สสส. เชิญชวน เยาวชนคนรุ่นใหม่ ส่งไอเดียและผลงาน “นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ”
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมุ่งแก้ไขต้นแหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนไทย และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่หลากหลาย ทั้งสิ่งประดิษฐ์ กระบวนการ บริการ ที่สร้างคุณค่า สามารถช่วยแก้ปัญหาสุขภาพและช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะอย่างยั่งยืน
การประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation 2023 เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานด้านนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ เยาวชน ประชาชนทั่วไป กลุ่มธุรกิจ Startup และภาคี สสส. ที่สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อค้นหานวัตกร ได้แก่ เยาวชน ประชาชนทั่วไป และภาคี สสส. ที่สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถต่อยอด และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
- เพื่อบ่มเพาะและเพิ่มทักษะความรู้ ความสามารถของผู้เข้าร่วมประกวดด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม และเพิ่มความเข้าใจในการต่อยอดผลงานให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง
- เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพในการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สามารถนำไปดำเนินการได้จริง และมีแนวทางการต่อยอดขยายผล
ประเภทการประกวด
แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่
- ประเภทที่ 1: มัธยมศึกษาตอนปลาย
- ประเภทที่ 2: อาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)
- ประเภทที่ 3: ประชาชนทั่วไป และกลุ่ม Startup
- ประเภทที่ 4: ภาคีเครือข่าย สสส.
ประเภทที่ 1 มัธยมศึกษาตอนปลาย และกลุ่มที่ 2 อาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)
โจทย์การประกวด
“นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยง หรือส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย”
หัวข้อย่อย (เลือกทำเพียง 1 ข้อ)
- ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่
- ลดอุบัติเหตุและสร้างเสริมความปลอดภัยทางถนน
- เพิ่มการบริโภคผักผลไม้ และอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
- เพิ่มกิจกรรมทางกาย หรือ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
- สร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะทางเพศ
- การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
- สร้างเสริมสุขภาพจิต และจัดการอารมณ์และความเครียด
คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
- เป็นทีมจากสถาบันการศึกษาเดียวกัน ทีมละ 3 คน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำทีม 1 คน
- ไอเดียที่ส่งเข้าร่วมประกวดต้องสามารถพัฒนาและทดสอบเบื้องต้นได้จริง
- สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ
*ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จะได้รับเกียรติบัตรและงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาผลงานทีมละไม่เกิน 10,000 บาท
ประเภทที่ 3 ประชาชนทั่วไป และกลุ่ม Startup
โจทย์การประกวด
เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับกลุ่มผู้ขาดโอกาสการเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ แรงงานนอกระบบ เป็นต้น
กลุ่มการประกวด
- กลุ่มไอเดียนวัตกรรม : แนวคิดที่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นจริง พัฒนาเป็นต้นแบบเพื่อนำไปทดสอบ หรือ ทดลอง (Proof of Concept) ได้
- กลุ่มต้นแบบนวัตกรรม (Startup) : มีต้นแบบของผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการ หรือบริการ ที่มีการใช้จริง หรือออกสู่ตลาดแล้วไม่เกิน 3 ปี และต้องการพัฒนา ต่อยอด และขยายผลการใช้งาน
คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
- เปิดรับสมัครเป็นทีม ทีมละไม่ต่ำกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน
- หากเป็นกลุ่ม Startup ต้องอยู่ในระยะก่อตั้งธุรกิจหรือจัดตั้งบริษัทจำกัดแล้ว ไม่เกิน 3 ปี
- สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ
- ผลงานที่จะส่งเข้าประกวด ต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส.
* ทีมที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาผลงาน
ประเภทที่ 4 ภาคีเครือข่าย สสส.
กลุ่มการประกวด
- นวัตกรรมผลิตภัณฑ์
- นวัตกรรมกระบวนการ
- นวัตกรรมพื้นที่ต้นแบบ
- นวัตกรรมเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล
คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
- ผู้รับทุน ที่เป็นโครงการหลัก หรือรับทุนโครงการย่อย ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป
- ผู้รับทุนโครงการย่อย ต้องมีชื่อผู้รับผิดชอบโครงการเป็นบุคคลอ้างอิง
- โครงการที่ปิดโครงการแล้ว ผลงานที่ส่งยังคงต้องดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง
- สามารถจัดทำคลิปนำเสนอผลงานความยาว 3 – 5 นาที ประกอบด้วย ชื่อผลงาน กลุ่มเป้าหมาย จุดเด่นของผลงาน และผลสำเร็จจากการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ โดยต้องเป็นคลิปที่ทำขึ้นมาใหม่เท่านั้น
วิธีการสมัคร
- เตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนที่จะกรอกข้อมูลการสมัครและแนบไฟล์หลักฐานประกอบในระบบรับสมัคร ดังนี้
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4 – 6) และระดับอาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)http://inno.thaihealth.or.th/inno2023/student/
- ระดับบุคคลทั่วไป และ Startup http://inno.thaihealth.or.th/inno2023/public/
- ระดับภาคีเครือข่าย สสส. http://inno.thaihealth.or.th/inno2023/partner/
- เอกสารแนบ(ถ้ามี) ให้ตั้งชื่อไฟล์เอกสารเป็น ชื่อทีม_ชื่อผลงาน_XXX เช่น เช่น ชื่อทีม_ชื่อผลงาน_ภาพประกอบ, ชื่อทีม_ชื่อผลงาน_ Flowchart, ชื่อทีม_ชื่อผลงาน_ Pitch Deck, ชื่อทีม_ชื่อผลงาน_ แผนการต่อยอดโครงการ เป็นต้น
- รายละเอียดเอกสารแนบที่เป็นเอกสารกำหนดรูปแบบ .doc หรือ .docx หรือ .pdf
- กลุ่มภาคีเครือข่าย สสส. คลิปนำเสนอผลงาน กำหนดให้อยู่ในรูปแบบ .mp4 ขนาดไม่เกิน 500 MB
กติกาการประกวด
- ผู้เข้าร่วมทุกประเภทส่งผลงานเข้าประกวดได้เพียง 1 ผลงานเท่านั้น และต้องเป็นผลงานที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการประกวดในโครงการอื่น หรือขอรับการสนับสนุนทุนจากหน่วยงานอื่น
- ผลงานที่ส่งประกวดต้องเป็นผลงานที่คิดค้น พัฒนาด้วยตนเอง หรือต่อยอดจากงานเดิมที่มีอยู่ โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากผู้อื่น ขอสงวนสิทธิ์เรียกคืนรางวัลทั้งหมด หากตรวจพบภายหลังว่าผลงานที่ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลนั้นเป็นผลงานของผู้อื่น
- ผลงานที่ส่งประกวดต้องไม่เป็นผลงานที่ได้รับรางวัลระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ
- ห้ามนำผลงานหรือแนวคิดส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดของบุคคลอื่น หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาส่งเข้าประกวด มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์จากการประกวดทันที ผู้จัดการประกวดฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นในกรณีที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หากผลงานที่ได้รับรางวัลเมื่อเผยแพร่แล้วมีบุคคลอื่นโต้แย้งทรัพย์สินทางปัญญาในผลงาน
- ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องรับผิดชอบต่อทรัพย์สินทางปัญญาของข้อมูล ได้แก่ เนื้อหา ภาพ เสียง คลิปวิดีโอ ซอฟต์แวร์ หรืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตผลงานโดยต้องไม่ละเมิดกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา และมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
- สิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงานเป็นของผู้เข้าประกวดทั้งหมด โดย สสส. ขอสำเนาข้อมูลและสิทธิ์เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ทั้งระหว่าง และหลังสิ้นสุดโครงการฯ
*ผู้จัดการประกวดฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ ของการประกวดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
วิธีการคัดเลือกและตัดสินการประกวด
- ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย และประเภทอาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)
รอบที่ 1: การคัดเลือกจากข้อมูลตามใบสมัครและเอกสารประกอบ (Application Selection)
สสส. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครจากข้อเสนอโครงการและเอกสารประกอบ โดยคัดเลือกให้เหลือประเภทละ 15 - 20 ทีม
รอบที่ 2: การคัดเลือกในรูปแบบ Pitching ครั้งที่ 1
ทีมผู้สมัครจะต้องนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่อหน้าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบ Onsite โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงการนำเสนอ 5 นาที และช่วงการตอบข้อซักถาม 5 นาที เพื่อทำการคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้ารอบ ระดับละ 8 - 10 ทีม
ทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบ จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ โดยหลังจากสิ้นสุดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ แต่ละทีมจะได้รับงบประมาณในการพัฒนาผลงาน จำนวนทีมละ 10,000 บาท
รอบสุดท้าย: การตัดสินการประกวดในรูปแบบ Pitching ครั้งที่ 2
ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้ง 2 ประเภท นำเสนอผลงานที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาพร้อมบรรยายแนวคิด วิธีดำเนินการต่อคณะกรรมการ โดยนำเสนอ 5 นาที คณะกรรมการ ถาม-ตอบ 5 นาที เพื่อตัดสินหาทีมที่ชนะในประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทอาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)
- ประเภทประชาชนทั่วไป
รอบที่ 1: การคัดเลือกจากข้อมูลจากใบสมัครและเอกสารประกอบ (Application Selection)
สสส. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครจากข้อเสนอโครงการและเอกสารประกอบ แบ่งออกเป็น
1) กลุ่มไอเดียนวัตกรรม จำนวนประมาณ 30 ทีม
2) กลุ่มต้นแบบนวัตกรรม จำนวนประมาณ 30 ทีม
รอบที่ 2: การคัดเลือกจากการนำเสนอในรูปแบบ Pitching ครั้งที่ 1
ทีมผู้สมัครจะต้องนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบ Onsite โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงการนำเสนอ 5 นาที และช่วงการตอบข้อซักถาม 5 นาที ทังนี้ คณะกรรมการจะทำการคัดเลือกทีมผู้ผ่านเข้ารอบในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
1) กลุ่มไอเดียนวัตกรรม ประมาณ 10 - 15 ทีม
2) กลุ่มต้นแบบนวัตกรรม ประมาณ 10 - 15 ทีม
ทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพตามที่กำหนด และแต่ละทีมจะได้รับงบประมาณในการพัฒนาผลงานตามความเหมาะสม โดยกลุ่มไอเดียนวัตกรรม ได้รับงบประมาณทีมละไม่เกิน 70,000 บาท และกลุ่มต้นแบบนวัตกรรม ได้รับงบประมาณทีมละไม่เกิน 150,000 บาท
รอบสุดท้าย: การตัดสินการประกวดในรูปแบบ Pitching ครั้งที่ 2
ทีมผู้สมัครจะต้องนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบ Onsite โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงการนำเสนอ 5 นาที และช่วงการตอบข้อซักถาม 5 นาที เพื่อคัดเลือกหาทีมที่ชนะในแต่กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มไอเดียนวัตกรรม 4 รางวัล และกลุ่มต้นแบบนวัตกรรม 4 รางวัล
- ประเภทภาคีเครือข่าย สสส.
รอบที่ 1: พิจารณาจากเอกสารรายงาน วีดิทัศน์ ข้อมูลผลงาน และหลักฐานเชิงประจักษ์ แบ่งออกตามประเภทของผลงานนวัตกรรม ดังนี้
- นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 3 – 5 ผลงาน
- นวัตกรรมกระบวนการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 3 – 5 ผลงาน
- นวัตกรรมพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 3 – 5 ผลงาน
- นวัตกรรมเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 3 – 5 ผลงาน
รอบตัดสิน: ทีมผู้สมัครนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบ Onsite โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงนำเสนอ 5 นาที และช่วงตอบข้อซักถาม 5 นาที เพื่อหาทีมที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติตามประเภทของผลงานนวัตกรรม ดังนี้
- นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 1 ผลงาน
- นวัตกรรมกระบวนการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 1 ผลงาน
- นวัตกรรมพื้นที่ต้นแบบสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 1 ผลงาน
- นวัตกรรมเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 1 ผลงาน
ประเภทของรางวัล
*รางวัลทั้งหมดในการประกวดยึดถือตามคำตัดสินของกรรมการ
- ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย
รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 60,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 50,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 40,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
รางวัลชมเชย เงินรางวัล 10,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
เกียรติบัตรมอบแก่สมาชิกทีมประกวดที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทุกคน
- ประเภทอาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)
รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 60,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1รางวัล)
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 50,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 40,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
รางวัลชมเชยเงินรางวัล 10,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
เกียรติบัตรมอบแก่สมาชิกทีมประกวดที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทุกคน
- ประเภทประชาชนทั่วไป และ Startup
3.1 กลุ่มไอเดียนวัตกรรม
รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 70,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1รางวัล)
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 50,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 30,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
รางวัลชมเชย เงินรางวัล 20,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
3.2 กลุ่มต้นแบบนวัตกรรม
รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร (1รางวัล)
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัล 70,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัล 50,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
รางวัลชมเชย เงินรางวัล 30,000 บาทพร้อมโล่และเกียรติบัตร (1 รางวัล)
- ประเภทภาคีเครือข่าย สสส.
โล่ประกาศเกียรติคุณและเกียรติบัตร 5 รางวัล
กำหนดการประกวด
- เปิดรับสมัคร : 15 มิถุนายน – 25 กรกฎาคม 2566
- กิจกรรม Open House (Facebook Live) : 1 กรกฎาคม 2566
- การคัดเลือกทีมผู้สมัคร
-ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษา (Pitching รอบที่ 1) : 12 สิงหาคม 2566
-ประเภทประชาชนทั่วไป และกลุ่ม Startup (Pitching รอบที่ 1) : 10 สิงหาคม 2566
-ประเภทภาคี สสส. (พิจารณาเอกสารและจาก VDO) : 11 สิงหาคม 2566 - ประกาศผลทีมที่ผ่านเข้ารอบ : 16 สิงหาคม 2566
- กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ : ปลายเดือนสิงหาคม – กันยายน 2566
- การตัดสินรอบสุดท้ายโดยการนำเสนอต่อคณะกรรมการ : 29 พฤศจิกายน 2566
- พิธีประกาศผลและมอบรางวัล : 30 พฤศจิกายน 2566
*ผู้จัดการประกวดฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ ของการประกวด โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
สอบถามรายละเอียดและติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่
https://www.facebook.com/pmhealthpromotioninnoaward
อีเมล PMINNOAWARD@thaihealth.or.th
[Advertorial]