ไทยพีบีเอส เปิดพื้นที่ระดมความคิด ผลักดันให้คนพิการมีงานทำ “HACKATHON เพื่อคนพิการ"

ไทยพีบีเอส เปิดพื้นที่ระดมความคิด ผลักดันให้คนพิการมีงานทำ “HACKATHON เพื่อคนพิการ"

ไทยพีบีเอส เปิดพื้นที่ระดมความคิด ผลักดันให้คนพิการมีงานทำ “HACKATHON เพื่อคนพิการ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไทยพีบีเอส จับมือภาคีเครือข่ายคนพิการ เปิดพื้นที่ระดมความคิด ชวนทุกภาคส่วนมาร่วมหาทางออก มุ่งสร้างโอกาส ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมเร่งผลักดันให้คนพิการกว่า 80,000 คนมีงานทำ  

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย รวมพลังขับเคลื่อนสังคม แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในเชิงโครงสร้าง และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของคนพิการอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรม “HACKATHON เพื่อคนพิการ : HACK HUG HUG เติมใจให้งาน” ที่จัดขึ้นในวันที่ 28 – 30 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ไทยพีบีเอส 

ไทยพีบีเอส เปิดพื้นที่ระดมความคิด สร้างนวัตกรรมผลักดันให้คนพิการมีงานทำ “HACKATHON เพื่อคนพิการ

ไทยพีบีเอส จับมือภาคีเครือข่ายคนพิการ เปิดพื้นที่ระดมความคิด ผลักดันให้คนพิการมีงานทำ

จากข้อมูลสถานการณ์คนพิการในประเทศไทย ปี 2565 มีคนพิการทั่วประเทศจำนวน 2,000,000 คน และมีจำนวนคนพิการที่สามารถประกอบอาชีพได้ แต่ยังคงว่างงานอยู่จำนวนมากถึง 81,502 คน และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายและพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 แล้วก็ตาม ในทางกลับกันพบว่า มีการจ้างงานคนพิการน้อยกว่าเจตนารมณ์ของกฎหมาย สิทธิด้านอาชีพคนพิการขาดหายจนเกิดเป็นช่องว่างในสังคม จึงนำมาสู่กิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อกระตุ้นกลไกการจ้างงาน เชื่อมโยงระหว่างสถานประกอบการและคนพิการ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีคุณค่าและเท่าเทียมกัน และเป็นพื้นที่กลางระดมความคิดก่อให้เกิดนวัตกรรมและวิธีการใหม่ ๆ ที่จะสร้างโอกาสให้เกิดการจ้างงานคนพิการ โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วม HACKATHON จำนวน 56 คน ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้แก่ AIS, กระทรวงสาธารณสุข, กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, King Power, ทีมผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย โดยแบ่ง 8 ทีม ภายใต้ 4 โจทย์ ได้แก่

1) การเพิ่มอัตราการจ้างงาน ม.33 ในภาคเอกชนให้มากขึ้นกว่าเดิมที่มีอัตราส่วนลูกจ้าง 100 คนต่อคนพิการ 1 คน ซึ่งหลังจากกิจกรรมนี้จบลงข้อเสนอแนะการจ้างงานในภาคเอกชนมีจำนวนมากกว่านี้ได้หรือไม่

2) การเพิ่มอัตราการจ้างงาน ม.35 ในภาครัฐ โดยการให้พื้นที่คนพิการได้สร้างรายได้ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งแต่เดิมนายจ้าง ขอใช้สิทธิเพื่อทดแทนการจ้างงานและไม่นำเงินเข้ากองทุน โดยให้คนพิการสามารถประกอบอาชีพได้เพียง 7 วิธี เช่น ให้สถานที่ขายสินค้าและบริการ การให้สถานที่ฝึกงาน การให้สัมปทาน การจ้างช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการ การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดให้มีล่ามภาษามือ และการให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ  

3) ลดการจ่ายเงินเข้ากองทุนคนพิการ ใน ม.34 เดิมนายจ้างหรือเจ้าของต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี ส่งผลให้นายจ้างบางคนไม่อยากจ้างงานคนพิการเข้าทำงาน ซึ่งสิ่งที่ทางโครงการอยากจะผลักดันและตั้งคำถามต่อว่า ในจำนวนค่าจ้างขั้นต่ำทั้งปีน้อยกว่านี้ได้หรือไม่?

4) พัฒนาโอกาสทางเลือกในการประกอบอาชีพอิสระ โดยต้องการผลักดันให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และสถานประกอบการภาคเอกชน พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ได้ให้โอกาส เติมเต็มความรู้ต่อยอดด้านอาชีพ และสนับสนุนมากกว่านี้ได้หรือไม่?

โดยในวันที่ 30 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ทั้ง 8 ทีมร่วม Pitching นำเสนอไอเดียและสรุปภาพรวมเป็นโจทย์หลัก ได้แก่ กลุ่มที่ 1 : Ability Employment “มหาวิทยาลัยตามสั่ง”, กลุ่มที่ 2 : เพิ่มอัตราการจ้างงาน ม.33 ในภาคเอกชน Sustainability, กลุ่มที่ 3 : ส่งเสริมการมีงานทำในภาครัฐ สร้างความเข้าใจไปจ้างคนพิการ, กลุ่มที่ 4 : CSR ส่งต่อความสุข คนพิการมีงานทำ, กลุ่มที่ 5 : ทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่กรมจัดหางานทำง่าย สะดวกเพื่อประโยชน์แก่บริษัทจ้าง ม.35 ง่ายขึ้น, กลุ่มที่ 6 : เคาะประตูทอดสะพาน เพิ่มการจ้างงานคนพิการ 4,000 อัตรา, กลุ่มที่ 7 : โครงการหากันจนเจอพาเธอให้ยั่งยืน และกลุ่มที่ 8 : dEcosystem


นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร. วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. นายตรี บุญเจือ ผู้อำนวยการสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์ (กสทช.) นายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP) นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล ผู้แทนจากสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย และ นางสาวสราญภัทร อนุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมรับชมกิจกรรมอื่น ๆ อาทิ  โชว์เพลง "เติมใจให้กัน" โดย “กบ-ทรงสิทธิ รุ่งนพคุณศรี” ร่วมร้องกับน้อง ๆ คนพิการ และ MV โครงการต่อเติมแรงใจ โดยทีมอาสาเรียนรู้ จากโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นต้น

ทั้งนี้ นวัตกรรมการสร้างงานให้คนพิการ ผ่านการตั้งโจทย์ทั้ง 8 ข้อที่ได้เสนอมาจาก Hackathon ครั้งนี้จะถูกผลักดันไปต่อได้หรือไม่? ระยะเวลา 2 เดือนหลังจากนี้จะเป็นบทพิสูจน์สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชนอีกครั้ง และนำไปสู่การสรุปผลต่อไปในวันที่ 3 ธันวาคม 2566 ซึ่งตรงกับวันคนพิการสากล ที่ต้องสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจ รวมถึงให้ความช่วยเหลือพวกเขาให้ดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขต่อไป

มารวมพลังขับเคลื่อนสังคม ชวนมองอีกแง่มุมที่คุณอาจไม่เข้าใจ เพื่อกระตุ้นสถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้หันมาสนับสนุนคนพิการให้มีงานทำมากยิ่งขึ้น สามารถติดตามรับชมกิจกรรม “HACKATHON เพื่อคนพิการ : HACK HUG HUG เติมใจให้งาน” ย้อนหลังผ่านทาง

  • Facebook LIVE, YouTube : Thai PBS
  • หรือรับชมในรูปแบบ Big Sign ภาษามือใหญ่เต็มจอ ทาง www.VIPA.me, แอปพลิเคชัน VIPA.me, Facebook : VIPA และ YouTube : ThaiPBS Big Sign

[Advertorial]

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook