เกาะติด 12 นโยบายจากเสียงประชาชน กับ “สัญญา” เพื่ออนาคตประเทศไทย

เกาะติด 12 นโยบายจากเสียงประชาชน กับ “สัญญา” เพื่ออนาคตประเทศไทย

เกาะติด 12 นโยบายจากเสียงประชาชน กับ “สัญญา” เพื่ออนาคตประเทศไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถือเป็นครั้งแรกที่ไทยพีบีเอส ร่วมกับภาคีเครือข่าย ปลุกพลังภาคประชาชนชวนทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศ นำเสนอ “นโยบาย” ที่อยากเห็น สู่ภาพอนาคตหลังการเลือกตั้งไปด้วยกัน

กว่าจะมาเป็น 12 นโยบายจาก 6 ประเด็นสำคัญ คือ การศึกษา, สาธารณสุข, รัฐและความมั่นคง, สิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจ และสังคม ไม่ใช่เรื่องง่าย ไทยพีบีเอสเปิดพื้นที่ให้ประชาชนจากหลากหลายภาคส่วนระดมความคิด สร้างสรรค์นโยบายสาธารณะ โดยเปิดเวทีรับฟังเสียงจากประชาชนใน 8 พื้นที่ทุกภูมิภาค ได้แก่ พัทยา อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ พิษณุโลก นครปฐม สงขลา และปัตตานี สร้างนวัตกรรมใหม่ที่ใช้กระบวนการ Policy Innovation และวิธีการแบบสตาร์ทอัพเป็นเครื่องมือในการทำงานผ่านกิจกรรม “Hack Thailand 2575: 48 ชั่วโมงพลิกโฉมประเทศไทย” โดยมีนักการเมือง ประชาชน คนรุ่นใหม่ ร่วมปฏิบัติ 9 ภารกิจ 48 ชั่วโมง เพื่อเฟ้นหานโยบาย พร้อมตอบโจทย์แก้ไขปัญหาประเทศ

12 นโยบาย พลิกโฉมประเทศไทย

ก่อนอื่นตั้งบอกก่อนว่า นโยบายเหล่านี้ ได้ถูกนำเสนอต่อพรรคการเมือง ได้แก่ พรรคชาติพัฒนากล้า, พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรคเพื่อชาติ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคเพื่อไทย, พรรคก้าวไกล และพรรคไทยสร้างไทย พิจารณาเพื่อนำไปร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่แต่ละพรรคให้ความสนใจกับนโยบายของภาคประชาชนและสัญญาว่าจะนำไปใช้เป็นนโยบายต่อไป

1. นโยบายรื้อระบบ เพื่อจบความรุนแรง

เสนอนโยบาย “รื้อระบบ เพื่อจบความรุนแรง” ให้ทำระบบบันทึกข้อมูลที่เป็นแบบฟอร์มกลางเพื่อการประสานส่งต่อข้ามหน่วยงาน เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลกลางทำงานประสานกันได้ รวมถึงมีนโยบายเชิงรุกจัดกิจกรรมเชิงรณรงค์สร้างสังคมที่ปลอดภัยและไร้ความรุนแรง แก้กฎหมายและยกประเด็นเรื่องความรุนแรงให้เป็นวาระแห่งชาติ

2. นโยบายโอกาสสีเขียว : พื้นที่สร้างสรรค์โอกาสของทุกคน

นำเสนอนโยบาย “opportunity Space พื้นที่สร้างสรรค์โอกาสของทุกคน” ชี้เป้าปัญหามาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ จำเป็นต้องเปลี่ยนอาคารร้าง ที่ไม่แบ่งปันของรัฐมาเป็นของประชาชนทุกคน โดยข้อเสนอที่จะช่วยเพิ่มโอกาสสร้างสุขภาพ สุขภาวะที่ดี เพิ่มมูลค่าทางเศรษกิจ และโอกาสที่ชุมชนร่วมออกแบบ โดยจะทำให้สำเร็จโดยมีระบบพื้นที่สีเขียวยั่งยืนด้วย 5 ฟันเฟือง 4 แรงขับเคลื่อน 3 กลไก



3.ปลดล็อกท้องถิ่นด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่เวทีโลก ด้วย “นโยบาย 4 เปิด”

เสนอ “นโยบาย 4 เปิด” คือ เปิดรับฟังเสียงของประชาชน ทำความเข้าใจประชาชนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เปิดช่องทางการค้าการลงทุน สนับสนุนสินค้าในชุมชน ลดภาษี กระตุ้นเศรษฐกิจ ระดมทุนแบบ Crowdfunding หรือ การระดมทุนจากประชาชนหมู่มาก เปิดตลาด และเปิดใจ เข้าถึงความแตกต่างของท้องถิ่น วัฒนธรรมที่ต่างกัน แก้กฎหมายปลดล็อคข้อจำกัด

4.นโยบายสถาบันบริหารจัดการการเงินภาคประชาชน

นโยบายสถาบันบริหารจัดการการเงินภาคประชาชน จะช่วยแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เพื่อแก้หนี้จนข้ามรุ่น จนดักดาน ด้วยการสร้างบิ๊กเครดิตเดต้า มีกฎหมายผลักดันส่งเสริมให้สินเชื่อที่รับผิดชอบให้เกิดขึ้นจริง มีแอปพลิเคชันหมอเงิน สร้างแหล่งเงินทุนให้เข้าถึงได้ มีหมอหนี้ส่วนตัว เจรจาไกล่เกลี่ย ให้คำปรึกษา สร้างแผนฟื้นฟูหนี้



5. นโยบายแฮกกองทุนประกันสังคม ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อประชาชนทุกคน

แนวทางที่นำลดความเหลื่อมล้ำเพื่อประชาชนทุกคนทางการรักษาพยาบาล คือ 1. แก้กฎหมายประกันสังคม ดึงสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลมาอยู่กับบัตรทอง ส่วนงบฯ สมทบอาจลดลง หรือเท่าเดิม ที่คงสิทธิประโยชน์ชดเชยการว่างงาน และบำนาญหลังเกษียณมากขึ้น 2. เกลี่ยงบประมาณส่วนอื่น ๆ มาใช้กับการลงทุนด้านสุขภาพ เช่น งดซื้อเรือดำน้ำ อาวุธ เก็บภาษีสุขภาพ เงินจากกองทุนสลากกินแบ่ง และภาษีเหล้า บุหรี่ เป็นต้น 3. ปรับ สิทธิประโยชน์ และการจ่ายให้เท่าเทียม และ 4. เชื่อมระบบเวชระเบียน ข้อมูลสุขภาพออนไลน์ข้ามสังกัด คลินิก/โรงพยาบาล

6. นโยบายสูงวัยใจสะออน Active Aging: Oldy Health Society

นโยบายด้านสาธารณสุขที่ให้ความสำคัญ 4 ด้าน คือ 1.เศรษฐกิจ – กองทุนการออมส่วนบุคคลสำหรับสูงวัย (Elderly Future Fund : EFF) มีรูปแบบการออมมาจากประชาชนใช้จ่าย 3% รัฐบาลสมทบ 3% เริ่มจ่าย 20 ปี ใช้ 60 ปี เป็นทุนส่วนตัวไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวและบริการทางสังคม 2.สุขภาพ OTODS (One Tambon One Day Service) 1 ตำบล 1 หน่วยบริการ โดยอาศัยระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เพิ่มศักยภาพเป็นผู้ดูแลก่อนป่วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุโดดเดี่ยว 3.สังคม PA (Personal Assistance) ผู้ช่วยผู้สูงอายุ จัดตั้งหน่วยจัดการผู้ช่วยผู้สูงอายุ เพื่อฝึกงาน หารายได้ให้กับผู้สูงอายุ และ4. สภาพแวดล้อม Aging in Place – ส่งเสริมสุขภาพดี ปลอดภัย อยู่ได้ด้วยตัวเอง ทั้งในบ้าน นอกบ้าน โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่



7. นโยบายพื้นที่ปลอดภัยเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ป้องกันปากท้อง สุขภาพ

ข้อเสนอนโยบายพื้นที่ปลอดภัยเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 แบ่งเป็นระยะสั้น กลาง ยาว ทั้งต้นทางและปลายทาง โดย “ต้นทาง” ระยะสั้น คือการจัดตั้งคณะทำงานการควบคุมตลอดทั้งปี เปลี่ยนพื้นที่เกษตรให้มีรายได้สูงขึ้น ผลักดันกฎหมายอากาศสะอาด ให้ผู้ก่อมลพิษชดเชยใช้งบประมาณมาสนับสนุนเพื่อลดการเผา และลดไฟป่าในพื้นที่ต้นแบบ เพื่อเป็นแนวทางในพื้นที่อื่นต่อ ระยะยาว คือการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ลดฝุ่นข้ามพรมแดน สร้างกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ แก้ไขที่ทำกิน จัดตั้งสถาบันไฟป่าสำหรับปลายทาง ระยะสั้น คือ ออกมาตรการประกาศพื้นที่ภัยพิบัติเร่งด่วน แก้ปัญหาสิทธิที่ดินทำกิน การอุดหนุนเงินให้ประชาชนซื้ออุปกรณ์อยู่ในห้องปลอดฝุ่น ระยะกลาง ลงทุนด้านสุขภาพ ตรวจสุขภาพ ให้ประชาชนเช็คสุขภาพปอด ระยะยาว กระตุ้นให้มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคบังคับ การเก็บภาษีการปล่อยมลพิษ ที่ก่อมลพิษสูง

8.นโยบาย Thailand Zero Waste

เสนอนโยบายผ่านแนวคิด 3 ประการ สร้างอาชีพ จ้างงาน ช่วยกันเก็บแยก ขายขยะ เอกชนร่วมรับผิดชอบเพื่อเปลี่ยนจากกำจัดเป็นการใช้ประโยชน์ ลดการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง ตั้งแต่กระบวนการผลิต ป้องกันการสร้างขยะที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นทาง เพิ่มการมีบทบาทของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่อยู่ในระบบหมุนเวียนจัดการขยะ ใครทิ้งขยะมากจ่ายมาก พร้อมกับให้ความรู้ความเข้าใจผลกระทบจากขยะ และส่งเสริมการนำขยะอินทรีย์ไปผลิตก๊าซธรรมชาติ ขณะเดียวกันให้รัฐกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติม บังคับไม่ใช้วัสดุฟุ่มเฟือย ส่งเสริมการใช้วัสดุรีไซเคิล ควบคู่กับการออกมาตรการจูงใจทางภาษี ลดภาษีให้ผู้ที่ออกแบบ ผู้ผลิตที่ยืดอายุการใช้งาน การใช้ซ้ำก่อนรีไซเคิล



9. นโยบายพลิกไทย คนไทย 2+ หลายภาษา

เสนอนโยบาย “พลิกไทย คนไทย 2+ หลายภาษา” โดยเปลี่ยนการนิยาม 3 ภาษา จากภาษาอังกฤษ ภาษาจีนเป็น ภาษาแรกคือภาษาแม่ ภาษาที่สองทุกคนควรมีสิทธินิยามเองว่าเขาต้องการให้ภาษาอะไรเป็นภาษาสากลางสำหรับเขา และภาษาที่สามคือภาษาที่เขาสามารถนำไปทำหากินได้ โดยการส่งเสริมสนับสนุนนโยบายให้เกิดขึ้นได้ ผ่านกลไก ต่าง ๆ เช่น ให้มีศูนย์การเรียนรู้ – Support Learning City , Lifelong learner ความร่วมมือกับภาคเอกชน – Volunteer for Language & Culture,
หลักสูตรตรงกับอาชีพ ปรับหลักสูตรให้ยืดหยุ่น – ยืดหยุ่น+ออกแบบร่วมกับท้องถิ่น, พหุภาษา (Nonnative) ครู – เพิ่มจำนวน เพิ่มองค์ความรู้ครู upskill ครู, เพิ่มผลตอบแทนครู ค่าตอบแทน วิทยฐานะพิเศษ คูปองภาษา – เพิ่มโอกาสเข้าถึงภาษาทุกวัย, เชื่อมต่อสถาบันการศึกษา เมือง ท้องถิ่น เทียบโอนหน่วยกิต – ครูดูแลเด็กทั่วถึง, เด็กมีเวลาค้นหาตนเองมากขึ้น ,วัยทำงาน Upskill ระบบประเมินตรงกับบริบท – ต้นทุนต่ำ มีความแม่นยำ, ดึงเทคนิคเข้ามาช่วย ศูนย์เด็กเล็ก/อนุบาล 2 ภาษา – ยืดหยุ่น ออกแบบร่วมกับท้องถิ่น, พหุภาษา (Nonnative)


10. นโยบายตั้งสภาติดปีกครูไทย ปรับระบบ เปลี่ยนโรงเรียน

ข้อเสนอนโยบาย “ตั้ง ปรับ และ เปลี่ยน” คือ ตั้งสภาติดปีกครูไทย หรือการตั้งองค์กรขึ้นมา ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับทางด้านนี้หรือแม้กระทั่งหน่วยงานที่ทำเรื่องการศึกษาอยู่แล้ว และดึงภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้องและให้องค์กรนี้ เป็นส่วนช่วยในการผลักดันนโยบายและผลักดันให้เกิดการกระจายไปสู่การจัดการระบบได้จริง ปรับระบบกระจายอำนาจสู่โรงเรียนจะต้องปรับเปลี่ยนบางอย่างเพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการออกแบบให้ตอบโจทย์ต่อสิ่งที่พื้นที่ต้องการอย่างแท้จริงเพื่อให้ครูเป็นครูอย่างแท้จริง และสุดท้าย เปลี่ยนโรงเรียน (School Transformation)ให้โรงเรียนมีอิสระสามารถคิดและสร้างกระบวนการและหลักสูตรของตัวเองได้ Collective Vision นำวิสัยทัศน์ของครู นักเรียน และผู้บริหาร มารวมกันเพื่อหาข้อสรุปที่เป็นกลางและเป็นประชาธิปไตย เพื่อให้เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่จะสามารถนำกระบวนการไปใช้ได้ นำวิสัยทัศน์ของครูนักเรียนและผู้บริหาร



11. นโยบายสภาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพแห่งชาติ

เสนอให้ตั้ง “สภาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพแห่งชาติ” เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ (เช่นเดียวกับ กสทช.) มีการยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่อง “สภาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพแห่งชาติ” ส่งคนเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว. ยกเลิก ทบทวน กฎหมายที่กีดกันและกดทับคนหลากหลาย และออกกฎหมายที่ส่งเสริมความหลากหลาย


12. นโยบายหยุดผลาญงบประมาณชาติ เปิดพรมเก็บกวาด ประชาชนมีส่วนร่วม (Transparency & efficiency)

เสนอใช้กลไกรัฐสภาในการอภิปรายว่าที่รัฐมนตรี ก่อนเข้ารับตำแหน่ง, ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง ระดับรองนายกฯ CIO/CDO/CTO, White Paper + checklist + Bookmark, เพิ่มทักษะ service mind /digital literacy ให้แก่ภาคประชาชน และบุคคลากรรัฐ, ปลูกฝังค่าสำนึก สร้างบทบาทประชาชน ส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดี, สร้างเครื่องมือ ประเมินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐให้เหมาะสม เปลี่ยนรัฐ 8/5 เป็น รัฐ 24/7 ปรับกระบวนการทำงานให้ทันสมัย โปร่งใส มีประสิทธิภาพ e-Governance, ขยายเวลาการให้บริการของภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน, มีช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่าน gov-touchpoint, สร้างบริการที่อำนวยความสะดวก รวดเร็ว ลดภาระค่าใช้จ่าย, มีการออกแบบบริการภาครัฐ UC/UI แห่งชาติ, ประชาชนสามารถ เสนอแนะ ร้องเรียน ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลได้ 

5 นโยบายที่อยากฟังคำตอบจากพรรคการเมืองมากที่สุด

ในเวทีไทยพีบีเอสดีเบตใหญ่ เลือกอนาคตประเทศไทย ประชันวิสัยทัศน์ 10 ตัวแทนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีการต่อยอดนำเสนอสิ่งที่ภาคประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคของไทยตั้งคำถามมาผ่านกระบวนการของไทยพีบีเอส จาก 8 เวทีในภูมิภาค และกระบวนการ Hack  Thailand  2575 ที่นำคนนับร้อยชีวิตมาใช้เวลาคิดและผ่านนวัตกรรมในการสร้างคำถามให้ตอบโจทย์ประชาชนได้ในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงเป็นที่มาของ 5 คำถามที่อาจจะเรียกว่าเป็น Top  5 จาก 12 + 1 สิ่งที่ภาคประชาชนอยากจะได้ฟังคำตอบจากพรรคการเมืองมากที่สุด คือ
1.นโยบายปราบคอร์รัปชันในระบบรัฐ
2. นโยบายสวัสดิการสุขภาพถ้วนหน้าและเท่าเทียม
3. นโยบายสิ่งแวดล้อม อากาศสะอาดที่ยั่งยืน
4.นโยบายแก้หนี้ แก้จน
5.นโยบายเพื่อคนสูงวัย เกิดดี อยู่ดี แก่ดี

ทั้งนี้ สามารถติดตามชมการแสดงวิสัยทัศน์ทั้ง 10 พรรคการเมืองบนเวที “ไทยพีบีเอส ดีเบตใหญ่ เลือกตั้ง 66 เลือกอนาคตประเทศไทย” หรือ รับชมย้อนหลังผ่านทาง www.thaipbs.or.th/Election66

 

ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ไทยพีบีเอส ชวนประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และชวนเกาะติดรายงานผลคะแนนแบบ Real-Time โดยทีมข่าวและนักข่าวพลเมืองกว่า 500 คนทั่วประเทศ กับรายการพิเศษ “เกาะติดเลือกตั้ง 66 เลือกอนาคตประเทศไทย” ที่มีคุณสุทธิชัย หยุ่น ร่วมดำเนินรายการ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3 หรือชมสดผ่านเว็บไซต์ www.thaipbs.or.th/live และทุกช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ www.thaipbs.or.th/Election66 โซเชียลมีเดีย Thai PBS : Facebook, YouTube, Instagram, TikTok, และ LINE @ThaiPBS

[Advertorial] 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook