ปลาโลมาอาจช่วยรักษาโรคเบาหวานในคน
นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโลมาพบว่ามีกลไกทางพันธุกรรมที่อาจช่วยผู้วิจัยพบ วิธีรักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2 หรือเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน
นักวิทยาศาสตร์จากมูลนิธิสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลของสหรัฐ กล่าวว่า โลมาปากขวดดื้อต่ออินซูลินเหมือนกับมนุษย์ที่เป็นเบาหวาน แต่ต่างกันที่โลมาสามารถควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้
นักวิจัยตรวจสอบตัวอย่างเลือดของโลมาที่ได้รับการฝึกฝน ซึ่งจะได้รับอาหารกินอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน แต่จะงดอาหารในเวลากลางคืน สิ่งที่พบคือการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเลือดของโลมาเวลากลางคืนคล้ายกับการ เปลี่ยนแปลงเลือดของคนที่เป็นเบาหวาน สิ่งนี้ทำให้ตีความว่า อินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนในร่างกายที่ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ไม่ได้ส่งผลต่อโลมาเมื่อพวกมันไม่ได้รับอาหาร
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาให้อาหารเช้า กลับพบว่ากลไกควบคุมน้ำตาลในโลมาได้ปรับเข้าสู่สภาวะที่ไม่ได้อดอาหาร การปรับกลไกควบคุมน้ำตาลโดยอัตโนมัติในโลมาได้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ วิจัยเป็นอย่างยิ่ง และดูเหมือนว่าภาวะดื้นอินซูลินในโลมาดูจะมีประโยชน์ต่อพวกมันมากกว่าเป็น โทษ ผู้วิจัยอธิบายว่าโลมาอาจมีวิวัฒนาการสภาพร่างกายให้สามารถควบคุมจัดการปลา ที่พวกมันกินเข้าไป ซึ่งปลาเหล่านี้มีโปรตีนสูงและคาร์โบไฮเดรตต่ำ
ผู้วิจัยบอกด้วยว่าโลมาปากขวดมีสมองใหญ่ซึ่งต้องการน้ำตาลไปหล่อเลี้ยง ดังนั้น เมื่อพวกมันกินอาหารที่มีน้ำตาลต่ำมาก จึงต้องมีกลไกบางอย่างเพื่อรักษาน้ำตาลในเลือดเพื่อไปเลี้ยงสมองได้อย่าง เพียงพอ แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น แมวน้ำ ซึ่งไม่มีกลไกชนิดเดียวกันนี้ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะโลมามีสมองใหญ่
ผู้วิจัยชี้ว่าในเมื่อสมองของโลมาและมนุษย์มีขนาดใหญ่ ก็หวังจะนำความรู้ที่ได้จากโลมาไปใช้ในการวิจัยทางการแพทย์เพื่อรักษาเบา หวานในมนุษย์ และการไขปริศนาจากแผนที่หน่วยพันธุกรรมของโลมา ก็จะสามารถนำมาเทียบเคียงกับแผนที่หน่วยพันธุกรรมในมนุษย์ได้ โดยเชื่อว่ากลไกการเปิด-ปิดสวิตซ์ควบคุมอินซูลินในโลมาก็น่าจะมีอยู่ในตัว มนุษย์ด้วยเช่นกัน