สว.เสรี ฮึ่ม! เตือนโหวต "พิธา" ขัด รธน. พรรคร่วมโดนด้วย ซัดปลุก "ด้อมส้ม" ไร้วุฒิภาวะ

สว.เสรี ฮึ่ม! เตือนโหวต "พิธา" ขัด รธน. พรรคร่วมโดนด้วย ซัดปลุก "ด้อมส้ม" ไร้วุฒิภาวะ

สว.เสรี ฮึ่ม! เตือนโหวต "พิธา" ขัด รธน. พรรคร่วมโดนด้วย ซัดปลุก "ด้อมส้ม" ไร้วุฒิภาวะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"เสรี" เตือน โหวต "พิธา" นั่งนายกฯ ระวังขัดรัฐธรรมนูญ เตือนอีก 7 พรรค อาจมีปัญหาด้วย อัดปลุก "ด้อมส้ม" ไร้วุฒิภาวะ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบสถานภาพของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล จะเป็นปัจจัยในการตัดสินใจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของสว.หรือไม่ว่า มีผลในการตัดสินใจคุณสมบัติของนายกฯ ด้วยอยู่แล้ว และ สว.จะมีการหารือทำความเข้าใจกัน

การที่ กกต. จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ถือเป็นแนวทาง ที่จะทำให้เกิดความชัดเจนถูกต้อง และแก้ปัญหาเกี่ยวกับความเห็นที่แตกต่างทั้งในสภาและนอกสภา ซึ่งถือว่าทำถูกแล้ว และมองว่า กกต. ควรยื่นคดีอาญาตามมาตรา 151 ตั้งนานแล้วด้วย และมองว่าการยื่นศาลรัฐธรรมนูญเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา

นายเสรี ยังระบุว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การสกัดกั้นนายพิธาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่เรื่องเหล่านี้เป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่า ให้บุคคลที่ต้องเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องมีคุณสมบัติ ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนั้น การทำหน้าที่ของ ส.ส. และ สว. ตามรัฐธรรมนูญ ที่จะต้องทำหน้าที่ คนที่มีคุณสมบัติไม่มีลักษณะต้องห้าม นั่นคือ จะต้องไม่ถือหุ้นสื่อ ITV ตามที่ปรากฏในสื่อ เพราะฉะนั้น การทำหน้าที่ไม่จำเป็นต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นคุณสมบัติที่มีความผิดในตัวของมันเอง เพียงแต่ส่งศาลรัฐธรรมนูญให้เกิดข้อยุติเท่านั้นเอง แต่มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นได้ขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว

ทั้งนี้ ตนยังเป็นห่วง 8 พรรคร่วม ที่ไปร่วมเซ็น MOU กันไว้ จะกล้าตัดสินใจ เลือกคนที่คุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากยังเลือกคนที่ขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม อีก 7 พรรคจะมีปัญหากับพรรคการเมืองเหล่านั้น ก็ฝากให้พรรคการเมืองเหล่านั้น พิจารณา ข้อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในส่วนนี้

พร้อมกันนี้ ขอฝากแต่ละพรรคการเมืองให้นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ดูรัฐธรรมนูญตามมาตรา 159 ว่า คนที่จะเลือกได้นั้น จะต้องเป็นคนที่มีคุณสมบัติไม่มีลักษณะต้องห้าม ซึ่งนายพิธาถือหุ้นสื่อมา 17 ปี ก็เข้าข่ายที่จะถูกวินิจฉัย ว่าถือหุ้นสื่อและขัดรัฐธรรมนูญ ดังนั้น พรรคการเมืองต้องไปดูตรงนี้ ไม่เช่นนั้น จะกลายเป็นว่ากระทำการขัดรัฐธรรมนูญเสียเอง

ในส่วนที่ไปเลือกคนที่ ไม่มีคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ไปเป็นนายกรัฐมนตรีจนกลายเป็นว่า ทำการล้มล้างระบบการปกครองหรือไม่ เเต่ก็ยังพยายามที่จะเลือกกัน โดยไม่คำนึงถึงมาตรา 159 และเมื่อขัดตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 159 จะถูกตีความไปไกลอีกเยอะ และท้ายที่สุดแล้ว จะทำร้ายตัวคุณเอง

ส่วนที่กลัวว่า 188 กว่าเสียง แล้วจะไปตั้งรัฐบาล มันไม่ได้เกิดจากที่ไหน แต่เกิดจากพวกคุณที่ไปไกลถึงถูกยุบพรรค ตนไม่อยากให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้น

ส่วนที่พูดกันว่า สว.ไม่เคารพเสียงของประชาชนนั้น นายเสรี กล่าวว่า การที่ประชาชนลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองการเมืองที่ตนเองเลือกไม่ได้แปลว่า ให้พรรคที่ตนเองเลือกสนับสนุนพรรคอื่นเป็นนายกรัฐมนตรี เท่ากับ เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนที่เลือกพรรคการเมืองนั้นๆ แต่การทำหน้าที่ในการเลือกนายกรัฐมนตรีคือหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา ทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นคนละส่วนกับคะแนนที่ประชาชนเลือกมา ขอให้ทำความเข้าใจตรงนี้

นายเสรี ยังกล่าวอีกว่า ในวันที่ 13 ก.ค. จะมีการนัดชุมนุมนั้น มองว่า ไม่ควรยุยงให้ประชาชนลงถนนสร้างความปั่นป่วนเกิดความไม่สงบเรียบร้อย การเป็นนักการเมือง ต้องมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองประชาชน อย่าไปพูดว่าถ้าไม่เลือกแล้ว ประชาชนจะออกมาชุมนุม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้ไม่เหมาะสมที่จะขึ้นมาบริหารประเทศ หรือเป็นผู้นำประเทศ เพราะถือว่าไม่มีความรับผิดชอบ ยุยงส่งเสริมให้คนทำผิดกฎหมาย สร้างความไม่สงบเรียบร้อยก็ไม่ควรทำ

อย่างไรก็ตาม สว. ไม่กังวล เพราะทำตามกฎหมาย หากเราเห็นว่าสิ่งใดไม่ถูกต้องหาก เกรงหรือหวาดหวั่นสิ่งที่มากดดัน เราก็ไม่รับผิดชอบ และเราก็คล้อยตามไป ทั้งที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง เราก็ถือว่าเป็นคนที่ใช้ไม่ได้

สำหรับในกลุ่ม สว. ของตนเอง ยืนยันที่จะไม่สนับสนุน พรรคการเมืองที่กระทบกับสถาบัน แก้มาตรา 112 และทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่เว้นหมวด 1 หมวด 2 และเชื่อว่าเสียงที่จะสนับสนุนนายพิธาบอกลบไม่เกิน 5 เสียง

นายเสรี ยังไม่กังวล พลังเงียบของกลุ่ม สว. เพราะมองว่า พลังเงียบก็คือเงียบ เงียบหมดไม่มีหรอก ที่บอกว่า มี แต่ไม่ออกมาแสดงตน มีแต่รายชื่อที่บอกว่า จะสนับสนุนแต่กลับถอย แล้วที่บอกว่าปัจจุบันได้เพิ่มขึ้น หากมีจริง ก็ขอให้แสดงตัว ส่วนจะมีงดออกเสียงหรือไม่เห็นชอบ อยู่ที่กระบวนการขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะเลือก

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook