สาวเตือน มีจุด-รอยช้ำขึ้นตามตัว ไม่เจ็บไม่คัน สุดท้ายช็อกหมอแจ้ง "วิกฤติ" ค่ารักษาเป็นแสน
สาวมีจุด-รอยช้ำขึ้นตามตัว ไม่เจ็บไม่คัน แต่เพิ่มขึ้นไม่หยุด สุดท้ายช็อกหมอแจ้งค่าเลือด “วิกฤติ” ราคารักษาพุ่ง
อย่ามองข้ามความผิดปกติในร่างกาย! เมื่อปลายเดือนมิถุนายนปีนี้ นักศึกษาหญิงอายุ 20 ปีจากฉางซา ประเทศจีน มีจุดแดงและรอยฟกช้ำมากมายตามร่างกาย เธอคิดว่าเป็นยุงกัดหรือกระแทกโดยไม่ได้ตั้งใจ และเพราะไม่มีอาการเจ็บหรือคันเธอจึงไม่ได้ใส่ใจมากนัก
ต่อมาในช่วงปิดเทอม เธอเลือกเดินทางไปซานตงตั้งแต่วันที่ 7-10 กรกฎาคม ในระหว่างนั้นเองก็สังเกตเห็นว่าจุดแดงและรอยฟกช้ำตามร่างกายมากขึ้นเรื่อยๆ จึงรู้ว่ามีบางอย่างผิดปกติกับร่างกายของตัวเอง หลังจากกลับบ้านจึงไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจรักษาทันที
เธอไปตรวจเลือดตามปกติและตัดสินใจกลับบ้านก่อนเพราะผลจะออกในวันรุ่งขึ้น โดยไม่คาดคิดว่าจะได้รับโทรศัพท์จากโรงพยาบาลแจ้งว่า “สถานการณ์ร้ายแรงมาก” เพราะดัชนีเกล็ดเลือดซึ่งค่าปกติควรอยู่ที่ 100-300 แต่ของเธอกลับมีค่าอยู่ที่ “1” เท่านั้น และขอให้ไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
เธอเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น "ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (ITP)" และยังได้รับแจ้งว่าอยู่ในอาการวิกฤติ ซึ่งทำให้เธอไม่อยากจะเชื่อ
นับตั้งแต่ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 10 ก.ค. จนถึงออกจากโรงพยาบาลในวันที่ 22 ก.ค. เธอต้องตรวจเลือดเกือบทุกวัน และเจาะให้ยาเป็นเวลา 4-5 ชั่วโมงทำให้มือเธอบวมเป่ง รวมทั้งมีการเจาะไขกระดูกด้วย ค่ารักษาในโรงพยาบาลเป็นเงินมากกว่า 10,000 หยวน (ประมาณ 5 หมื่นบาท) และหลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว เธอยังต้องกินเอทานอล (Ethanol) ทุกวัน ซึ่งหนึ่งกล่องมูลค่าเกือบ 1,700 หยวน (ประมาณ 8 พันบาท) ทำให้ต้องจ่ายอีกมากกว่า 20,000 หยวน (ประมาณ 1 แสนบาท)
เธอจึงต้องการใช้ประสบการณ์นี้เพื่อเตือนทุกคนให้ใส่ใจกับสุขภาพของตนเอง อย่าคิดว่าไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับปัญหาสุขภาพเมื่อยังเด็ก หากพบว่ามีบางอย่างผิดปกติกับร่างกาย ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบโดยเร็วที่สุด มิฉะนั้นอาจเป็นอย่างเคสเธอได้
- จะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ?
ศาสตราจารย์ Xu Shuangnian ผู้อำนวยการแผนกโลหิตวิทยา ชี้ให้เห็นว่า หากผิวหนังมีรอยช้ำและเป็นสีม่วงโดยไม่มีอาการบาดเจ็บ หรือมีอาการเลือดออกตามเหงือก หรือเลือดออกจมูกไม่สามารถหยุดได้ในช่วงเวลาสั้นๆ จำเป็นต้องไปพบแพทย์ ถึงเวลาค้นหาสาเหตุและดำเนินการรักษาอย่างถูกต้อง
หากได้รับการยืนยันว่าเป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำโดยภูมิคุ้มกัน มี 3 สิ่งที่ควรทราบ
อันดับแรก กินอาหารอ่อนๆ เพื่อลดความเสี่ยงเลือดออก และควรระวังเป็นพิเศษในเนื้อสัตว์จำพวก ปลา หรือ ไก่ เพราะก้างปลา กระดูกไก่ อาจสร้างบาดแผลให้กับร่างกายเมื่อทายเข้าไป
ประการที่สอง ถ้าอาการรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยควรนอนพักบนเตียง หรือต่อให้อาการทุเลาลง ก็ควรหลีกเลี่ยงการออกแรงมากเกินไป
สุดท้าย ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพให้ดี ไม่ให้เป็นไข้หวัดและท้องเสีย เพราะเมื่อเป็นหวัดหรือท้องร่วง มันจะกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน และทำให้เกล็ดเลือดเสียหายมากขึ้น