ลูกชาย 3 ขวบ ชอบเอาหัวโขกพื้นซ้ำๆ แม่พาไปหาหมอ เพิ่งรู้สาเหตุละเอียดอ่อนกว่าที่คิด
การเลี้ยงลูกเป็นการเดินทางที่ยาวนานที่แม่ทุกคนต้องผ่าน นอกจากความสุขที่ได้เห็นลูกเติบโตแล้ว ความกังวลเมื่อลูกไม่สบายก็มีอยู่เสมอ แค่พฤติกรรมผิดปกติหรืออิริยาบถเล็กๆ น้อยๆ ของลูก แม่ก็ไม่ควรเพิกเฉยต้องดูแลใกล้ชิด และพาไปตรวจรักษาหากจำเป็น
ดังเช่นเรื่องราวของคุณแม่วัย 36 ปี ที่อาศัยอยู่ในเมืองหนานหนิง ประเทศจีน มีลูกชายอายุ 3 ขวบ เป็นเด็กที่ไม่ค่อยอยู่นิ่งๆ มักวิ่งและกระโดดอย่างซุกซน จึงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด และเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้เห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติบางอย่าง ลูกชายมักจะเอาหัวโขกผนัง, พื้น หรือหมอนซ้ำๆ เมื่อตื่นเต้นหรือไม่พอใจกับบางสิ่ง
ไม่เพียงแค่กับคนเป็นแม่เท่านั้น แต่เมื่ออยู่กับพ่อ หรือปู่ย่าตายาย ลูกชายก็ทำเช่นเดียวกัน และทุกครั้งเด็กชายมักจะมองด้วยสายตาที่คาดหวังอะไรบางอย่าง ขณะที่ผู้ใหญ่ต่างกลัวว่าเขาจะได้รับบาดเจ็บ จึงรีบเข้าไปห้ามโดยกอดแน่นๆ และใช้มือเบาๆ ที่หน้าผากของเขา
ยิ่งไปกว่านั้น ดูเหมือนเด็กชายจะสนใจพฤติกรรมเอาหัวโขกมากๆ เพราะทุกครั้งที่แม่หรือคนครอบครัววิ่งเข้ามาห้าม เขาแสดงอาการตื่นเต้น แต่เมื่อถามว่าทำไมหนูถึงทำแบบนั้น เขาจะเพียงแค่ส่ายหัวเงียบๆ และไม่ยอมพูดอะไรสักคำ
ผู้เป็นแม่เริ่มเครียด แม้จะเฝ้าจับตามองและป้องกันหลายครั้ง แต่ลูกชายก็ยังไม่เลิกการกระทำแปลกๆ เธอเริ่มกลัวว่าจะมีปัญหาทางระบบประสาท ดังนั้นจึงตัดสินใจพาเขาไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ และได้รับคำตอบที่น่าประหลาดใจจากแพทย์
สาเหตุที่ทำให้เด็กจงใจเอาศีรษะโขกผนัง พื้น หรือเตียง
แพทย์ที่ทำการตรวจกล่าวว่า การที่เด็กเอาหัวไปชนกับวัตถุแข็งเป็นปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อย ด้วยเหตุผลหลายประการ อาจเป็นเพราะเด็กไม่ระวัง หรือตั้งใจทำเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ปกครอง เด็กอายุน้อยหลายคนมีพฤติกรรมเช่นนี้เพราะพวกเขาไม่มีทักษะพื้นฐานในการสื่อสาร ต้องการได้รับความสนใจจากพ่อแม่แต่ไม่รู้วิธีแสดงออก
เด็กเลือกที่จะทำเช่นนั้นเพื่อปลดปล่อยอารมณ์ของพวกเขา เมื่อเด็กมีความสุขเขาสามารถแสดงออกถึงความสุขได้ แต่บางครั้งอารมณ์ทางบวกหรือทางลบก็มีอิทธิพลต่อจิตใจของเด็กอย่างมาก สามารถทำให้อารมณ์ของเด็กสวิงอย่างรุนแรง และไม่สามารถระบายอารมณ์นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาอันสั้น อาจทำให้ภาวะอารมณ์ตึงเครียดก่อตัวขึ้น และเด็กจะคลายความกดดันทางอารมณ์ด้วยการเอาหัวโขก
นอกจากนี้หากร่างกายของเด็กมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ เด็กก็แสดงออกในลักษณะนี้เช่นนั้น ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กรู้สึกปวดหัว ก็อาจจะโขกหัวลงบนพื้น หรือเมื่อรู้สึกไม่สบายที่แขนขา ก็จะทุบตีแขนขาลงบนพื้น เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น
คุณหมอยังเสริมอีกว่า นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้ว เด็กๆ ยังสามารถแสดงพฤติกรรมแบบนั้นได้เพราะมีพลังงานมากในช่วงพัฒนาการ ถ้าเด็กๆ สามารถใช้พลังงานผ่านการเล่น การเรียนรู้ ฯลฯ อาการใช้หัวโขกหรือใช้มือทุบจะไม่เกิดขึ้นอีก
อย่างไรก็ดี พฤติกรรมนี้เมื่อเกิดจากความผิดปกติทางจิตวิทยา จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในภายหลังอย่างมาก เด็กที่มีการจัดการอารมณ์ส่วนบุคคลไม่ดี พวกเขามักจะหงุดหงิด โมโหง่าย เอาแต่ใจ หรือโยนความผิดให้คนอื่น ที่แย่กว่านั้น เมื่ออารมณ์ด้านลบสะสมมากและไม่ได้รับการปลดปล่อย นำไปสู่ความกดดันทางจิตวิทยาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกซึมเศร้า ไม่มั่นคง นำไปสู่พฤติกรรมสุดโต่งบางอย่าง
พ่อแม่จะช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะการจัดการอารมณ์ได้อย่างไร?
ความสามารถในการจัดการอารมณ์ของเด็กสามารถระบุได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อชีวิตทั้งชีวิตของเขา ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องเอาใจใส่และฝึกทักษะในการจัดการกับอารมณ์ของลูก การเลี้ยงลูกต้องมีวินัยในตัวเอง พ่อแม่คือกระจกเงา เพราะลูกจะเรียนรู้และเลียนแบบอุปนิสัยและวินัยจากพ่อแม่ หากพ่อแม่ตามใจอารมณ์ของลูกมากเกินไป จะส่งผลต่อนิสัยและบุคลิกภาพของลูกไม่มากก็น้อย
พ่อแม่ควรช่วยให้ลูกรู้จักและเข้าใจอารมณ์ ต้องสอนพวกเขาว่าอะไรถูกหรือผิด เพื่อชี้แนะพวกเขาให้หาวิธีที่เหมาะสมกว่าในการปลดปล่อยอารมณ์ของตนเอง รวมถึงวิธีระงับความโกรธ หรือวิธีลดความโกรธ เป็นต้น