เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 เผยขั้นตอนใช้สิทธิ ต้องทำอะไรบ้าง
การเลือกตั้งล่วงหน้าทั้งนอกเขตและในเขตของตัวเองในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. นี้ ที่จริงแล้วขั้นตอนการใช้สิทธิแทบไม่ต่างจากการเลือกตั้งทั่วไป แต่อาจมีบางจุดที่แตกต่างอยู่บ้าง
ขั้นตอนการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า
- ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง
ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า สามารถตรวจสอบว่าจะต้องไปใช้สิทธิที่ไหน กาผู้สมัครเขตไหน และรายชื่อของเราอยู่ในลำดับใด เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการใช้สิทธิได้จากเว็บไซต์ของสำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ที่นี่ https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/ หรือไปดูที่หน้าหน่วยเลือกตั้งที่ลงทะเบียนเอาไว้ก็ได้Brent Lewin/Getty Images - แยกไปตามป้ายจังหวัดตัวเอง
ในหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าจะติดป้ายแยกจังหวัดเอาไว้ และเข้าแถวเพื่อรอใช้สิทธิ - ยื่นหลักฐานแสดงตน
เมื่อเดินแยกไปตามจังหวัดและรอคิวเสร็จแล้ว ก็จะมาถึงโต๊ะเจ้าหน้าที่ประจำหน่วย เราสามารถแสดงหลักฐานยืนยันตัวเองได้เลย ซึ่งหลักฐานแสดงตน ก็คือ บัตรประชาชน นั่นเอง ส่วนกรณีที่ไม่มีบัตรประชาชน สามารถใช้ใบขับขี่หรือพาสปอร์ตแทนได้ - รับบัตรเลือกตั้งและซองใส่บัตร
ต่อมา เจ้าหน้าที่จะมอบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรแบบแบ่งเขต (สีม่วง) และบัตรแบบบัญชีรายชื่อ (สีเขียว) มาให้ พร้อมกับซองใส่บัตรเลือกตั้ง สำหรับจำแนกและขนส่งบัตรเลือกตั้งของเราไปนับยังเขตเลือกตั้งตามภูมิลำเนา - เข้าคูหาไปกากบาท
เมื่อได้บัตรเลือกตั้งและซองมาแล้ว ผู้ใช้สิทธิจะต้องเดินเข้าไปกาบัตรในคูหา อย่าลืม! บัตรสีม่วงจะต้องกาเบอร์ผู้สมัครตามภูมิลำเนา ไม่ใช่เบอร์ในเขตที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า - พับบัตรใส่ซอง
เมื่อกากบาทในช่องทำเครื่องหมายแล้ว ก็นำบัตรพับตามรอยประทีละใบ แล้วใส่ซองทั้ง 2 ใบ แล้วปิดผนึกซอง - นำไปให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งลงชื่อบนซอง
บนซองใส่บัตรเลือกตั้งจะมีพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งลงชื่อกำกับตรงรอยต่อที่ปิดผนึก ก็เพียงนำไปให้เจ้าหน้าที่ลงชื่อ จากนั้นก็จะใช้เทปใสปิดทับ - หย่อนบัตร
หลังจากเจ้าหน้าที่ลงชื่อแล้ว ก็จะมอบคืนให้เรา แล้วเราก็เดินไปหย่อนบัตรลงในหีบหรือกล่องRufus Cox/Getty Images