ใจบางไปหมด ช่วยลูกหมาจิ้งจอก 3 ตัว พลัดหลงจากแม่ หนีตายไฟป่าลำปาง

ใจบางไปหมด ช่วยลูกหมาจิ้งจอก 3 ตัว พลัดหลงจากแม่ หนีตายไฟป่าลำปาง

ใจบางไปหมด ช่วยลูกหมาจิ้งจอก 3 ตัว พลัดหลงจากแม่ หนีตายไฟป่าลำปาง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เปิดภาพน่ายินดีปนเศร้า อุทยานแจ้ซ้อนช่วยลูกหมาจิ้งจอก 3 ตัว รอดชีวิตจากไฟป่าลำปาง 

อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน - Chae Son National Park  โพสต์ภาพเหตุไฟป่าในพื้นที่ (6 เม.ย.66) พร้อมระบุว่า นายเทวัญ จันทร์พรหม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จซ.4 (แม่อ้อ) ออกดำเนินการดับไฟป่าต่อเนื่องบริเวณรอยต่อเขตท้องที่ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ในระหว่างการดับไฟดังกล่าวเจ้าหน้าที่พบลูกสุนัขจิ้งจอกที่หนีตายจากไฟป่า จำนวน 3 ตัว และทำการช่วยชีวิตไว้ในที่ปลอดภัย และรีบเข้าดับไฟป่าบริเวณดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

การเผาป่านอกจากมีความผิดตามกฎหมายและทำลายพื้นที่ป่า ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศแล้ว ยังเป็นการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า จากการเกิดไฟป่า และความรุนแรงจากไฟป่า ทำให้สัตว์ป่าเหล่านั้นต้องล้มตายเป็นจำนวนมาก

สำหรับ สุนัขจิ้งจอกในประเทศไทย ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ใครครอบครองถือว่าผิดกฎหมายมีโทษทั้งจำทั้งปรับ 

อย่างไรก็ตาม สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า เผยข้อมูลว่าผืนป่าอนุรักษ์ของไทยนั้น มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์หมาป่า (Canidae) อยู่ด้วยกัน 2 ชนิด นั่นคือ

1. หมาจิ้งจอก หรือ Golden Jackal (Canis anureus)
2. หมาใน หรือ Dhole (Cuon alpinus)

ทั่วโลกมีสัตว์ในวงศ์หมาป่าถึง 34 ชนิด แต่ด้วยธรรมชาติของสัตว์ในวงศ์นี้ จะนิยมดำรงชีพด้วยการล่าเหยื่อในทุ่งหญ้าโล่งกว้าง แต่ผืนป่าไทยส่วนใหญ่เป็นป่ารกทึบ ดังนั้น จึงมีอยู่เพียง 2 ชนิดนี้เท่านั้น

หลายคนอาจยังสับสนและแยกไม่ออกระหว่างหมาจิ้งจอกกับหมาใน เพราะมีลักษณะค่อนข้างคล้ายคลึงกันอยู่มาก จากการเฝ้าติดตามของทีมวิจัยสัตว์ป่า พบการกระจายตัวของทั้งคู่ และมีความแตกต่างกัน ดังนี้

1. หมาจิ้งจอก พบการกระจายตัวอยู่ในทุกกลุ่มป่าทางภาคเหนือ กลุ่มป่าตะวันออกเฉียงเหนือ และกลุ่มป่าตะวันตก แต่ไม่พบในกลุ่มป่าตะวันออก บริเวณปลายขนช่วงหัวไหล่ จะมีสีดำ แลดูคล้ายลักษณะหมาหลังอาน หมาจิ้งจอก กินเหยื่อได้หลากหลายกว่า ตั้งแต่แมลงไปจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก

2. หมาใน พบการกระจายตัวมากที่สุดในกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ รองลงมาเป็นกลุ่มป่าภูเขียว-น้ำหนาว และกลุ่มป่าตะวันออก แต่ไม่พบในกลุ่มป่าภาคใต้ โดยหมาใน จะเลือกดำรงชีพในกลุ่มป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในขณะที่หมาจิ้งจอกสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในป่าเสื่อมโทรม หมาใน กินเหยื่อเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น กวางป่า เก้ง หมูป่า

ด้วยสองปัจจัยการกินที่หลากหลายกว่าของหมาจิ้งจอกนี้ จึงทำให้ผืนป่าไทยมีประชากรหมาจิ้งจอกมากกว่าหมาในนั่นเอง


อัลบั้มภาพ 11 ภาพ

อัลบั้มภาพ 11 ภาพ ของ ใจบางไปหมด ช่วยลูกหมาจิ้งจอก 3 ตัว พลัดหลงจากแม่ หนีตายไฟป่าลำปาง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook