เสริมแค่โปรตีนเวย์อย่างเดียวอาจไม่พอ! รู้จัก HMB สารอาหารสำคัญของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ

เสริมแค่โปรตีนเวย์อย่างเดียวอาจไม่พอ! รู้จัก HMB สารอาหารสำคัญของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ

เสริมแค่โปรตีนเวย์อย่างเดียวอาจไม่พอ! รู้จัก HMB สารอาหารสำคัญของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อพูดถึงสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง การมีสุขภาพดี ย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการจะมีอย่างแน่นอน แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายเราก็เริ่มมีการเสื่อมถอยไปตามธรรมชาติ แต่ก็ใช่ว่าเราจะชะลอการเสื่อมถอยให้ช้าลงไม่ได้ การดูแลในเรื่องโภชนาการ อาหารการกิน และการออกกำลังกาย นับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจมากขึ้น

และหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญในการดูแลกล้ามเนื้อ อย่าง HMB ก็เริ่มเป็นที่น่าสนใจและถูกค้นหาข้อมูลกันมากขึ้น เพราะเจ้าสารอาหารตัวนี้มีความแตกต่างจากโปรตีนชนิดอื่น เพราะ HMB สามารถช่วยทั้งเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ (*1) ต่างจากโปรตีนโดยทั่วไป ที่แค่เสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ แต่ไม่ได้ช่วยชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ เรามาดูกันว่า HMB สำคัญกับกล้ามเนื้อมากแค่ไหนกับผู้สูงวัย

HMB สำคัญกับกล้ามเนื้อ และมีผลการศึกษารองรับ

HMB หรือชื่อเต็มคือ เบต้า ไฮดรอกซี เบต้า เมทิลบิวไทเรต (Beta-hydroxy-beta-methylbutyrate) ถูกพัฒนาในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยการศึกษาในนักกีฬาซึ่งแสดงให้เห็นผลในเชิงบวกของ HMB ต่อการเสริมสร้างการฟื้นตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (*2) และด้วยผลการศึกษานี้ ทำให้ HMB ได้ถูกคิดค้นและพัฒนาให้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอาหารสูตรครบถ้วน เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตทีดีผ่านกล้ามเนื้อที่แข็งแรงสมวัย มากว่า 27 ปีแล้ว โดยมีผลวิจัยทางคลินิกรับรองกว่า 120 การศึกษา (*3) และยังไม่มีรายงานเรื่องผลกระทบทางลบจากการได้รับ HMB อย่างต่อเนื่อง (*4,5) ซึ่งปริมาณ HMB ที่เหมาะสมเพื่อสุขภาพกล้ามเนื้อที่ดี คือ 1-3 กรัมต่อวัน

HMB สำคัญกับกล้ามเนื้อ

HMB หาได้จากที่ไหน

HMB แม้จะพบในร่างกายแต่ก็จะมีปริมาณลดลดตามวัย ความเครียด โรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับเสริมจากอาหาร ซึ่งพบว่า การทาน HMB 1.5 กรัม ต่อวัน เพื่อกล้ามเนื้อที่แข็งแรงตามงานวิจัย จำเป็นต้องทานโปรตีนเวย์มากกว่า 10 แก้ว*!  (หรือโปรตีนเวย์ 300 กรัม) ซึ่งเป็นเรื่องยากที่เราจะทานโปรตีนเวย์ได้มากขนาดนั้นในแต่ละวัน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ไม่ได้มีกิจกรรมที่ต้องใช้แรง หรือพลังงานมากเหมือนตอนหนุ่มสาว

*คำนวณจากปริมาณโปรตีนเวย์ 300 กรัม เพื่อให้ได้ HMB 1.5 กรัม
HMB 1.5 กรัม เป็นค่าโดยประมาณเมื่อพิจารณาการได้รับ HMB ในรูปแบบของ CaHMB

3 เคล็ดลับทางโภชนาการ สู่เป้าหมายสุขภาพดีของคนสูงวัย

  1. เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อด้วย HMB 

    ได้ทำความรู้จัก HMB กันมากขึ้นแล้ว จะเห็นได้ว่า HMB มีประโยชน์ต่อกล้ามเนื้อและมีส่วนช่วยเป็นอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องอาศัยกล้ามเนื้อในการออกแรง การให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ครบถ้วนจากอาหารหลัก 5 หมู่ การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ และเสริมด้วยอาหารสูตรครบถ้วนที่มี HMB และโปรตีนที่หลากหลาย ก็จะมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพราะทั้งเสริมสร้างและชะลอการสลายตัวของมวลกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรง ก็ทำให้เรามีภูมิคุ้มกันที่ดีตามมา (*8)

    เสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อด้วย HMB
  2. เสริมทัพสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วย ใยอาหาร FOS พร้อมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ

    - ใยอาหาร FOS หรือ ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ มีคุณสมบัติมากกว่าใยอาหารทั่วไป เป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ ช่วยให้จุลินทรีย์ชนิดดีแข็งแรง ลดจุลินทรีย์ที่ก่อโรค เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย พบได้ใน ข้าวสาลี ข้าวไรย์ หัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง หัวชิคอรี่ กล้วย ถั่วเหลือง กระเทียม ต้นหอม มะเขือเทศ และพืชประเภทพืชหัว (*9)

    เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วย ใยอาหาร FOS
    - วิตามินบีรวม โดยเฉพาะ บี 6 และ บี 12 มีความสำคัญต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ดีต่อสุขภาพ พบได้ใน แซลมอน ปลาเทราต์ เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู ไข่ โยเกิร์ต ธัญพีชต่างๆ (*11)
    - ธาตุเหล็ก ช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเป็นปกติ  พบได้ในเนื้อสัตว์สีแดง ผักใบเขียว กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ถั่วเขียว ถั่วแดง และงาดำ (*10)
    - สังกะสี จำเป็นสำหรับการพัฒนาเซลล์ภูมิคุ้มกัน และมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองต่อการอักเสบ สังกะสียังช่วยปกป้องเนื้อเยื่อในร่างกายไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย พบมากใน เนื้อสัตว์และเครื่องใน หอยนางรม สัตว์ปีกและปลา  (*10)
    วิตามินซี เป็นวิตามินสำคัญที่มีส่วนในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น เนื่องจากจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พบได้ในผักและผลไม้สดต่างๆ (*10)
    - วิตามินดี ช่วยเม็ดเลือดขาวในการต่อสู้กับเชื้อโรคซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน และลดการอักเสบ ซึ่งช่วยส่งเสริมการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน พบได้ใน ปลาที่มีน้ำมันสูง เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาเทราต์ ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล เป็นต้น ไข่แดง นม (*10)

  3. เติมเต็มพลังงานด้วยน้ำตาล และน้ำเชื่อมข้าวโพด

    - น้ำตาล เป็นส่วนประกอบจำเป็นของอาหาร เพราะช่วยเติมเต็มพลังงานให้กับร่างกาย ช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉงตื่นตัว ดังนั้น จึงไม่ควรตัดน้ำตาลออกไปจากมื้ออาหาร แต่ควรบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม
    - น้ำเชื่อมข้าวโพด หรือ Corn Syrup Solid
    เป็นสารให้ความหวานที่ผ่านการย่อยสลายมาจากแป้งข้าวโพด ที่จัดอยู่ในหมวดคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของพลังงาน
    - ข้อควรระวัง!
    เพราะในตลาดจะมีการใช้ทั้งน้ำเชื่อมข้าวโพด (Corn Syrup Solid) และน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสสูง (High Fructose Corn Syrup Solid) ชื่ออาจคล้ายกัน แต่แตกต่างกันสิ้นเชิง น้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสสูง หรือ High Fructose Corn Syrup Solid มีส่วนผสมของกลูโคสและฟรุกโคส เลยมีรสหวานกว่าน้ำเชื่อมข้าวโพดปกติ! เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลิน รวมถึงระบบเผาผลาญผิดปกติได้
    -
    ดังนั้น ในอาหารสูตรครบถ้วน จึงใช้ ‘น้ำเชื่อมข้าวโพด’ ที่มีการวิจัยแล้วว่าให้สารอาหารและพลังงานที่ร่างกายต้องการ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะพักฟื้น ผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

รู้จัก HMB สารอาหารสำคัญของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ

ได้ทำความรู้จักกับ HMB กันไปพอสมควรแล้ว ในวัยที่เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี เริ่มต้นดูแลสุขภาพ ด้วยการเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ เสริมความเข้มแข็งให้กับภูมิคุ้มกันร่างกาย และเติมพลังงานอย่างเหมาะสม ด้วยอาหารที่ครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และเสริมด้วยอาหารสูตรครบถ้วนที่มี HMB ก็สามารถไปถึงเป้าหมายในการมีความสุข สุขภาพดี แบบไม่มีวันเกษียณได้แล้ว

รู้จัก HMB เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/EnsureThailand
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารสูตรครบถ้วนที่มี HMB คลิก https://bit.ly/3ozCY7X

[Advertorial]

*อ้างอิง

  1. Deutz NE. Clin Nutr. 2013
  2. Wilson J Int Soc Sports Nutr. 2013
  3. Wilson GJ, et al. 2008
  4. Nissen S et al. J Nutr. 2000
  5. Rathmacher JA et al. JPEN J Parenter Enteral Nutr . 2004
  6. Nissen SL, Abumrad NN. J Nutr Biochem. 1997
  7. Kuriyan R, et al. Exp Gerontol. 2016
  8. Nelke, Christopher et al. EBioMedicine. 2019
  9. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/download/3931/3897
  10. https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/september-2017/12-nutrition-for-elderly
  11. https://mbrace.bnhhospital.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5/
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook