ภูมิธรรม-ไพบูลย์-จ่านิว เปิดรายชื่อ "35 อรหันต์" ศึกษาเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ มีใครบ้างไปดูเลย!
วันที่ 3 ตุลาคม 2566 หลังจากเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 256/2566 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ก็ได้มีการเปิดเผยรายชื่อของคณะกรรมการ ที่นายกฯ แต่งตั้งทั้งหมด 35 คน
โดยมีภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน, ชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรองประธาน คนที่ 1, กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นรองประธาน คนที่ 2 และนิกร จำนง เป็นกรรมการและโฆษกคณะ
ในส่วนของกรรมการ ประกอบด้วย
- พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายพิชิต ชื่นบาน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
- พล.อ.ชัชวาล ขำเกษม
- พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา
- พล.ต.อ.วินัย ทองสอง
- นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์
- นายศุภชัย ใจสมุทร
- นายวิรัตน์ วรศสิริน
- นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท
- นายวิเชียร ชุปไธสง
- นายวัฒนา เตียงกูล
- นายยุทธพร อิรชัย
- นายไพบูลย์ นิติตะวัน
- นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
- นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
- นายประวิช รัตนเพียร
- นายนพดล ปัทมะ
- นายธนกร วังบุญคงชนะ
- นายธงชัย ไวยบุญญา
- นายเทวัญ ลิปตพัลลภ
- นายเดชอิศม์ ขาวทอง
- นายฐากร ตัณฑสิทธิ์
- นายชาติพงษ์ จีระพันธุ
- นายชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์
- นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี
- น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์
- นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
- ผู้แทนพรรคก้าวไกล
- ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายนพดล เภรีฤกษ์ รองเลขาคณะกรรมการกฤษฎีกา
- นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง
คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่และอำนาจ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
- พิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วนในการออกกฎ กติกา ที่เป็นประชาธิปไตยทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ตลอดจนสอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ หารือแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญในรัฐสภา เพื่อให้คนไทยมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่มากขึ้น และประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง รวมทั้งเป็ฯไปตามคำแถลงนโยบายคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2566
- ให้คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็น หรือส่งเอกสาร หลักฐานใดๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
- แต่งตั้งคณะอนุกรกรมการ คณะทำงาน หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ หรือดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ตามความจำเป็น
- ให้คณะกรรมการรายงานผลการดำเนินงานต่อนายกรัฐมนตรี