NIA กับบทบาท “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม” เร่งดันไทยสู่ 1 ใน 30 ประเทศผู้นำนวัตกรรมโลก

NIA กับบทบาท “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม” เร่งดันไทยสู่ 1 ใน 30 ประเทศผู้นำนวัตกรรมโลก

NIA กับบทบาท “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม” เร่งดันไทยสู่ 1 ใน 30 ประเทศผู้นำนวัตกรรมโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ประกาศเดินหน้าขับเคลื่อนดัชนีนวัตกรรมประเทศไทย สู่อันดับที่ 30 ภายในปี พ.ศ. 2573 ภายใต้บทบาท “ผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม (Focal conductor)” ที่เชื่อมการทำงานร่วมกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมในทุกมิติ อันจะนำไปสู่การสร้างผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน โดยจะใช้ 7 กลยุทธ์หลัก ภายใต้แนวคิด Create the Dot - Connect the Dot - Value Creation 

ดร.กริชผกา บุญเฟื่องดร.กริชผกา บุญเฟื่อง

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ NIA เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2566 นโยบายการใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ได้ถูกพูดถึงและกำหนดบทบาทอย่างชัดเจน เพื่อนำประเทศไปสู่การแข่งขันระดับมหภาคได้อีกครั้ง โดยการขับเคลื่อนดังกล่าว NIA ก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีบทบาททั้งในเชิงผู้กำหนดนโยบาย การอำนวยความสะดวกให้ระบบนิเวศนวัตกรรมเอื้อต่อศักยภาพการทำงาน การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ รวมทั้งการรังสรรค์นวัตกรรมในกลุ่มผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ และภาครัฐ นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายสำคัญที่จะเร่งผลักดันให้ประเทศไทย้าวสู่การเป็น 1 ใน 30 ของประเทศผู้นำนวัตกรรมโลก ภายในปี พ.ศ. 2573 อีกด้วย 

“เพื่อยกระดับทิศทางการขับเคลื่อนนวัตกรรมของไทยให้สอดรับกับบริบทโลก NIA จึงได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ ภายใต้แนวคิด Create the Dot - Connect the Dot - Value Creation ผ่านกลไก Groom Grant Growth และแนวทาง “2 ลด 3 เพิ่ม” ได้แก่ ลดความเหลื่อมล้ำ ลดอุปสรรค เพิ่มโอกาส เพิ่มจำนวน และเพิ่มศักยภาพ” 

สำหรับในปี พ.ศ. 2566 - 2570 NIA ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทจากสะพานเชื่อม สู่การเป็นผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งบทบาทใหม่ที่จะดำเนินงานภายใต้ 7 กลยุทธ์ ได้แก่ 

1. สร้างและยกระดับผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (IBEs) ในอุตสาหกรรมเป้าหมายร่วมกับเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อพัฒนาและขยายผลโครงการสำคัญใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ Food Tech & Ag Tech, Travel Tech, Med Tech, Climate Tech และ Soft Power โดยส่งเสริม IBEs ให้คุ้มครองและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในสินค้าและบริการนวัตกรรม รวมทั้งใช้ NIA Academy เป็นกลไกหลักในการพัฒนา IBEs ผ่านหลักสูตรที่เข้มข้น และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก โดยมีเป้าหมายใน 4 ปี จะมีจำนวนผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมรายใหม่ 10,000 ราย รวมบุคลากรและกำลังคนด้านนวัตกรรมของไทย 15,000 ราย และมูลค่าผลกระทบที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเป้าหมายและพื้นที่ 20,000 ล้านบาท 

2. ส่งเสริมนวัตกรรมแบบเปิดและทำให้ระบบนวัตกรรมไทยเปิดกว้างมากขึ้น โดยเน้นการให้ทุนที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกับแหล่งเงินทุนอื่น ๆ การให้ทุนรายสาขาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับภูมิภาค การเสริมสร้างสมรรถนะการขอทุน และการจัดทำข้อเสนอโครงการ (Proposal) กับเครือข่ายนวัตกรรม เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายใน 4 ปี จะมีเงินทุนและกองทุนสนับสนุนนวัตกรรมที่ NIA บริหารจัดการ 2,000 ล้านบาท โครงการและธุรกิจนวัตกรรมที่ได้รับการสนับสนุน 1,500 โครงการ มูลค่าการลงทุนที่เกิดขึ้นในธุรกิจนวัตกรรม 2,000 ล้านบาท ความคุ้มค่าและผลกระทบของเงินทุนสนับสนุนนวัตกรรม 5 เท่า และสร้างกลไกสนับสนุนรูปแบบใหม่ 3 กลไก 

AFP

3. ส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยและอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค การพัฒนาย่านนวัตกรรม เมืองนวัตกรรม และระเบียงนวัตกรรมในภูมิภาค โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคและผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการด้านนวัตกรรม และการสร้างเครือข่ายนวัตกรรมในพื้นที่ชายแดน เพื่อเพิ่มพื้นที่จังหวัดนวัตกรรมให้ครอบคลุมและเพียงพอต่อการสร้างผลลัพธ์และผลกระทบในแต่ละภูมิภาค โดยมีเป้าหมายใน 4 ปี จะมี IBEs เข้ามามีส่วนร่วม 3,000 ราย ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานใน 40 มหาวิทยาลัย และ 16 อุทยานฯ เกิดการลงทุนนวัตกรรมในภูมิภาค อันดับดัชนีนวัตกรรมเมืองปรับขึ้น 5 อันดับ จังหวัดศูนย์กลางพัฒนานวัตกรรม 12 จังหวัด ย่านนวัตกรรม 12 ย่าน และสำนักงานภูมิภาค 3 แห่ง 

4. เป็นศูนย์กลางการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่ส่งเสริมารใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เชื่อมโยงการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมสนับสนุน IBEs ทั้งด้านการเงินและมิติอื่น โดยเน้นการใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเครือข่ายการนำผลานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยมีเป้าหมายคือยกอันดับประเทศไทยในดัชนีนวัตกรรมโลก GII ของ WIPO จากอันดับที่ 43 ในปี พ.ศ. 2565 เป็นอันดับที่ 30 ในปี พ.ศ. 2573 พร้อมกับจะมีเครือข่ายข้อมูลนวัตกรรมที่เชื่อมโยงสู่ระบบ 15 เครือข่าย จำนวนผู้ใช้บริการ 50,000 ราย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 5 ข้อ และนวัตกรรมเชิงนโยบาย/ ภาครัฐ 30 นวัตกรรม 

5. ส่งเสริมการตลาดนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศให้กับผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมในลักษณะของ Business Brotherhood ให้บริษัทขนาดใหญ่มาสนับสนุนการขยายธุรกิจของ IBEs โดยมีเป้าหมายใน 4 ปี ต้องมี IBEs ที่เข้าร่วมโครงการ 1,000 ราย และมูลค่าเติบโตจากตลาดในและต่างประเทศ 1,000 ล้านบาท 

AFP

6. สร้างความตระหนักและการรับรู้ความสำคัญของนวัตกรรมในทุกภาคส่วน ผ่านโครงการ Innovation Thailand การจัดประกวดรางวัลนวัตกรรม งาน SITE (STARTUP x INNOVATION THAILAND EXPO) เพื่อสร้างแนวร่วมในการขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมไทย โดยมีเป้าหมายใน 4 ปี ต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่า 50,000 ราย และจำนวนผู้เข้าชมเนื้อหาทางออนไลน์ ไม่น้อยกว่า 2,000,000 ครั้ง 

7. พัฒนาไปสู่องค์กรที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นทำงานแบบ Cross Function ลดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน สนับสนุนการปรับหมุนเวียนงาน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีการใช้ Project-based Management และกำหนดเป้าหมายเพื่อวัดผลสำเร็จที่ชัดเจนและสอดคล้องกันทั้งองค์กร การบริหารงานบุคลากรที่เป็นระบบ โปร่งใส และเป็นธรรม เน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อมุ่งสู่พันธกิจขององค์กร 

“ในระยะเวลา 1 ปี NIA ได้ตั้งเป้าหมายสร้างความก้าวหน้าทางนวัตกรรมไทย ทั้งในเชิงมูลค่าและภาพลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นให้สำเร็จ การสร้างพื้นที่สนับสนุนสตาร์ทอัพ นอกจากนี้ ยังจะสร้างเครือข่ายการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ร่วมกับหน่วยงานภายในกระทรวง อว. การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และผลักดันกฎหมายที่ส่งเสริมระบบนวัตกรรมไทยให้เข้มแข็ง” ดร.กริชผกา สรุปปิดท้าย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook