ระทึก! กรดไนตริกรั่วไหล 3 ถัง ในบ้านพักเขตประเวศ ควันสีเหลืองลอยฟุ้ง

ระทึก! กรดไนตริกรั่วไหล 3 ถัง ในบ้านพักเขตประเวศ ควันสีเหลืองลอยฟุ้ง

ระทึก! กรดไนตริกรั่วไหล 3 ถัง ในบ้านพักเขตประเวศ ควันสีเหลืองลอยฟุ้ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ระทึก! กรดไนตริกรั่วไหล 3 ถัง ในบ้านพักเขตประเวศ ควันสีเหลืองลอยฟุ้ง เจ้าของแจ้งขออนุญาตถูกต้อง 

เมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 2 ส.ค. 66 พ.ต.ต.พลนิวัฒน์ ทองลาด สว.(สอบสวน)สน.ประเวศ รับแจ้งเหตุพบสารเคมีรั่วไหล เหตุเกิดภายในซอยเฉลิมพระเกียรติ ร. 9 ซอย 25 แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. จึงประสานชุดปฎิบัติการเก็บกู้สารเคมีและวัตถุอันตรายของสถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดยาว เจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงและกู้ภัยเฉลิมพระเกียรติ ไปตรวจสอบ

ที่เกิดเหตุเป็นบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น ที่ด้านหน้าบ้านพบถังสารเคมีจำนวน 5 ถังวางไว้ริมกำแพง มีกลุ่มควันสีเหลืองลอยออกมา จากการตรวจสอบพบว่าเป็นสารเคมีชนิด กรดไนตริก (Nitric acid) ชุดปฎิบัติการเก็บกู้สารเคมีและวัตถุอันตรายของสถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดยาว เข้าตรวจสอบความความเข้มข้นของสารเคมีเพื่อประเมินสถานการณ์ ก่อนทำการเก็บกู้และถ่ายเทกรดที่รั่วไหลจำนวน 3 ถังไว้ในถังที่ปลอดภัย และเก็บจำนวน 2 ถังที่ไม่มีการรั่วไหล เพื่อรอสำนักงานเขตประเวศ มาเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัยต่อไป

พ.ต.ต.พลนิวัฒน์กล่าวว่า เบื้องต้นสอบสวนเจ้าของกรดไนตริกทราบว่ามีไว้สำหรับเพื่องานสแตนเลส โดยมีการเปิดบริษัทและทำการขออนุญาตไว้อย่างถูกต้อง แต่จะต้องทำการตรวจสอบว่า การครอบครองกรดไนตริก มีปริมาณเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ทั้งนี้พนักงานสอบสวนจะต้องสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง ก่อนจะดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป

กรดไนตริก (Nitric acid) หรือ ที่ผู้คนทั่วไปเรียกว่า กรดดินประสิว เป็นกรดที่เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 800 ค้นพบโดย อบูมูซา จาบิร อิบนุฮัยยาน (Abu Musa Jabir Ibn Hayyan) หรือ จีเบอร์ (Geber) นักเคมีและนักฟิสิกส์ ชาวมุสลิม บิดาแห่งวิชาเคมี

กรดไนตริกบริสุทธ์ 100% จะมีลักษณะเป็นของเหลว โดยปราศจากน้ำเจือปน จะเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่นอยู่ที่ 1,552 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิ -42 °C ลูกบาศก์ ออกมาในรูปของผลึกสีขาว และมีจุดเดือดอยู่ที่อุณหภูมิ 83 °C และยังสามารถเดือดได้ในอุณหภูมิห้องที่มีแสงสว่างที่มากพอ และจะเกิดปฏิกิริยาการสลายตัวในรูปแบบไนโตรเจนไดออกไซด์ จึงควรเก็บกรดไนตริกไว้ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 °C เพื่อกันการสลายตัว

กรดไนตริกบริสุทธิ์ จะมีความใส ไม่มีสี แต่เมื่อมีการเก็บไว้เป็นเวลานานจะทำให้กรดมีสีเหลือง เนื่องจากมีส่วนประกอบของ ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) หากกรดมีความเข้มข้นสูงเกินกว่า 86% จะมีไอระเหยของกรดขึ้นมา ไอของกรดที่ระเหยออกมาจะเป็นสีขาว หรืออาจเป็นสีแดงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น รวมถึงอุณหภูมิด้วย

ประโยชน์และการใช้กรดไนตริก

มีการนำกรดไนตริกมาประยุกต์ใช้ทั้งกับทางด้านอุตสาหกรรม ภายในกระบวนการผลิตเครื่องอุปโภคต่างๆ ด้านเกษตรกรรม ในการใช้เป็นส่วนผสมของสารสำหรับป้องกัน และกำจัดเชื้อรา หรือปุ๋ย ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ในการใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ และใช้ทางการทหาร เป็นต้น

กรดไนตริก ยังสามารถใช้ในการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย รวมถึงการใช้ปรับความเป็นกรดของคุณภาพน้ำ เพื่อช่วยป้องกันการตกตะกอนของโลหะหนักหรือการเกาะติดของโลหะหนักกับภาชนะ รวมถึงป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์ได้ด้วย

คุณสมบัติเด่นของกรดไนตริกคือ ความเป็นกรด ด้วยสามารถในการทำออกซิไดซ์ที่สูงมาก จนเกิดปฏิกิริยาการกัดกร่อนที่รุนแรงต่อวัตถุจำพวกโลหะแทบทุกชนิด ยกเว้นโลหะตระกูลมีค่าจำพวก ทองคำ เงิน เพลตตินั่ม พลาลาเดียม รูธีเนี่ยม โรเดี่ยม ออสเมี่ยม และอิริเดี่ยม ดังนั้นจึงเกิดการใช้ประโยชน์ด้วยการนำกรดไนตริกไปเป็นสารในการทดสอบเพื่อแยกโลหะมีค่าออกจากโลหะอื่นๆ เช่น การนำไปทดสอบ เครื่องประดับทองคำว่า เป็นทองคำแท้หรือไม่ หากเป็นทองคำแท้ กรดไนตริก จะไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ นั่นเอง

ข้อควรระวังของกรดไนตริก

กรดไนตริก ถือเป็นกรดที่เป็นอันตรายชนิดหนึ่ง หากมีการสัมผัส สูดดม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง ต่อทั้งระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ดวงตา และระบบอวัยวะภายในร่างกาย จนอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการนำกรดไนตริกมาใช้งาน ควรมีการป้องกันอย่างรัดกุมของร่างกาย รวมไปถึงต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้กรดไนตริกกับสารบางชนิด ที่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่อันตราย เช่น การระเบิดขึ้นได้ การควบคุมอุณหภูมิขณะใช้งานมีความสำคัญก็เช่นกัน

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ ระทึก! กรดไนตริกรั่วไหล 3 ถัง ในบ้านพักเขตประเวศ ควันสีเหลืองลอยฟุ้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook