สส.กาย พูดชัด ปิดสวิชต์ สว.ไม่เกี่ยวโหวตเพื่อไทย ย้ำไม่ล้มเลิกเสนอ "พิธา" หากมีช่อง

สส.กาย พูดชัด ปิดสวิชต์ สว.ไม่เกี่ยวโหวตเพื่อไทย ย้ำไม่ล้มเลิกเสนอ "พิธา" หากมีช่อง

สส.กาย พูดชัด ปิดสวิชต์ สว.ไม่เกี่ยวโหวตเพื่อไทย ย้ำไม่ล้มเลิกเสนอ "พิธา" หากมีช่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"ณัฐชา" ชี้ปิดสวิชต์ ส.ว.ไม่เกี่ยว ก้าวไกลยกมือให้นายกฯ เพื่อไทย เพราะใช้อำนาจบีบพรรคอันดับ 1 ระบุแนวคิดไม่ตรงกันเพราะผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ไม่ห่วง "โรม" เสนอญัตติข้อบังคับประชุมสภาข้อ 41 ชี้ สภาควรแก้ปัญหาเอง ลั่นก้าวไกลไม่ล้มเลิกเสนอชื่อ "พิธา" หากมีช่อง

นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กรุงเทพฯ และรองเลขาธิการพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าการที่พรรค กก. ไม่โหวตสนับสนุนนายกฯ จากพรรคเพื่อไทย (พท.) เป็นการผิดคำพูดที่เคยระบุว่า จะปิดสวิชต์ สว. ว่า ตนคิดว่าวาทกรรมที่บอกว่า พรรค กก. ต้องโหวตให้พรรค พท. เพื่อปิดสวิตช์ สว. นั้นไม่ใช่ เพราะตอนนี้ สว.กำลังใช้กลไกอำนาจของเขาในการบีบ ไม่โหวตสนับสนุนให้พรรคอันดับ 1 ของประชาชน การปิดสวิตช์ สว. คือให้ สว.ไม่มีความหมายในการโหวตนายกฯ คือใช้เสียงของสภาล่างอย่างเดียว

ตอนที่เรารวมเสียงได้ 312 เสียง ซึ่งถือว่าเป็นเสียงข้างมากจาก 500 เสียงของ สส. ฉะนั้นการปิดสวิตช์ส.ว. คือการให้เสียงของ สส. มีอำนาจมากกว่า แต่ตอนนี้ สว.ได้ประสบความสำเร็จแล้วด้วยการไม่โหวตให้แคนดิเดตนายกฯ ที่มาจากพรรคอันดับ 1 และใช้กลไกในการบีบ ว่าจะไม่โหวตให้พรรคต่างๆ นานา และบอกให้พรรคการเมืองนั้นๆ กลัว สว. โดยไปโหวตให้ และมาบอกว่านี่คือการปิดสวิตช์ สว. ซึ่งตนคิดว่าเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง เป็นการบีบโดยทางอ้อม และเป็นการร่วมกันปิดสวิตช์ กก. มากกว่า

เมื่อถามว่า หากไม่โหวตนายกฯ พรรค พท. จะยิ่งทำให้พรรค พท. จับมือกับพรรค 2 ลุงโดยชอบธรรมหรือไม่ นายณัฐชากล่าวว่า ความชอบธรรมที่สุด คือการจับมือกัน 312 เสียง นี่คือความต้องการของประชาชนมากที่สุด และเป็นเรื่องที่พึงกระทำได้ดีที่สุดด้วย เนื่องจากเป็นเสียงที่ประชาชนต้องการให้บริหารราชการแผ่นดิน เราปฏิเสธไม่ได้

ว่าความต้องการของประชาชนในวันนี้ที่เลือกฝ่าย 312 เสียงมาอย่างถล่มทลาย แต่ฝ่าย 312 เสียงไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะมีเสียงอื่นๆ มาแทรกแซง นั่นคือเสียงของส.ว. และพยายามกดดัน และให้ความเห็นต่างๆ ที่พยายามตีให้ 312 เสียงแตกออกจากกัน ซึ่งเมื่อเชาทำสำเร็จในขั้นแรกแล้ว จะรวมเสียงใหม่ก็แล้วแต่พรรคแกนนำในขณะนั้นที่จะตัดสินใจ เขาจะจับมือ 312 เสียงกันเหนียวแน่น และเอาเสียงอื่นมาบวกเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ หรือเขาจะตัดสินใจไม่จับมือกับ 312 เสียง และไปดึงอีกฟากหนึ่งก็สามารถทำได้ นั่นคือแนวความคิดของเขา แต่ไม่ตรงกับแนวความคิดของพรรค ก.ก.เราเลยไม่สามารถโหวตให้ได้

ส่วนกรณีที่นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรค ก.ก. จะเสนอญัตติให้ทบทวนข้อบังคับการประชุมสภา ข้อที่ 41 จะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนวันที่ 19 กรกฎาคม ที่มีการปิดประชุมก่อนที่จะโหวตเพื่อหาข้อสรุป ว่า แน่นอนว่าเรื่องของข้อบังคับข้อที่ 29 เราผูกโดยสภา มีปัญหาโดยสภา และทางหน่วยงานภายนอกต่างๆ ที่มาตัดสินเราก็ไม่เห็นด้วย เพราะกลไกฝ่ายนิติบัญญัติก็ต้องใช้สภาเป็นผู้แก้ปัญหา

เพราะฉะนั้นมองว่าการตัดสินในวันนั้นหลังจากโหวตลงมติไปแล้ว มีนักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ วิตกกังวลเรื่องข้อกฎหมายที่สภาได้ลงมติไป รวมถึงองค์กรอิสระและหน่วยงานต่างๆ ออกมาให้ความเห็นว่าไม่ถูกไม่ควรนัก ฉะนั้นเราก็อยากจะหยิบยกเรื่องราวต่างๆ ที่สภาผูกเอาไว้และแก้โดยสภา ด้วยการใช้อำนาจของสภาที่จะทบทวนญัตติที่ลงมติไปแล้ว

ซึ่งสามารถทำได้ ส่วนกระบวนการที่ไม่อยากให้เกิดการกระทำเรื่องนี้ เพราะเหตุใดก็อาจจะส่งผลว่า หากเรื่องนี้มีการทบทวนใหม่ และมีคนลงความเห็นว่าไม่เห็นด้วย และสุดท้ายต้องกลับมาทบทวนใหม่ก็เกรงว่าแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรค กก. จะได้กลับมาโหวตอีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้มีความพยายามเป็นเกมการเมืองอย่างแน่นอน แต่ความถูกต้องควรที่จะคงอยู่คู่สภา และสภาไม่ควรทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

เมื่อถามว่า มองการทำหน้าที่ของประธานสภาอย่างไร นายณัฐชากล่าวว่า ในคราวที่แล้วก็ต้องเคารพการตัดสินใจของประธานสภา ซึ่งอำนาจตามข้อบังคับในข้อที่ 22 ของประธานสภา ส่วนในครั้งนี้เราก็อยากขอความเห็นใจ ว่าสภาผู้แทนราษฎรที่มีการลงมติอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว มันผูกพันและถูกบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ ว่าการทำหน้าที่ของผู้แทนราษฎร ทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ฉะนั้นส่วนนี้จะถูกบันทึกและจดจำ

เมื่อถามว่า ยังมีช่องทางที่จะเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ก.ก. ได้อีกหรือไม่ นายณัฐชากล่าวว่า หากมีแนวทางหรือช่องทางที่จะสามารถสนับสนุนให้นายพิธา เป็นนายกฯ ได้ เราคงต้องทำต่อเนื่อง เพราะเราได้รับมอบหมายจากประชาชนมาแล้ว เราไม่สามารถล้มเลิกได้อย่างง่ายๆ วันนี้ 150 เสียงของพรรค ก.ก. ก็ยังคงยืนหยัดที่อยากจะต่อสู้เพื่อความต้องการของประชาชน

แต่เราไม่สามารถทำได้เนื่องจากเราไม่มีเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองต่างๆ มากพอ ฉะนั้นก็เป็นเครื่องพิสูจน์และให้ประชาชนเห็นว่า การเลือกตั้งนั้นสำคัญและการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือการตัดสินใจเลือกใครเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเรานั้น ต้องสังเกตดีๆ ในการโหวตเลือกนายกฯ ครั้งนี้ ว่าเขาสามารถตอบโจทย์ความต้องการของท่านได้หรือไม่ และสามารถเข้ามาทำหน้าที่แทนในสภาและโหวตนายกฯ ตามความต้องการของท่านได้หรือไม่

ฉะนั้น ส.ส. จากทุกพรรคการเมือง วันนี้ประชาชนออกมากดดัน อย่าให้เป็นเรื่องปกติของระบอบประชาธิปไตย พรรคที่ได้รับเสียงอันดับ 1 ควรจะได้เป็นนายกฯ เราพูดเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะมันเกิดความผิดปกติในสังคม มีคนพยายามบิดเบือนและพยายามพูดว่า รวมเสียงจากฟากฝ่ายหนึ่งชนะก็สามารถเป็นนายกฯ ได้ ซึ่งความจริงแล้วเป็นเรื่องผิดปกติในระบอบประชาธิปไตย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook