หมอแล็บฯ เผยแชตเศร้า คนทักหา "อยากขายไต" เตือนผิดกฎหมาย บริจาคได้ 2 กรณี

หมอแล็บฯ เผยแชตเศร้า คนทักหา "อยากขายไต" เตือนผิดกฎหมาย บริจาคได้ 2 กรณี

หมอแล็บฯ เผยแชตเศร้า คนทักหา "อยากขายไต" เตือนผิดกฎหมาย บริจาคได้ 2 กรณี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หมอแล็บฯ เผยแชตเศร้า ลูกเพจหลายคนทักหา "อยากขายไต" เตือนผิดกฎหมาย อนุญาตบริจาคแค่ 2 กรณี

เพจ “หมอแล็บแพนด้า” ออกมาเผยเรื่องราวน่าเศร้าใจ หลังลูกเพจหลายคนส่งข้อความต้องการขายไต โดยให้เพื่อหวังได้เงินมาสร้างชีวิตใหม่ ซึ่งหลายคนไม่ทราบว่าการขายอวัยวะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย 

“เอาอีกแล้ว ช่วงนี้มีแต่คนทักมาในอินบ๊อกซ์ อยากขายไต การขายไต ถือว่ามีความผิดทางกฎหมายนะครับ ประเทศไทยห้ามมีการซื้อขายอวัยวะ และแพทย์ที่เปลี่ยนไตจากการซื้อขาย ก็มีความผิดด้วย ต้องถูกถอดถอนใบประกอบวิชาชีพ

การขายไต หรืออวัยวะ เป็นเรื่องผิดกฎหมายในทุกประเทศ ยกเว้นอิหร่าน แต่ถ้าบริจาคไต สามารถทำได้ คือ

1. ตอนที่มีชีวิตอยู่ ญาติสามารถให้ญาติได้ หรือคู่ที่จดทะเบียนสมรสก็สามารถให้ไตกันได้

2. ให้ตอนสมองตาย คนที่สมองตายทางการแพทย์ถือว่าเป็นผู้เสียชีวิตแล้ว โดยความยินยอมจากญาติและตัวผู้บริจาคเอง

ดังนั้นใครที่คิดจะขายหรือซื้อไต มันไม่ได้ครับ แถมผิดกฎหมายด้วย ผมขอเป็นกำลังใจให้แฟนเพจที่ขัดสนเรื่องเงินทุกคน สามารถฝ่าวิกฤตการเงินในครอบครัวไปได้ด้วยดีครับ ลองมองหลายๆช่องทาง เผื่อจะมีรายได้เสริมเข้ากระเป๋า เป็นกำลังใจให้”

ข้อมูลจาก ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ระบุว่า โรงพยาบาลที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตต้องได้รับการรับรองจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย 

แพทย์จะทำการตรวจสุขภาพผู้บริจาคไตเพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริจาคไตมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ โดยเมื่อบริจาคไตแล้วไตอีกข้างที่มีอยู่สามารถทำงานทดแทนไตที่บริจาคได้ อนึ่งผู้บริจาคอวัยวะจะต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ และไม่ควรมีอายุมากกว่า 60 ปี

ไตที่จะปลูกถ่ายได้มาจากไหนบ้าง

1.จากผู้บริจาคสมองตาย ซึ่งในทางกฎหมายและทางการแพทย์ถือว่าเป็นผู้เสียชีวิตแล้ว แต่ไตยังทำงานได้ดี โดยต้องได้รับความยินยอมจากญาติสนิท โดยผ่านการบริจาคให้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยเป็นผู้จัดสรรให้กับผู้รอรับไตอย่างเป็นธรรม

2.จากผู้บริจาคมีชีวิต ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุตามกฎหมาย ผู้บริจาคไตต้องเป็นญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือเป็นสามีภรรยาที่แต่งงาน หรืออยู่ด้วยกันมากกว่า 3 ปี ยกเว้นมีบุตรด้วยกันก็ไม่จำเป็นต้องรอจนครบ 3 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook