เปิดสถิติ “การครอบครองปืน” เมื่อประเทศไทยรั้งอันดับ 1 ของอาเซียน

เปิดสถิติ “การครอบครองปืน” เมื่อประเทศไทยรั้งอันดับ 1 ของอาเซียน

เปิดสถิติ “การครอบครองปืน” เมื่อประเทศไทยรั้งอันดับ 1 ของอาเซียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนึ่งประเด็นที่ประชาชนตั้งข้อสงสัยหลังเกิดเหตุกราดยิงพารากอน คือเยาวชนชายคนดังกล่าว “ครอบครองปืน” ได้อย่างไร ที่น่าตกใจยิ่งกว่าการถือปืนเข้าไปในห้างสรรพสินค้าและปลิดชีพคนบริสุทธิ์ไปถึง 2 ชีวิต คือที่พักของเยาวชนคนดังกล่าว เต็มไปด้วยอาวุธปืนและลูกกระสุนปืนพร้อมใช้ เช่นเดียวกับคลิปวิดีโอการฝึกใช้ปืนอย่างเชี่ยวชาญ จนคล้ายกับว่าการหาซื้อปืนในบ้านเมืองนี้สามารถ “ทำได้ง่าย” เหมือนเดินไปซื้อของที่ตลาดอย่างไรอย่างนั้น

Sanook เปิดสถิติ “การครอบครองอาวุธปืน” ที่น่าตกใจ พร้อมพาไปดูอัตราการเสียชีวิตของคนไทยเพราะอาวุธปืน ที่เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากให้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก 

ไทยมีปืนเยอะเป็นที่ 1 ในอาเซียน

องค์กร Small Arms Survey ของสวิตเซอร์แลนด์ เปิดเผยข้อมูลการครอบครองอาวุธปืนของพลเรือนทั่วโลก พบว่าในปี 2560 ทั่วโลกมีอาวุธปืนมากกว่า 800 ล้านกระบอก ซึ่งแน่นอนว่าสหรัฐอเมริการั้งอันดับ 1 ของโลก ที่พลเรือนครอบครองปืนมากที่สุด อยู่ที่ 393 ล้านกระบอก รองลงมาคือประเทศอินเดีย 71 ล้านกระบอก และประเทศจีน 49.7 ล้านกระบอก

เมื่อย้อนดูสถิติของประเทศไทย ซึ่งมีประชากร 68 ล้านคน ก็พบว่าไทยรั้งอันดับที่ 13 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพลเรือนไทยครอบครองปืนมากถึง 10.3 ล้านกระบอก แยกเป็นปืนที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง จำนวน 6.2 ล้านกระบอก ส่วนอีกกว่า 4 ล้านกระบอก เป็นอาวุธปืนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน 

Getty Images

หรือกล่าวได้ว่า “ในคนไทย 100,000 คน มีปืน 15 คน” ซึ่งถือเป็นอัตราที่มากเป็นอันดับที่ 48 ของโลก

นอกจากจะเป็นอันดับ 1 ในอาเซียนแล้ว รายงานจาก Small Arms Survey และกลุ่มป้องกันการทำร้ายด้วยอาวุธปืน ยังชี้ว่าประเทศไทยเป็นแหล่งตลาดมืดค้าปืน 

ไทยมีความเสี่ยงเกิดเหตุกราดยิง

จากการรวบรวมข้อมูลของ World Population Review ระบุว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืน จำนวน 2,804 คน หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.92 คน ต่อประชากร 100,000 คน รั้งอันดับที่ 15 ของประเทศที่มีประชากรเสียชีวิตด้วยอาวุธปืนสูงที่สุดในโลก

Getty Images

ขณะที่ข้อมูลของโครงการเพื่อการศึกษาป้องกันเหตุรุนแรง (Early Warning Project) ก็เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2564 - 2565 ความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุสังหารหมู่ของประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 19 จากทั้งหมด 162 ประเทศทั่วโลก ซึ่งขยับเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 42 ในปีก่อนหน้า 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook