แม่ใจเจ็บ ลูก 3 ขวบกลับจากโรงเรียน ร้องไห้บอก "ฉี่ไม่ออก" ถอดกางเกงดู รีบอุ้มไปหาหมอ
ลูก 3 ขวบกลับจากโรงเรียน ร้องไห้บอก "มันเจ็บ ฉี่ไม่ออก" แม่ถอดกางเกงดู ช็อก "ถูกมัด" รีบอุ้มไปหาหมอ
เด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียนยังไม่สามารถป้องกันตนเองได้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องติดตามทุกการแสดงออก ท่าทาง และการกระทำของลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อคอยสอดส่องและตรวจพบปัญหาที่ลูกๆ อาจกำลังประสบอยู่
ล่าสุด มีเรื่องเล่าจากคุณแม่ชาวจีน เธอให้กำเนิดลูกชายหลังจากแต่งงานได้ 1 ปี ในช่วง 3 ปีแรกของชีวิตของลูกชาย เธอตัดสินใจอยู่บ้านเพื่อดูแลลูก โดยหวังว่าเขาจะได้รับการปกป้องอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กระทั่งเมื่อเด็กชายอายุได้ 3 ขวบเห็นเพื่อนๆ คนอื่นไปโรงเรียนกันหมด ก็ขอให้แม่ส่งเข้าโรงเรียนอนุบาลด้วย เธอและสามีจึงตัดสินใจเลือกโรงเรียนอนุบาลเอกชนใกล้บ้าน
ในช่วงแรกๆ หลังกลับจากโรงเรียน ลูกชายดูมีความสุขเสมอ มักจะเล่าสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรงเรียนให้ฟัง ทำให้เธอและสามีรู้สึกปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเธอพบว่าลูกชายแสดงอาการผิดปกติ ทุกเช้าเมื่อถูกปลุกมักจะดูไม่สบายใจ และร้องไห้บอกว่าไม่อยากไปโรงเรียน เธอคิดว่าเป็นเพราะลูกเริ่มเบื่อโรงเรียน หมดความสนุกในช่วงแรก จึงเริ่มรู้สึกคิดถึงแม่ ดังนั้นเธอจึงกอดปลอบใจลูกชายว่ามีเพื่อนที่โรงเรียนมากมาย และมีเกมที่น่าสนใจไม่น่าเบื่อเหมือนอยู่บ้าน
อย่างไรก็ตาม วันหนึ่งเมื่อเธอไปรับลูกจากโรงเรียน ลูกชายเอาแต่ร้องไห้และชี้ลงมาที่เป้ากางเกงบอกว่า "มันเจ็บ ฉี่ไม่ออก" เธอรีบถอดกางเกงของลูกออก และต้องตกใจเมื่อพบว่าอวัยวะเพศของลูกถูกมัดด้วยหนังยาง จนทำให้ร่างกายบริเวณนั้นทั้งหมดกลายเป็นสีแดง เธอและสามีรีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที แพทย์บอกว่าโชคดีผู้ปกครองมาพบทันเวลาจึงไม่มีอันตรายร้ายแรง หากปล่อยไว้นานอวัยวะเพศของเด็กคงได้รับผลกระทบหนักมาก
ในเวลานี้แม่จึงถามลูกชายว่าเกิดอะไรขึ้น?
ลูกชายเล่าว่าถูกเพื่อน 2 คนในชั้นเรียนรังแก โดยใช้หนังยางมัดอวัยวะเพศ แม้ว่าจะร้องไห้และฟ้องครู แต่ครูก็ไม่ได้สนใจ เมื่อได้ยินดังนั้นเธอและสามีจึงไปสอบถามคุณครูที่ดูแลเด็ก แต่กลับได้รับคำตอบปัดความรับผิดชอบ โดยบอกว่าเป็นการเล่นกันระหว่างเพื่อนร่วมชั้น และตัวเธอเองก็ไม่รู้เรื่อง อีกทั้งลูกชายของเธอก็เคยรังแกเพื่อนคนอื่นเช่นกัน ต่างกันแต่ตอนนี้เขาโดนรังแกกลับ
ผู้เป็นแม่โกรธมากกับวิธีแก้ปัญหาของครู เธอจึงรีบย้ายลูกชายไปโรงเรียนอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ลดโอกาสที่ลูกจะกลายเป็นเหยื่อของความรุนแรงในโรงเรียนหรือถูกเพื่อนรังแกต่อไป