เล่าขานตำนาน ศาลายา ตอน 1

เล่าขานตำนาน ศาลายา ตอน 1

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นี่คือตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ศาลายาแห่งนี้ เดิมเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ครั้งหนึ่ง เคยเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลนครไชยศรีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์แน่ชัดว่า มีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกเมื่อใด กระทั่งเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ขุด คลอง มหาสวัสดิ์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2406 เพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปพระปฐมเจดีย์ ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง ศาลา ริมคลอง ซึ่งต่อมาได้เรียกชื่อต่าง ๆ ออกไป เช่น ศาลาธรรมสพน์ กล่าวกันว่า เป็นศาลา ที่ตั้งศพ นั่นเอง ส่วน "ศาลายา แห่งนี้ เป็นชื่อที่เพิ่งใช้เรียกกันในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังจากที่ขุดคลองมหาสวัสดิ์ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ได้สร้างศาลาที่บันทึกตำรายาไว้ จึงพากันเรียกว่า "บ้านศาลายา นับตั้งแต่นั้นมา จึงถือได้ว่า ศาลายา เป็นพื้นที่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีเอกลักษณ์ทั้งทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยเฉพาะ ตำนานเล่าขานเรื่อง "ยา ด้วยเหตุนี้ในปีพุทธศักราช 2550 คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เพื่อชนบจัดงาน "เล่าขานตำนานศาลายา ครั้งที่ 1 ขึ้นและมีการจัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และในปีนี้ เป็นการจัดงาน เล่าขานตำนานศาลายา เป็นครั้งที่ 4 เพื่อให้ทราบถึงสรรพคุณของ ยา ซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการแพทย์จากปราชญ์ชาวบ้าน อีกทั้งเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับชุมชนศาลายา เพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาวบ้านในเรื่องของสมุนไพร การแพทย์แผนไทยกับสุขภาพวิถีไทย และตำรับยา ตำราชาวบ้าน เป็นที่ทราบดีว่าในอดีตชาวบ้านในพื้นที่ศาลายา มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย อีกทั้งเทคโนโลยีที่ยังเข้าไม่ถึงในชุมชน เมื่อชาวบ้านไม่สบาย หรือเจ็บป่วย จึงได้มีการใช้วิธีรักษาในแบบฉบับของชาวบ้าน หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ตำราชาวบ้าน โดยใช้สมุนไพรที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นมาใช้เป็นยา นอกจากนี้ ยังต้องรู้ลักษณะของยา วิธีใช้ยา รู้ประโยชน์ในทางแก้โรค รู้สรรพคุณและรสยา ความรู้เหล่านี้ต้องอาศัยตำราที่บรรพบุรุษเขียนไว้ นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธมณฑล ได้นำตำรายาฉบับโบราณกว่า 100 ปีที่ตกทอดจากบรรพบุรุษมาแสดงด้วย คุณป้าอุดม ก้านพิมพ์ อายุ 73 ปี เกิดที่ ตำบลศาลายา จังหวัดนครปฐม เป็นเป็นหมอทำคลอดแบบโบราณ โดยคุณป้าอุดมเล่าว่า เริ่มได้รับการถ่ายทอดวิชามาจากคุณยายและป้าสะใภ้ เป็นเคล็ดวิชาโบราณที่สืบต่อมาจากปู่ย่าตายาย ส่วนคุณลุงเจือ แย้มพู อายุ 71 ปี เกิดที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นปราชญ์ชาวบ้านอีกคนหนึ่งที่เป็น หมอพ่นยา ได้รับการถ่ายทอดเคล็ดลับวิชาและคาถาที่ใช้ในการรักษาโรคมาจากบิดา คือนายเจิม ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยาหอม โดยลุงเจือเล่าว่า เริ่มรักษาโรคมาตั้งแต่อายุ 20 ปีและได้อาศัยครูพักรักจำจากครูท่านอื่นๆ และนี่ก็คือตำนานเล่าขาน ศาลายา ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนานจนถึงปัจจุบัน และเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านทางการแพทย์จากปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเป็นการสร้างเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาวบ้าน ในเรื่องของสมุนไพร และสำหรับในตอนหน้าเราจะได้ทราบว่า การแพทย์พื้นบ้านไม่ได้แยกออกจากการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเด็ดขาดแต่ยังคงดำรงอยู่อย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สำหรับวันนี้ต้องลาคุณผู้ชมไปก่อนคะติดตามชม ตำนาน ศาลายา ตอน 2 ได้ใหม่ในตอนหน้าคะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook