เปิดสถิติ “การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน” ของไทย ถ้าเป็นเด็กไม่ต้องรับโทษจริงหรือ?

เปิดสถิติ “การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน” ของไทย ถ้าเป็นเด็กไม่ต้องรับโทษจริงหรือ?

เปิดสถิติ “การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน” ของไทย ถ้าเป็นเด็กไม่ต้องรับโทษจริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังเกิดเหตุการณ์เด็ก 14 ปีก่อเหตุกราดยิงประชาชนภายในห้างชื่อดังใจกลางเมือง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายและบาดเจ็บ 5 ราย ก็นำไปสู่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากในสังคม ถึงประเด็นที่ถ้าผู้ก่อเหตุเป็นเด็กและเยาวชน “ไม่ต้องรับโทษ” ในคดีอาญา แต่แท้จริงแล้วกระบวนการเอาผิดต่อเด็กและเยาวชนผู้ก่อเหตุเป็นอย่างไร แล้วเด็กและเยาวชนจำนวนมากแค่ไหน ที่กระทำผิดในแต่ละปี Sanook เปิดสถิติ “การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน” พร้อมเปิดกฎหมายว่าด้วยเด็กและเยาวชนผู้ทำผิด 

สถิติเด็กทำผิด

จากรายงานสถานการณ์การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ประจำปีงบประมาณ 2565 ระบุว่าในช่วงระหว่าง 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 มีจำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสภานพินิจฯ ทั่วประเทศ ทั้งหมด 12,195 คดี แบ่งเป็นเพศชาย 11,032 คดี (90.49%) และเพศหญิง 1,160 คดี (9.51%) 

ในจำนวนนี้มากถึง 6,306 คดี หรือ 51.72% ของคดีทั้งหมด ผู้กระทำผิดมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด รองลงมาเป็นระดับประถม 2,142 คดี (17.57%) นอกนั้นเป็นระดับการศึกษานอกระบบ 1,218 คดี 

Getty Images

เมื่อลองดูตามฐานความผิด พบว่าเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากที่สุด ถึง 4,885 คดี หรือ 40% ของคดีทั้งหมด เป็นคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 1,828 คดี หรือคิดเป็น 14.99% และเป็นคดีที่มีฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย มีมากถึง 1,695 คดี หรือคิดเป็น 13.90% 

สำหรับคดีเด็กและเยาวชนที่ศาลพิพากษาตัดสินในปีงบประมาณ 2565 ทั้งหมด 12,195 คดี แยกย่อยได้เป็นการลงโทษแบบควบคุมตัวเพื่อฝึกและอบรม มากถึง 2,594 คดี ขณะที่คดีที่ไม่ต้องรับโทษ แต่ใช้วิธีอื่นสำหรับเด็ก มีทั้งหมด 715 คดี 

เปิดกฎหมายอาญาคดีเด็กและเยาวชน

สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน สามารถแยกออกได้เป็น 4 กฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ, พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก, ประมวลกฎหมายอาญา, และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

Getty Images

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ และวิธีปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชน โดบ พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้นิยามความหมายของเด็กและเยาวชนว่า 

  • เด็ก คือบุคคลที่อายุไม่ถึง 15 ปี
  • เยาวชน คือบุคคลที่อายุระหว่าง 15 - 18 ปี 

โดยในมาตรา 5 ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ กำหนดว่าคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กและเยาวชนเป็นผู้ทำความผิด ในยึดอายุของเด็กและเยาวชนในวันที่กระทำความผิด ขณะที่มาตรา 41 ระบุว่าระหว่างที่เด็กและเยาวชนอยู่ในสถานพินิจ ต้องให้การศึกษาเล่าเรียน หรือให้ทำสิ่งที่เหมาะสมอื่นๆ 

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ให้คำนิยามว่า “เด็ก” เป็นบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี (แต่ไม่รวมผู้ที่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส) โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้มีมาตราที่กำหนดว่าการปฏิบัติต่อเด็ก จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสูกของเด็กเป็นสำคัญ

Getty Images

เมื่อเด็กทำผิดกฎหมาย จะได้รับโทษโดยอิงจากประมวลกฎหมายอาญา ในมาตรา 73 - มาตรา 76 ดังนี้ 

  • มาตรา 73 ระบุว่า เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ถ้าทำผิด เด็กคนนั้นไม่ต้องรับโทษ
  • มาตรา 74 ระบุว่า เด็กอายุ 12 - 15 ปี ถ้าทำผิด ก็ไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลมีอำนาจในการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
    • ว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไป หรืออาจเรียกพ่อ แม่ ผู้ปกครองมาตักเตือนด้วยก็ได้ 
    • วางข้อกำหนดให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ไม่ให้เด็กก่อเหตุตามเวลาที่ศาลกำหนด หรือถ้ากระทำผิดอีกก็ต้องจ่ายเงินให้ศาลครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท 
    • ส่งตัวเด็กไปสถานศึกษา สถานฝึกและอบรม หรือสถานแนะนำทางจิต แต่ไม่ให้อยู่เกิน 18 ปี
    • แต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติเพื่อคุมประพฤติเด็กด้วยก็ได้
    • ถ้าเด็กไม่มีพ่อ แม่ ผู้ปกครอง หรือศาลเห็นว่าไม่สามารถดูแลเด็กได้ ศาลจะมอบเด็กให้อยู่กับบุคคลหรือองคืการที่ศาลเห็นสมควร
  • มาตรา 75 ระบุว่า ถ้าเด็กอายุ 15 - 18 ปีทำความผิด ศาลจะพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและตัดสินว่าจะลงโทษหรือไม่ ถ้าตัดสินลงโทษอางอาญาแบบคนทั่วไป จะลดโทษให้กึ่งหนึ่ง แต่ถ้าไม่ลงโทษ จะดำเนินการตามมาตรา 74 
  • มาตรา 76 ระบุว่า ถ้าเด็ก 18 - 20 ปีทำความผิด ต้องรับโทษอาญาเหมือนผู้ใหญ่ แต่ศาลอาจลดโทษให้ ⅓ หรือกึ่งหนึ่ง

นอกจากเด็กและเยาวชนผู้กระทำผิดแล้ว ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429 ก็ระบุว่าพ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองได้ทำหน้าที่แล้ว กล่าวคือถ้าเด็กทำผิด ผู้ปกครองก็อาจจะต้องรับผิดชอบโทษทางแพ่งด้วยนั่นเอง 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook