นฤมิตไพรด์พร้อมเนรมิตถนนสีรุ้ง จัด “บางกอกไพรด์ 2023” เพื่อชาว LGBTQIAN+

นฤมิตไพรด์พร้อมเนรมิตถนนสีรุ้ง จัด “บางกอกไพรด์ 2023” เพื่อชาว LGBTQIAN+

นฤมิตไพรด์พร้อมเนรมิตถนนสีรุ้ง จัด “บางกอกไพรด์ 2023” เพื่อชาว LGBTQIAN+
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จาก “บางกอกนฤมิต ไพรด์ 2022” งานไพรด์พาเหรดเต็มรูปแบบที่เปลี่ยนถนนสีลมให้กลายเป็นถนนสีรุ้งสุดยิ่งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว นำมาสู่ “บางกอกไพรด์ 2023” งานเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศแห่งปี ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ ที่ 4 มิถุนายน 2566 นี้ ณ ใจกลางเมืองหลวง พร้อมด้วยขบวนพาเหรดสุดสร้างสรรค์ เพื่อขับเคลื่อนสิทธิความเท่าเทียมให้กับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ภายใต้แนวคิด “BEYOND GENDER”  

วาดดาว - ชุมาพร แต่งเกลี้ยง ประธานและผู้ก่อตั้งบริษัท นฤมิตไพรด์ จำกัด ได้กล่าวในวันแถลงข่าวเปิดตัวงานบางกอกไพรด์ 2023 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา ระบุว่า บางกอกไพรด์ 2023 จะเป็นพื้นที่ให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ได้แสดงออก เรียกร้องสิทธิด้านต่าง ๆ ที่ควรได้รับ พร้อมโชว์ศักยภาพ ความสามารถ และความเข้มแข็งให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาสังคมไทยและสังคมโลก 

วาดดาว - ชุมาพร แต่งเกลี้ยงวาดดาว - ชุมาพร แต่งเกลี้ยง

“งานนี้จะเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ในการกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศ การจัดงานบางกอกไพรด์ในปีนี้ เราตั้งเป้าหมายในการเข้าร่วมเป็นเครือข่าย Rainbow Cities Network เพื่อพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกเพศ และคว้าโอกาสสำคัญในการพากรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพการจัดงาน World Pride ในปี 2028” วาดดาวกล่าว 

ด้านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ได้เผยว่า กรุงเทพฯ พร้อมสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยทางกรุงเทพฯ จะร่วมมือกับทีมผู้จัดงานบางกอกไพรด์เพื่ออำนวยความสะดวก และส่งเสริมการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตลอดทั้งเดือนมิถุนายน 

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

สำหรับกิจกรรมภายในงานบางกอกไพรด์ 2023 ในปีนี้ จะมีการนำ “ยานแม่” มาลงจอด เพื่อให้ชาวสีรุ้งได้ตื่นตาตื่นใจ ด้วยกิจกรรมบนเวทีฉลองความหลากหลายทางเพศ (Pride Stage) บริเวณหน้าลานเซ็นทรัลเวิลด์ และการเดินขบวนพาเหรดสุดสร้างสรรค์ 6 ขบวน 6 สี จากแนวคิด “สุขภาวะของผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+ well-being)” เนื่องจากการมีสุขภาวะที่ดีเป็นสิ่งสำคัญต่อคุณภาพชีวิต โดยจะมีหลายภาคส่วนเข้าร่วมงาน และเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมขบวนได้สื่อสาร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับคุณภาพชีวิตของ LGBTQIAN+ ในไทยให้ดีขึ้น พร้อมนำแนวเพลงต่าง ๆ มาสร้างสรรค์กับขบวนพาเหรด ประกอบด้วย

  • ขบวนที่ 1 Community (ชุมชน) ขบวนสีม่วง ที่จะบอกเล่าถึง Beyond Gender Binary นำเสนอความต้องการด้านสิทธิการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ ที่รวมไปถึงกลุ่ม Intersex Trans และ Non-binary ของชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โดยจะใช้เพลงป๊อปเข้ามาสร้างสีสันในขบวน 
  • ขบวนที่ 2 Purpose (เจตน์จำนง) ขบวนสีน้ำเงิน ที่นำแนวเพลงฮิปฮอป แร็ป มาร่วมสร้างสรรค์และบอกเล่าถึงประเด็น My Body My Choice เพื่อรณรงค์ให้ยกเลิก พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี เพื่อคืนสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพให้กับพนักงานบริการและ Sex creator รวมถึงสนับสนุนเซ็กส์ทอย (sexual wellness product) ให้ถูกกฎหมาย สนับสนุนการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาและการยินยอมพร้อมใจ (consent) ในโรงเรียน พร้อมรณรงค์เรื่องสิทธิในเนื้อตัวร่างกายเพื่อยุติวัฒนธรรมการข่มขืนและความรุนแรงในครอบครัว 
  • ขบวนที่ 3 Relationship (ความสัมพันธ์) ขบวนสีเขียว ที่ได้เพลงหมอลำมาเพิ่มสีสัน เพื่อบอกเล่าเรื่อง Chosen Family โดยรณรงค์ให้สังคมเปิดกว้างและยอมรับความหลากหลายของความสัมพันธ์และครอบครัว เพื่อนำไปสู่การรับรองสิทธิการก่อตั้งครอบครัวในกฎหมายสมรสเท่าเทียมและรัฐธรรมนูญ 
  • ขบวนที่ 4 Environment (สิ่งแวดล้อม) ขบวนสีเหลือง บอกเล่าเรื่อง Peace and Earth เพื่อรณรงค์ปกป้องและคุ้มครองสิทธิของโลกและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่ออนาคตที่เท่าเทียมและเป็นธรรมสำหรับทุกคน ทุกเพศ โดยนำเพลงแนวแจ๊สและบลูส์มาร่วมสร้างสีสันให้กับขบวนพาเหรด 
  • ขบวนที่ 5 Health (สุภาพ) ขบวนสีแสด ที่จะสะท้อนเรื่องการเข้าถึงสิทธิทางการแพทย์อย่างเท่าเทียม (Equal Rights to Health) โดยรณรงค์เรื่องสิทธิในการเข้าถึงการบริการทางแพทย์สำหรับทุกคน และสวัสดิการการยืนยันเพศ (gender-affirming care) สำหรับบุคคลข้ามเพศ ซึ่งจะนำเสนอผ่านแนวเพลงเคป๊อป เจป๊อป และทีป๊อป 
  • ขบวนที่ 6 Security (ความปลอดภัย) ขบวนสีแดง ที่มาพร้อมแนวเพลงร็อก พร้อมจะบอกเล่าถึง I’m Home ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของขบวน เพื่อยืนยันสิทธิในการมีความปลอดภัยในชีวิตของ LGBTQIAN+ ผ่านการสนับสนุนและอำนวยความสงบปลอดภัยจากทุกภาคส่วน รวมถึงเสรีภาพในการแสวงหาความสงบสุขทางจิตวิญญาณของแต่ละบุคคล และรณรงค์ให้มีการเปิดกว้างทางศาสนาสำหรับทุกเพศ

สำหรับพันธมิตรและภาคีเครือข่ายที่จะมาร่วมจัดงานบางกอกไพรด์ 2023 ในครั้งนี้ ประกอบด้วยองค์กรที่มีการขับเคลื่อน หรือมีแนวทางในการสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของพนักงาน LGBTQIAN+ หรือมีเป้าหมายในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศ​ อาทิ วอลล์ คอร์นเนตโต, ลีวาย (Levi’s), นูด แคปซูล (Nude Capsule), ทริงเก็ต (Trinket), คลีเน็กซ์ (Kleenex) และกูเกิล (Google) มาร่วมสร้างพื้นที่แห่งความสร้างสรรค์ในปีนี้ 

“งานบางกอกไพรด์มีเป้าหมายในการผลักดันให้ไทยจัดงานระดับโลก World Pride ในปี 2028 เพื่อเป็นจุดหมายปลายทางของ LGBTQIAN+ จากทั่วโลก เพราะเชื่อมั่นว่าชุมชนผู้มีความหลากหลายในประเทศไทยมีศักยภาพในการจัดงานระดับโลก โดยเป้าหมายในการจัดงานไม่เพียงเป็นการเฉลิมฉลอง แต่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ให้สามารถฉลองความไพรด์ได้ตลอดทั้งปี และหากทำบางกอกไพรด์ได้สำเร็จ จะถือว่าเป็นประเทศแรกในเอเชีย และเป็นการเปิดประตูสู่ความหลากหลายทางเพศให้กับประเทศเพื่อบ้านในภูมิภาคนี้” วาดดาวชี้ 

ภาพปรากฎการณ์ผู้เข้าร่วมพาเหรดมากกว่า 25,000 คน บนถนนสีรุ้ง ได้สร้างปรากฏการณ์ความสำเร็จที่ถูกพูดถึงและได้รับการพูดถึงมากกว่า 300 ล้านครั้งในทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ จะกลับมาอีกครั้ง เตรียมพบกับไฮไลท์ธงสีรุ้ง สัญลักษณ์ของความหลากหลายทางเพศ ความยาว 144.8 เมตร ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีความหมายจากการเรียกร้องเพื่อต้องการให้เกิดการแก้ไขกฎหมายมาตรา 1448 สมรสเท่าเทียม นับว่าเป็นธงสีรุ้งที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โดยจะโบกสะบัดใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมส่งต่อการจัดงานไพรด์ทั่วประเทศไทยอีกมากกว่า 22 ครั้ง ใน 12 จังหวัด 

มาพบกับประสบการณ์การเดินพาเหรดที่สนุกสนาน เป็นมิตรกับทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงให้ความใส่ใจกับสำหรับผู้พิการ ในงานบางกอกไพรด์ 2023 ในวันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน 2566 ตั้งแต่เวลา 14.00 - 20.00 น. โดยขบวนพาเหรดจะเริ่มตั้งแต่บริเวณแยกปทุมวัน ถนนพระราม 1 ฝั่งสยามพิวรรธน์ จนถึงแยกราชประสงค์ บริเวณลานเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมธงสีรุ้งที่โบกสะพัดเพื่อประกาศถึงความเท่าเทียมของผู้มีความหลากหลายทางเพศ และไฮไลท์กิจกรรมงานตลอดเส้นทาง! 

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ ของ นฤมิตไพรด์พร้อมเนรมิตถนนสีรุ้ง จัด “บางกอกไพรด์ 2023” เพื่อชาว LGBTQIAN+

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook