"แบลงค์กัน" คืออะไร ทำไมไม่ผิดกฎหมาย ทั้งที่ดัดแปลงเป็นปืนฆ่าคนได้

"แบลงค์กัน" คืออะไร ทำไมไม่ผิดกฎหมาย ทั้งที่ดัดแปลงเป็นปืนฆ่าคนได้

"แบลงค์กัน" คืออะไร ทำไมไม่ผิดกฎหมาย ทั้งที่ดัดแปลงเป็นปืนฆ่าคนได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีเหตุสะเทือนขวัญ กรณีเยาวชนชายอายุ 14 ปี ก่อเหตุยิงในห้างดังกลางเมือง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย อาวุธปืนที่ใช้ เป็นปืนแบลงค์กัน ดัดแปลงเป็นอาวุธปืน ทำให้เกิดประเด็นร้อนแรง เพราะแบลงค์กัน ไม่ใช่ของผิดกฎหมาย ซื้อขายได้เสรี แต่กลับนำมาดัดแปลงฆ่าคนได้แสนง่ายดาย

พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร และ พล.ต.ท.วิชัย สังข์ประไพ ให้ความเห็นในรายการโหนกระแส บอกว่า กรมการปกครองไปจับแบลงก์กัน แล้วตีว่าไม่ใช่อาวุธปืน จับได้แล้วก็ปล่อย ทีนี้แบลงก์กันมันก็ทะลักเข้ามา สั่งง่ายดาย ดัดแปลงง่ายดาย แค่เปลี่ยนลำกล้อง ดัดแปลงแม็กกาซีน ก็กลายเป็นอาวุธปืนทันที ณ วันนี้มันยังนำเข้าได้ถูกกฎหมาย คำถามคือ ต้องมาคุยกันได้หรือยังว่าต้องห้ามนำเข้า

อาวุธปืนที่ก่อเหตุเมื่อวานนี้ พล.ต.ท.เรวัช มองแล้วรู้ทันทีว่าเป็นแบลงก์กัน ดัดแปลงเป็นอาวุธปืน ใส่ลูก 9 มม. ลูก .370 แถมยังดัดแปลงเป็นปืนกลได้ด้วย ซึ่ง พล.ต.ท.วิชัย เสริมว่า วิธีการดัดแปลงมันมีสอนในโซเชียล หาดูไม่ยากเลย จึงนำไปสู่คำถามว่า แล้วเรายังปล่อยให้มันนำแบลงก์กันเข้ามาขายในบ้านเราอีกหรือ

ศูนย์ปราบปรามผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้างและผู้ร้ายสำคัญ (ศปอร.ตร.) ให้ข้อมูลไว้ว่า "แบลงค์กัน (Blank Guns)" หรือ สิ่งเทียมอาวุธปืน ที่นิยมใช้ในการแสดง ไม่สามารถใช้กระสุนจริงได้ แต่ปัจจุบันมีกลุ่มคนนำมาดัดแปลงเพื่อให้สามารถใช้ได้กับกระสุนจริง จนนำมาซึ่งเหตุการณ์สะเทือนขวัญ โดย ศปอร.ตร. ได้มีการกวาดล้างอย่างต่อเนื่อง

ปืน "แบลงค์กัน" (Blank Guns) หรือ "แบลงค์ฟายลิ่งกัน" (Blank Firing Guns) คือ ปืนจำลอง หรือโมเดลปืน ที่จำลองรูปแบบและหลักการทำงานมาจากปืนจริง แต่ ไม่สามารถขับเครื่องกระสุน หรือเม็ดกระสุนใดๆ ออกมาจากลำกล้องได้ ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนารูปลักษณ์ภายนอกและหลักการทำงานเหมือนของจริงเกือบ 100% เป็นอุปกรณ์จำลองที่ถูกพัฒนามาจาก บีบีกัน

ในขบวนการออกแบบและผลิตปืนแบลงค์กัน จะป้องกันให้ปืนไม่สามารถใช้กระสุนของจริงได้ และมีระบบป้องการดัดแปลง กล่าวคือ โครงสร้างภายในต่างจากปืนจริง ไม่สามารถที่จะทำการดัดแปลงได้โดยสิ้นเชิง

โดยหลักการทั่วไปของแบลงค์กันนั้น สามารถบรรจุกระสุนได้ (แต่ต้องเป็นกระสุนที่ผลิตมาเพื่อใช้งานกับแบลงค์กันเท่านั้น) เมื่อทำการเหนี่ยวไก ที่ปลายกระบอกจะมีไฟแล่บออกมาจากปากกระบอก (Front Firing) มีเสียงยิงที่เหมือนกับของจริง มีการคัดปลอกกระสุนออกมาเหมือนของจริง แต่ไม่มีกระสุนหรืออะไรวิ่งออกมาจากปลายกระบอกแบลงค์กัน

การออกแบบหลักการทำงานเช่นนี้ เป็นไปตามกฎและมาตรฐานเพื่อป้องกันไม่ให้สามารถใช้กระสุนจริงได้ จะมีก็เพียงรูระบายออกปลายกระบอก และมีเหล็กแกนที่แข็งแรงบล๊อคเอาไว้อีกด้วย แต่ปัจจุบันได้มีการนำเอาโคลงปืน ​"แบลงค์กัน" ไปดัดแปลงเพื่อใช่กระสุนจริงยิงได้ และมีขายตามเพจในโลกโซเชียลอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายร้ายแรง โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทยออกปราบปรามจับกุมได้บ่อยครั้ง

ด้วยความที่เป็นสิ่งเทียมอาวุธปืนนั้น เวลาจะใช้ก็จะมีกฎหมายบังคับอยู่ด้วย เช่นเรื่องการพกพา การนำพา การใช้งาน เช่น ไม่สามารถพกพาไปโดยเปิดเผย หรือทำให้ผู้อื่นสามารถสังเกตเห็นได้ เพราะอาจจะมีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นตกใจ และการนำพาไปยังสถานที่ต่างๆก็ควรจะเก็บไว้ในกล่องให้เรียบร้อย อย่าพกเหน็บเอวเด็ดขาด

"แบลงค์กัน" นั้นไม่ใช่อาวุธปืน จึงไม่ต้องขออนุญาต แต่เวลาที่ซื้อจำเป็นจะต้องให้สำเนาบัตรประชาชนกับร้านค้าไว้ด้วย เพื่อที่ทางร้านจะได้นำไปลงบันทึกว่ารายการนี้เป็นของผู้ใด การใช้งานนั้น ก็สามารถใช้งานได้หลากหลาย แต่โดยหลักๆก็เพื่อการแสดงละคร การแสดงภาพยนตร์ การปล่อยตัวนักกีฬา หรือเพื่อการสะสมนั่นเอง

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ "แบลงค์กัน" คืออะไร ทำไมไม่ผิดกฎหมาย ทั้งที่ดัดแปลงเป็นปืนฆ่าคนได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook