พังงางงมาก "อาจาดหู" 1 จังหวัด 1 เมนู ต้องถามผู้เฒ่าผู้แก่ โบราณจนเกือบสาบสูญ

พังงางงมาก "อาจาดหู" 1 จังหวัด 1 เมนู ต้องถามผู้เฒ่าผู้แก่ โบราณจนเกือบสาบสูญ

พังงางงมาก "อาจาดหู" 1 จังหวัด 1 เมนู ต้องถามผู้เฒ่าผู้แก่ โบราณจนเกือบสาบสูญ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณี กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่เปิดให้ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป ร่วมส่งเมนูอาหารท้องถิ่นในจังหวัดของตนเข้ารับการคัดเลือกในหัวข้อ “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “รสชาติ..ที่หายไป The Lost Taste” เพื่อรับโล่รางวัลและเกียรติบัตรจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม

โดยเมนูอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดพังงา คือ  อาจาดหู ขณะที่คนในพื้นที่ต่างออกมาคอมเมนต์ว่า ไม่รู้จักเมนูดังกล่าว

ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้รับการติดต่อและขอชี้แจงกรณีดังกล่าว โดยนายพีระ เพชรพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารพื้นบ้าน(สายอาหารจีน)ชาวพังงา ได้ประสาน นางวารุณี สงวนนาม อายุ 58 ปี เจ้าของร้านเจ้น้องอาหารพื้นเมืองพังงา ผู้ทำเมนูอาหารดังกล่าว ซึ่งอยู่ ริมถนนเพชรเกษม ต.กะไหล อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา พบว่าเมนูดังกล่าว เป็นอาหารประจำของครัวเรือนตั้งแต่สมัย พระบาบริรักษ์ภูธร เจ้าเมืองพังงา ซึ่งในปัจจุบันหารับประทานยากมาก ทางร้านได้ค้นเมนูจากผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่ จนทราบว่า อาจาดหู เดิมมีรากศัพท์มาจาก จีนมลายู ที่เข้ามาทำเหมืองแร่ โดยคำว่า หู เป็นภาษาจีน แปลว่าปลา จีนบางกลุ่ม เรียกปลาว่า หยีว หรือ หวูย โดยมีน้ำอาจาดที่ประกอบด้วยผักสมุนไพรดองราดปลาทอด อดีตนิยมใช้ปลากระบอก แต่ไม่ได้กำหนดว่าต้องใช้เฉพาะปลากระบอกอาจจะเป็นปลาชนิดอื่นได้เช่นกัน

วิธีการทำ เริ่มจาก นำปลาทอดน้ำมันให้สุกแบบกรอบนอกนุ่มใน จากนั้นนำผักสมุนไพรประกอบด้วย กระเทียม ขิงซอย ขิงสลักดอก ขมิ้นชัน พริกชี้ฟ้า มาผัดในกระทะ ผสมน้ำเปล่า น้ำส้มสายชู เกลือ น้ำตาล ตามรสชาดที่ชอบ จากนั้นมาราดกับปลาที่ทอดสุก สุดท้ายเป็นน้ำอาจาดที่เคี่ยวผสมกับผักดองเช่นเดียวกับน้ำอาจาดทั่วไป ราดขณะเสิร์ฟ ส่วนรสชาติจะได้อรรถรสการรับประทานมาก มีสรรพคุณของสมุนไพร ความกรอบนอกนุ่มใน ความเผ็ดร้อนของกระเทียม ขมิ้น ขิง พริกชี้ฟ้า เปรี้ยวอมหวานของน้ำส้มสายชู น้ำตาล และความหวานของเนื้อปลา เป็นที่ชื่นชอบสำหรับผู้นิยมเมนูสายสุขภาพ

โดยนายพีระ เพชรพาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญอาหารพื้นถิ่นพังงา (สายจีน) กล่าวว่า สำหรับเมนู อาจาดหู ทราบว่าเป็นอาหารพื้นถิ่นพังงา เดิมมาจากชาวพังงาเชื้อสายจีน ซึ่ง หู(ลากสียง) แปลว่าปลา ราดด้วยน้ำอาจาด(น้ำผักดอง) ซึ่งปลาชาวจีนแต่ละภาคเรียกแตกต่างกัน เช่น หู หวีย หวูย

ขณะนางวารุณี สงวนนาม อายุ 58 ปี เจ้าของร้านเจ้น้องอาหารพื้นเมืองพังงา กล่าวว่า ได้รับการประสานจากคนในพื้นที่ต้องการให้ทำเมนูพื้นบ้านที่กำลังสาบสูญ หรือใกล้สูญหาย จึงได้ถามผู้เฒ่าผู้แก่ จนได้เมนู อาจาดหู จึงนำส่วนผสมตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่มาทำปรับรสชาติตามความเหมาะสม ซึ่งต้องคงความเข้มข้นของรสชาติเดิมไว้ จนได้เมนูดังกล่าว และพร้อมยอมรับคอมเมนต์ต่างๆ ที่เป็นดราม่าในขณะนี้ เนื่องเมนูอาหารอาจไม่คุ้นหูในปัจจุบัน ซึ่งทางร้านเน้นอาหารพื้นถิ่นของพังงา ทางร้านยังมีเมนูพื้นถิ่นอีกหลากหลาย เช่น จอแล้ง หมูฮ้องส้ม เป็นต้น 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook