หมอแล็บฯ อธิบายเข้าใจง่าย ทำไมถึงเรียก "โรคฉี่หนู" ร้ายแรงไม่ใช่เล่นๆ ปีนี้ตายแล้ว 31 ศพ

หมอแล็บฯ อธิบายเข้าใจง่าย ทำไมถึงเรียก "โรคฉี่หนู" ร้ายแรงไม่ใช่เล่นๆ ปีนี้ตายแล้ว 31 ศพ

หมอแล็บฯ อธิบายเข้าใจง่าย ทำไมถึงเรียก "โรคฉี่หนู" ร้ายแรงไม่ใช่เล่นๆ ปีนี้ตายแล้ว 31 ศพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฟังหมอเตือน! หมอแล็บ เผย "โรคฉี่หนู" เรื่องใกล้ตัวในฤดูฝน อันตรายไม่ใช่เล่นๆ ปีนี้เสียชีวิตแล้ว 31 ราย

ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง ได้โพสต์ให้ความรู้เรื่องดังกล่าวผ่านเพจเฟสบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า แจ้งเตือนอันตรายจากโรคฉี่หนู ตั้งแต่ต้นปีเสียชีวิตแล้ว 31 ราย โดยระบุว่า

"ตั้งแต่ต้นปี 66 จนถึง 24 กันยายน 2566 มีผู้ป่วยโรคเล็ปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนูแล้วกว่า 2,700 ราย เสียชีวิตแล้ว 31 ราย ไม่ใช่เรื่องเล่นๆเลยนะครับเนี่ย!!

โรคฉี่หนูหรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เชื้อที่ว่านี้เป็นแบคทีเรียที่ชื่อว่าเล็บโตสไปร่า พอสัตว์ติดเชื้อมันก็กระจายไปที่อวัยวะต่างๆของสัตว์ สะสมที่ไตของสัตว์ก็มี เนื่องจากมันมีอยู่ที่ไต พอสัตว์ฉี่ออกมาปนกับน้ำท่วมขัง เชื้อโรคก็เลยกระจายอยู่ในน้ำ

พอเราไปเดินแช่ เดินย่ำน้ำ ลงน้ำ มุดน้ำ เชื้อมันก็เข้าสู่ร่างกายเราตามบาดแผลได้ สัตว์ที่ติดเชื้อนี้ได้ เช่น หมา หนู วัว ควาย หมู แพะ แกะ เป็นต้น แต่พบมากที่สุดก็คือหนู ก็เลยเรียกว่าโรคฉี่หนู “ฉี่หนู”

ดังนั้นคนที่มักจะเป็นโรคนี้ก็คือเกษตรกรที่เดินย่ำน้ำบ่อยๆ หรือพวกเราที่ลุยน้ำท่วมนี่แหละครับ พอได้รับเชื้อประมาณ 10 วัน และเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดมักจะมีอาการ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัว ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง ขา เอว

ถ้าเป็นไปได้ก็ใส่รองเท้าบู๊ทหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเดินบริเวณน้ำขังนะคร้าบ"

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ หมอแล็บฯ อธิบายเข้าใจง่าย ทำไมถึงเรียก "โรคฉี่หนู" ร้ายแรงไม่ใช่เล่นๆ ปีนี้ตายแล้ว 31 ศพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook