ลูกค้าเดินห้างฯ เจอเนื้อหมูเป็นจุดดำ อ.เจษฎ์ แปะข้อมูลย้ำ "กินได้" ไม่ใช่หมูเน่า-ขึ้นรา

ลูกค้าเดินห้างฯ เจอเนื้อหมูเป็นจุดดำ อ.เจษฎ์ แปะข้อมูลย้ำ "กินได้" ไม่ใช่หมูเน่า-ขึ้นรา

ลูกค้าเดินห้างฯ เจอเนื้อหมูเป็นจุดดำ อ.เจษฎ์ แปะข้อมูลย้ำ "กินได้" ไม่ใช่หมูเน่า-ขึ้นรา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กโพสต์ลงกลุ่ม "พวกเราคือผู้บริโภค" โดยบอกว่า เมื่อเรามาซื้อหมูสามชั้นสไลด์ ณ ห้างแห่งหนึ่ง พร้อมทั้งแนบรูปภาพประกอบมาด้วย ซึ่งทำให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหลายคนแสดงความเป็นกังวลอย่างมาก

ต่อมา อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เตือนพร้อมให้ความรู้ผ่านเฟซบุ๊กเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ในประเด็นดังกล่าว โดยให้ข้อมูลว่า เป็นจุดดำที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดสีขึ้นบนเนื้อเยื่อไขมันของหมู แต่ไม่ได้อันตราย บริโภคได้ และพบอยู่เรื่อยๆ

ช่วงปี พ.ศ. 2557 ก็เคยมีการเผยแพร่ภาพทำนองนี้ ในโลกออนไลน์ โดยบอกว่า พบ "สิ่งปนเปื้อนในเนื้อสุกรชำแหละ มีลักษณะเป็นจุดดำๆ ในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง" จนทำให้ผู้บริโภคตื่นตระหนกกัน บางคนก็บอกว่าเป็นหมูเน่า-ขึ้นรา บางคนก็บอกว่าเป็นขนคุดอุดตันอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง !?

ซึ่งทาง คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาให้ข้อมูลเรื่อง “ไขข้อข้องใจ จุดดำในเนื้อสุกรชำแหละ” โดยชี้แจงว่า เนื้อหมูที่มีลักษณะจุดสีดำเป็นหย่อมๆ นั้น เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการสะสมเม็ดสี ชนิดเมลานิน (melanin) โดยผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า ไม่เป็นอันตรายอย่างแน่นอน เพียงแค่อาจจะทำให้เนื้อสุกรไม่น่ารับประทานเท่านั้นเอง

- จุดสีดำๆ ที่พบที่เนื้อหมู จะมีลักษณะเป็นหย่อมๆ หรือเป็นวงพื้นที่ (ปริมาตร) ประมาณ 0.5 x 2.0 x 5.0 หรือประมาณ10 ตารางเซนติเมตร ซึ่งกระจายห่างๆ กัน อาจจะมีตั้งแต่ 2-30 แห่ง พบเฉพาะในชั้นไขมันใต้หนังหน้าท้องบริเวณราวนม รวมทั้งผนังอก ซึ่งไม่ได้พบทุกๆ ตัว

- จุดดำเหล่านั้น เป็นความผิดปกติที่เกิดจาการสะสมเม็ดสีชนิดเมลานิน (melanin) ซึ่งมีสีดำ คล้าย ผ้าหรือกระ พบได้ในเนื้อเยื่อไขมันบริเวณหน้าท้อง เนื้อเยื่อเต้านม เนื้อเยื่อไขมันหรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณท้องใกล้เคียงกับบริเวณเต้านมของหมูเพศเมีย

- เป็นความผิดปกติที่พบได้ตั้งแต่กำเนิด ในช่วงการพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะแรก และมักพบในหมูสายพันธุ์สีดำ หรือลูกผสมที่มีสายพันธุ์สีดำร่วม ที่นิยมรับประทานกันตามท้องตลาด พบได้น้อยในหมูสีขาว

- ความผิดปกติชนิดนี้เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า seedy belly หรือ seedy cut หมูเพศผู้มีโอกาสพบได้น้อย สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้

- เนื้อหมูชำแหละที่พบจุดดำในเนื้อเยื่อไขมันนี้ ยืนยันว่า ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่อาจจะทำให้ดูลักษณะเนื้อหมูดูไม่สวย ไม่น่ารับประทานเท่านั้นเอง ไม่ต้องตกใจ

- เนื้อหมูชำแหละที่พบจุดดำในเนื้อเยื่อไขมันนี้ ยืนยันว่า ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่อาจจะทำให้ดูลักษณะเนื้อหมูดูไม่สวย ไม่น่ารับประทานเท่านั้นเอง ไม่ต้องตกใจ

- หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร 02-218-9719 www.vet.chula.ac.th

- ขณะที่ทางผู้ประกอบการเจ้าของฟาร์มหมู ก็ออกมาแสดงความเห็นว่า มีความมั่นใจในการขายเนื้อหมูมากขึ้น จากการแถลงข่าว และต้องทำความเข้าใจให้กับผู้บริโภคต่อไป ว่าเนื้อหมูลักษณะดังกล่าวไม่มีอันตรายแต่อย่างใด สามารถบริโภคได้ตามปกติ

  • ข้อแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ควรบริโภค

1. เนื้อควรจะสด โดยดูจากสีของเนื้อ ซึ่งสีของเนื้อวัวจะแดงมากกว่าเนื้อสุกรและเนื้อไก่ และไม่มีสีเขียวแทรกอยู่ตาม กล้ามเนื้อหรือขอบๆ ก้อน ฯลฯ เมื่อ”กด”ดูไม่มีน้ำไหลออกมาหรือบุ๋มลงอย่างชัดเจน เนื้อที่สดจะหยุ่นและแข็งเล็กน้อย ไม่มีน้ำแฉะ ๆ แทรกอยู่ตามกล้ามเนื้อ ไม่พบก้อน หรือถุงน้ำของพยาธิแทรกอยู่ตามกล้ามเนื้อและไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า

2. แหล่งผลิต ควรเลือกซื้อจากร้านที่สะอาด เชื่อถือได้ เนื้อสัตว์มีการเก็บรักษาคุณภาพเนื้อสัตว์อย่างถูกวิธี

3. ราคา ราคาของเนื้อต้องเหมาะกับการบริโภค และคุณภาพของเนื้อ ให้เหมาะสมกับการปรุงอาหาร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook