เช็กเลย! มาทำงาน-เรียนในกรุงเทพฯ ย้ายสิทธิบัตรทองได้แล้ว 4 ช่องทาง

เช็กเลย! มาทำงาน-เรียนในกรุงเทพฯ ย้ายสิทธิบัตรทองได้แล้ว 4 ช่องทาง

เช็กเลย! มาทำงาน-เรียนในกรุงเทพฯ ย้ายสิทธิบัตรทองได้แล้ว 4 ช่องทาง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด มาทำงาน-เรียน ในกทม.ย้ายสิทธิบัตรทองมาได้ ทำง่ายผ่าน 4 ช่องทาง สปสช.-กทม. จับมือโรงพยาบาลเอกชนขยายศักยภาพ

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันยังคงมีประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทอง จำนวนมากที่เข้ามาอาศัยในกรุงเทพฯ เพื่อทำงานหรือเรียนหนังสือโดยไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านมาด้วย ทำให้ยังมีข้อจำกัดในการรับการรักษาพยาบาล ขณะนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรุงเทพมหานครได้เชิญชวนผู้อาศัยในกรุงเทพฯ แต่สิทธิบัตรทองอยู่ที่ต่างจังหวัดหรือเรียกว่ากลุ่มประชากรแฝง ทำการย้ายสิทธิให้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ

โดยลงทะเบียนกับหน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำ ใกล้ที่ทำงาน ที่เรียน หรือที่พักอาศัย โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้าน โดย สปสช.และกรุงเทพมหานคร ได้เตรียมเครือข่ายหน่วยบริการรองรับการเข้ามาลงทะเบียนของกลุ่มประชากรแฝงที่คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 700,000 คน ทั้งส่วนของคลินิกชุมชนอบอุ่นเกือบ 300 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งทั้ง 50 เขต

พร้อมกันนี้เพื่อเป็นการลดข้อจำกัดของศักยภาพโรงพยาบาลในระบบรับส่งต่อ สปสช.และกรุงเทพมหานคร ได้ทำความร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชน เพื่อให้โรงพยาบาลเอกชนที่อยู่นอกระบบส่งต่อเข้ามาร่วมเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยบริการปฐมภูมิทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาลเข้าร่วมแล้ว 17 แห่ง

สำหรับการย้ายสิทธิบัตรทองจากต่างจังหวัดมาที่ กทม. นั้นสามารถทำได้ง่ายผ่าน 4 ช่องทาง คือ

1)แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการ

2)ไลน์ OA สปสช. (พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso ในช่องเพิ่มเพื่อน) เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง

3)ติดต่อด้วยตนเอง ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชั้น 2 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ (อาคารบี) ถนนแจ้งวัฒนะ ในวันเวลาราชการ

4)โทรสายด่วน สปสช. 1330 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้

ทั้งนี้ เอกสารที่ใช้ดำเนินการย้ายสิทธิบัตรทองนั้นใช้เพียงบัตรประชาชนตัวจริงใบเดียว และหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดที่แสดงถึงการอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ดังนี้ 1)หนังสือรับรองของเจ้าของบ้าน 2)หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน 3.หนังสือรับรองผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง 4. เอกสารหรือหลักฐานที่มีชื่อของผู้ประสงค์ลงทะเบียน เช่น ใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟ ค่าเช่าที่พัก สัญญาเช่าที่พัก หรือ 5.ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนทำหนังสือรับรองตนเองได้

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook