มั่วแล้ว! ข่าวอ้างรื้อที่อุดฟันออก ช่วยหายจากสารพัดโรค อ.เจษฎ์ ยืนยัน "ไม่จริง"

มั่วแล้ว! ข่าวอ้างรื้อที่อุดฟันออก ช่วยหายจากสารพัดโรค อ.เจษฎ์ ยืนยัน "ไม่จริง"

มั่วแล้ว! ข่าวอ้างรื้อที่อุดฟันออก ช่วยหายจากสารพัดโรค อ.เจษฎ์ ยืนยัน "ไม่จริง"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม! อ.เจษฎ์ ยืนยัน อุดฟันด้วยอะมัลกัมปรอท ไม่ได้อันตราย ไม่ต้องรีบไปรื้อออก

อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เตือนพร้อมให้ความรู้ผ่านเฟซบุ๊กเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ หลังจากมีแฟนเพจที่ถามถึงเรื่องการอุดฟัน โดยบอกว่ามีข้อมูลบางเว็บบอกให้ไปรื้อเอาที่อุดฟันออก แล้วจะหายจากโรคมากมาย จนต้องทึ่ง !?

กรณีมีการให้ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์หนึ่งระบุว่า ที่อุดฟันสีเงิน เป็นสาเหตุหลักของความผิดปกติของสุขภาพ และโรคต่างๆ เช่น ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ เส้นโลหิตตีบ โรคอัลไซเมอร์ พิการแต่กำเนิด ซึมเศร้า เหนื่อยล้าเรื้อรัง ฯลฯ เพราะแม้ว่ามันจะเป็นวัสดุทางทันตกรรม ที่ราคาถูกที่สุด แต่มันเป็นอันตราย เนื่องจากมีสารปรอทอยู่ในเปอร์เซ็นต์สูง คือสูงถึง 54% และจะอยู่ในช่องปากเป็นเวลานานหลายปี ปรอทที่อยู่ในช่องปากจะปล่อยก๊าซพิษตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสาเหตุหลักของหลายโรคที่คุกคามชีวิตได้ !?

โดยทางอาจารย์เจษฎา ยืนยันว่าการรายงานข่าวกรณีข้างต้นนั้น ไม่เป็นความจริง! แม้ว่าสารปรอทบริสุทธิ์ จะเป็นโลหะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ได้จริง แต่ปรอทที่ถูกนำมาใช้ทางทันตกรรมนั้น ได้ถูกผสมกับโลหะอื่นๆ ได้แก่ สังกะสี เงิน ทองแดง เกิดเป็นวัสดุที่เรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ซึ่งมีความคงทนสูงและนำมาอุดฟันได้โดยไม่เป็นอันตราย

วัสดุอุดฟันแบบอมัลกัม (โลหะผสมปรอท) นี้ มีการใช้งานกันมานานร่วมร้อยปีแล้ว โดยไม่เคยพบว่าเป็นอันตรายร้ายแรงอะไร นอกเสียจากว่าเกิดอาการแพ้ได้ในบางคน (ซึ่งก็น้อยมากๆ) และถ้าพบว่ามีความจำเป็น หรือเมื่อถึงเวลาที่อะมัลกัมเริ่มเสียหาย จึงค่อยรื้อออก แล้วเปลี่ยนไปใช้วัสดุชนิดอื่น เช่น วัสดุเรซินคอมโพสิต (resin composite) แทน ... แต่ทันตแพทย์จะต้องทำการรื้ออะมัลกัมออกด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้คนไข้ได้รับสารปรอทเข้าไปในระหว่างที่รื้อ

ซึ่งเรื่องนี้ ทางทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เคยเผยแพร่ การศึกษารวบรวมข้อมูลทางวิชาการ เกี่ยวกับเรื่อง "ผลกระทบของการใช้อะมัลกัมที่มีต่อสุขภาพ" เช่น พบว่า "ปริมาณปรอทจากวัสดุอะมัลกัมที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยประมาณ 2-5 μg ต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่ที่มีวัสดุอะมัลกัมเฉลี่ย 8 ซี่ และ 0.3 μg ต่อวัน สำหรับเด็กอายุ 12 ปี ซึ่งมีวัสดุอะมัลกัมเฉลี่ย 0.5 ซี่" ซึ่งนับเป็นปริมาณที่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปรอทที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวัน (มีค่าเฉลี่ย 15 μg ต่อวัน และปริมาณปรอทที่ร่างกายดูดซึมได้มีค่าเฉลี่ยต่อวัน 5.8 μg)

และสุดท้าย ทางทันตแพทยสมาคมฯ ได้ข้อสรุปว่า "การใช้วัสดุอะมัลกัมบูรณะฟันไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ต่อสุขภาพ หรือผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ทางร่างกายต่อผู้ป่วย มีการพบการตอบสนองเฉพาะที่ (local adverse effects) ได้บ้างแต่ไม่มากนัก และสามารถจัดการรักษาได้โดยไม่ยุ่งยาก"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook