เริ่มสร้างสมองไว และภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอด เพื่อพัฒนาการที่เร็วกว่า ด้วยสารอาหารในนมแม่

เริ่มสร้างสมองไว และภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอด เพื่อพัฒนาการที่เร็วกว่า ด้วยสารอาหารในนมแม่

เริ่มสร้างสมองไว และภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอด เพื่อพัฒนาการที่เร็วกว่า ด้วยสารอาหารในนมแม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การผ่าคลอด เป็นรูปแบบการผ่าตัดคลอดลูกทางหน้าท้อง (Cesarean Section หรือ C-sections) เหมาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ แต่ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คุณแม่สามารถผ่าคลอดได้ตามความต้องการ การผ่าคลอดจึงเป็นทางเลือกสำหรับคนท้องที่ต้องการกำหนดวันคลอดลูก หรือกลัวเจ็บปวดจากการคลอดทางช่องคลอด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร คุณแม่ที่คลอดลูกด้วยวิธีนี้จะต้องเผชิญกับการเจ็บแผลที่มากกว่า ฟื้นตัวได้ช้ากว่า เริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้ากว่า1 และเสี่ยงต่อการมีระบบภูมิแพ้ที่ผิดปกติง่ายกว่า

โดยปกติแล้วทารกที่คลอดทางช่องคลอด จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกจากมดลูกมาที่ช่องคลอดและออกสู่ภายนอก ซึ่งในทุกกระบวนการคลอดนี้ ทารกจะได้รับจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในช่องคลอดและลำไส้ใหญ่ส่วนล่างจากคุณแม่มาด้วย ทารกที่คลอดธรรมชาติจึงมีโอกาสที่เริ่มเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้เร็วกว่าเพราะสามารถเริ่มได้ตั้งแต่อยู่ในระยะคลอด1

ต่างจากทารกที่เกิดจากการผ่าคลอด ลูกน้อยจะถูกคุณหมอล้วงขึ้นมาจากการผ่าตัดหน้าท้อง ทำให้ไม่ผ่านช่องช่องคลอดและลำไส้ใหญ่ เด็กผ่าคลอดจึงเสียโอกาสในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกคลอดไป ส่งผลให้มีพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันที่ล่าช้ากว่า1 และยังมีความเสี่ยงต่อการพัฒนาการทางสมองที่ช้ากว่าด้วย แม่ผ่าคลอดจึงควรเริ่มสร้างพัฒนาการทางสมอง พร้อมเริ่มเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยให้เร็วกว่าด้วยโภชนาการที่ดีในนมแม่ที่โดยเริ่มได้ตั้งแต่แรกคลอด

สมองของเด็กผ่าคลอดกับพัฒนาการการเรียนรู้

การผ่าคลอดส่งผลต่อพัฒนาการการด้านการเรียนรู้ของลูกน้อยอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งจากการศึกษาพัฒนาการทางสมองของ Deoni (2019) โดยสังเกตจากภาพสแกนการทำงานเชื่อมโยงกันของเซลล์ประสาทในสมอง (Brain Connectivity) ระหว่างเด็กที่คลอดธรรมชาติกับเด็กผ่าคลอด พบว่า พัฒนาการสมองของเด็กที่ผ่าคลอดส่วนคอร์ปัส คาโลซัม (Corpus Callosum) ส่วนที่มีการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวา มีการสร้างไมอีลินในสมองน้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติในช่วงอายุ 3 เดือน จนถึง 3 ปี 2

ภาพสแกนสมองเมื่ออายุ 2 สัปดาห์2 เด็กคลอดธรรมชาติและเด็กผ่าคลอด ภาพสแกนสมองเมื่ออายุ 2 สัปดาห์2 ดัดแปลงจาก Deoni S.C. et al. Am J Neuroradiol. 2019 2

 

ภาพสแกนสมองเมื่ออายุ 2 สัปดาห์2 เด็กคลอดธรรมชาติและเด็กผ่าคลอด
ภาพสแกนสมองเมื่ออายุ 2 สัปดาห์2
ดัดแปลงจาก Deoni S.C. et al. Am J Neuroradiol. 2019 กราฟแสดงความสัมพันธ์ของการสร้างไมอีลิน ตามอายุวันที่เพิ่มขึ้น สำหรับเด็กคลอดธรรมชาติและเด็กผ่าคลอด กราฟแสดงความสัมพันธ์ของการสร้างไมอีลิน ตามอายุวันที่เพิ่มขึ้น ดัดแปลงจาก Deoni S.C. et al. Am J Neuroradiol. 2019 2กราฟแสดงความสัมพันธ์ของการสร้างไมอีลิน ตามอายุวันที่เพิ่มขึ้น สำหรับเด็กคลอดธรรมชาติและเด็กผ่าคลอด
กราฟแสดงความสัมพันธ์ของการสร้างไมอีลิน ตามอายุวันที่เพิ่มขึ้น
ดัดแปลงจาก Deoni S.C. et al. Am J Neuroradiol. 2019 2


เมื่อเด็กผ่าคลอดโตขึ้นได้อายุ 4 – 9 ปี พบว่าจากเด็ก 1 ใน 7 จะมีความเสี่ยงต่อพัฒนาการการเรียนรู้เมื่อเริ่มเข้าโรงเรียน และอาจมีคะแนนที่น้อยกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ 3,4

อย่างไรก็ตาม สมองของเด็กผ่าคลอดสามารถสร้างขึ้นได้ โดยการสร้างไมอีลิน จากสารอาหารที่สำคัญอย่างสฟิงโกไมอีลินในนมแม่ เพื่อให้เด็กผ่าคลอดมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดี มีสมองไว และสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในความสำเร็จของลูกน้อยในอนาคตได้

สฟิงโกไมอีลิน ช่วยสร้างไมอีลิน ให้สมองเด็กผ่าคลอดได้ไวกว่า

  • โภชนาการที่ดีสามารถเพิ่มการสร้างไมอีลินในสมองได้ โดยเฉพาะโภชนาการในนมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารที่หลากหลายถึง 200 ชนิด หนึ่งในนั้นคือ สฟิงโกไมอีลิน ที่ช่วยสร้างปลอกไมอีลินทำให้สมองเกิดความสามารถในการเรียนรู้ได้เร็วมากขึ้น5
  • ไมอีลิน มีความสำคัญต่อวงจรประสาทในสมองของเด็กเป็นอย่างมาก เพราะมีส่วนช่วยให้สมองสามารถส่งสัญญาณประสาทได้รวดเร็ว และเกิดการเชื่อมโยงการทำงานของเซลล์ประสาทได้ไว รู้หรือไม่ เซลล์ประสาทที่มีปลอกไมอีลินหุ้มสามารถส่งกระแสประสาทได้เร็วถึง 100 เท่า6 ทำให้สมองของลูกน้อยเกิดการเรียนรู้ การจดจำ และคิดวิเคราะห์ได้ดีและรวดเร็วกว่า
  • นมแม่ไม่เพียงช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอดด้วย คุณแม่จึงควรเริ่มต้นเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอดให้เร็ว เพื่อที่ร่างกายของเด็กผ่าคลอดเริ่มพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันได้เร็วขึ้น

สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารในนมแม่ ช่วยสร้างสมองและการเรียนรู้ที่ไวกว่า

 สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารในนมแม่ ช่วยสร้างสมองและการเรียนรู้ที่ไวกว่า 

 

เริ่มเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอดให้เร็วกว่า ด้วยบีแล็กทิส ในช่วงแรกของชีวิต

การผ่าคลอดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้ในช่วงทารกแรกเกิด การศึกษาหลายชิ้นพิสูจน์ว่าการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่เกิดจากการผ่าตัดคลอดอาจส่งผลต่อการกระตุ้นเซลล์เยื่อบุผิวในลำไส้และการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าโปรไบโอติกสามารถส่งเสริมการเกิดจุลินทรีย์ในลำไส้ได้7

 บี แล็กทิส (B. lactis) เป็นโพรไบโอติกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจัดอยู่ในกลุ่มของบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) พบได้ในนมแม่ และลำไส้ของเด็กที่คลอดธรรมชาติ8 บี แล็กทิส มีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และสุขภาพของระบบทางเดินอาหาร9 เพราะมีคุณสมบัติที่ช่วยลดระยะเวลาในการผ่านทางเดินอาหาร บรรเทาอาการท้องผูก ป้องกันอาการท้องเสียเฉียบพลันนทารก และอาการลำไส้แปรปรวนได้ด้วย10

แม้ว่าเด็กผ่าคลอดจะไม่ได้รับจุลินทรีย์ที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันในระหว่างคลอด แต่คุณแม่สามารถเสริมจุลินทรีย์ให้เด็กผ่าคลอดได้จากสารอาหารที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ด้วยบีแล็กทิสในนมแม่ เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างแข็งแรง

สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารในนมแม่ ช่วยสร้างสมองและเสริมภูมิคุ้มกัน
สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารในนมแม่ ช่วยสร้างสมองและเสริมภูมิคุ้มกัน

ในช่วงแรกของชีวิต เด็กจะมีพัฒนาการทางสมองและร่างกาย รวมถึงระบบต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว หากคุณแม่ต้องการสร้างสมองไวให้ลูกมีการเรียนรู้ที่รวดเร็ว รวมถึงต้องการสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีไม่ให้ลูกเป็นเด็กป่วยง่าย ต้องเริ่มให้ลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองและภูมิต้านทานให้ไว ควบคู่กับการกระตุ้นพัฒนาการ เพื่อให้ลูกสามารถเติบโตมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้เร็วกว่าเดิม

อ่านเคล็ดลับคุณแม่ พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับคุณแม่ตั้งแต่เตรียมตัวผ่าตลอด ไปจนถึงการดูแลตัวเอง และลูกผ่าคลอด ได้เลยที่ S-Mom Club

[Advertorial] 

Reference

  1. วิทยา. 2553 https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=737
  2. Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169–177.
  3. Bentley J, et al. Pediatrics. 2016; 138:1-9.
  4. Polidano C, et al. Sci Rep. 2017; 7: 11483.
  5. Deoni S, et al. Neuroimage. 2018 Sep;178: 649-659.
  6. Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.
  7. Zhang, et al. Front Microbiol, 2021 23;12:724449.
  8. Yang B, et al. Int J Mol Sci. 2019 Jul 5;20(13):3306.
  9. Floch M.H., et al. J Clin Gastroenterol. 2015 Nov-Dec;49 Suppl 1:S69-73.
  10. ศิริวุฒิ, เชียงใหม่สาวสาร. 2559; 55(1):75-84
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook