“ฮามาส” คือใคร ทำไมเปิดฉากโจมตี “อิสราเอล” อย่างรุนแรง

“ฮามาส” คือใคร ทำไมเปิดฉากโจมตี “อิสราเอล” อย่างรุนแรง

“ฮามาส” คือใคร ทำไมเปิดฉากโจมตี “อิสราเอล” อย่างรุนแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การโจมตีอิสราเอลครั้งล่าสุดของ “กลุ่มฮามาส” ถือเป็นการโจมตีครั้งรุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ส่งผลให้พลเรือนผู้บริสุทธิ์ถูกสังหารและจับเป็นตัวประกันจำนวนมาก จนอิสราเอลประกาศกร้าวว่าจะต้องเอาคืนกลุ่มฮามาสให้สาสม ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่ากลุ่มฮามาสที่เปิดปฏิบัติการ “อัล-อักซา ฟลัด” ที่ยิงขีปนาวุธมากกว่า 5,000 ลูก ถล่มอิสราเอล คือใคร แล้วทำไมต้องโจมตีอิสราเอลอย่างรุนแรงแบบนี้

Sanook พาทุกคนไปทำความรู้จัก “กลุ่มฮามาส” กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกับอิสราเอลมาอย่างยาวนาน

“กลุ่มฮามาส” คือใคร

กลุ่มฮามาส หรือ “กลุ่มติดอาวุธฮามาส (Hamas)” เป็นกองกำลังติดอาวุธปาเลสไตน์ที่เคร่งศาสนาอิสลาม นิกายชีอะห์ ถือเป็นขบวนการอิสลามเพื่อการต่อต้าน (Islamic Resistance Movement) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1987 ในช่วงการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์เพื่อต่อต้านการยึดครองของอิสราเอล หรือที่เรียกว่าอินติฟาดา (Intifada) 

Getty Images

กลุ่มฮามาสปกครอง “ฉนวนกาซา” มาตั้งแต่ปี 2007 และไม่ยอมรับการมีตัวตนหรือความเป็นรัฐของอิสราเอล โดยกลุ่มฮามาสสาบานว่าจะทำลายล้างอิสราเอล โดยมีการสู้รบกันอย่างยาวนาน ซึ่งกลุ่มฮามาสได้เปิดฉากโจมตีอิสราเอลอย่างรุนแรงหลายครั้ง ขณะที่อิสราเอลก็โจมตีใส่กลุ่มฮามาสหลายครั้งเช่นกัน 

เป้าหมายของกลุ่มฮามาสคือการสถาปนารัฐอิสลามในปาเลสไตน์ทั้งหมด รวมถึงเขตเวสต์แบงค์ ฉนวนกาซา และอิสราเอล โดยกลุ่มฮามาสได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านทั้งด้านเงินทุน การจัดหาอาวุธ และการซ้อมรบ ขณะที่หลายประเทศทั่วโลก อย่างอิสราเอล สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร จัดให้กลุ่มฮามาสเป็น “กลุ่มก่อการร้าย”​

จุดเริ่มต้นความขัดแย้ง "อิสราเอล" กับ "ปาเลสไตน์"

ความขัดแย้งที่ทำให้อิสราเอลและปาเลสไตน์สู้กัน อาจจะต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยโรมัน เพราะพื้นที่เขตเวสต์แบงค์ ฉนวนกาซา เยรูซาเลมตะวันออก และอิสราเอลในอยู่ตอนนี้ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ “ดินแดนปาเลสไตน์” ซึ่งในคัมภีร์ไบเบิลก็บอกว่าดินแดนนี้เป็นของชาวยิว บรรพบุรุษของชาวยิวอยู่ที่นี่มาเนิ่นนาน ขณะที่ชาวอาหรับก็บอกว่าพื้นที่ตรงนี้คือบ้านของพวกเขาเหมือนกัน 

กระทั่งในปี 1947 ที่มีมติแบ่งปาเลสไตน์ออกเป็น “รัฐของชาวยิว” กับ “รัฐของชาวอาหรับ” ซึ่งผู้นำชาวยิวยอมรับแผนนี้ แต่ผู้นำอาหรับไม่เอาด้วย จนปีต่อมาผู้นำชาวยิวได้ประกาศสถาปนา “รัฐอิสราเอล” ทำให้ชาวปาเลสไตน์ไม่ยอมรับสิทธิในการดำรงอยู่ของอิสราเอล และกลายเป็นชนวนสงคราม ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ต้องลี้ภัยหนีสงคราม แต่เมื่อมีประกาศหยุดยิง อิสราเอลก็เข้ายึดพื้นที่ของปาเลสไตน์เรียบร้อยแล้ว 

Getty Images

ทั้งนี้ สงครามที่เกิดขึ้นในปี 1967 หรือ “สงคราม 6 วัน (Six Day War)” ทำให้อิสราเอลสามารถเข้าไปควบคุมดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน หรือเวสต์แบงค์และฉนวนกาซาได้สำเร็จ 

ความขัดแย้งของกลุ่มฮามาสกับอิสราเอลมีความซับซ้อนทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงประเด็นเรื่อง “กรุงเยรูซาเล็ม” ที่ถือเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของทั้งชาวยิวและชาวมุสลิม ในขณะที่อิสราเอลอ้างว่ากรุงเยรูซาเล็มทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล ชาวปาเลสไตน์ก็บอกว่ากรุงเยรูซาเล็มตะวันออกจะเป็นเมืองหลวงของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต 

ความขัดแย้งที่ยังดำเนินอยู่

ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มฮามาสกับอิสราเอลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ทหารและประชาชนเสียชีวิตหลายพันรายจากทั้งสองฝ่าย และนำไปสู่การเกิดการพลัดถิ่นของผู้คนจำนวนมาก เช่นเดียวกับการโจมตีของกลุ่มฮามาสครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ที่กลายเป็นการโจมตีของกลุ่มฮามาสครั้งที่ “รุนแรงที่สุด” ในรอบ 50 ปี ทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตไปแล้วมากกว่าพันคน

Getty Images

แรงงานชาวไทยที่พำนักอยู่ในอิสราเอลกว่า 30,000 คน ก็ได้รับผลกระทบจากการโจมตีครั้งนี้อย่างรุนแรง โดยมีแรงงานไทยเสียชีวิตแล้ว 12 ราย บาดเจ็บ 8 ราย และถูกกลุ่มฮามาสลักพาตัวอีกทั้งหมด 11 ราย 

ขณะที่รัฐบาลไทยยังคงทำงานอย่างหนักเพื่อพาประชาชนไทยกลับบ้านอย่างปลอดภัย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook