    • ระนอง 1 คน
    • สงขลา 9 คน
    • สตูล 2 คน 
    • สุราษฎร์ธานี 7 คน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook