"วิกฤตมนุษยธรรม" ในฉนวนกาซา ท่ามกลางการสู้รบของ "อิสราเอล - ฮามาส"

"วิกฤตมนุษยธรรม" ในฉนวนกาซา ท่ามกลางการสู้รบของ "อิสราเอล - ฮามาส"

"วิกฤตมนุษยธรรม" ในฉนวนกาซา ท่ามกลางการสู้รบของ "อิสราเอล - ฮามาส"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การบุกโจมตีอย่างสายฟ้าแลบของ “กลุ่มฮามาส” ในพื้นที่ทางตอนใต้ของอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าพันคน และกลายเป็น “เรื่องใหญ่” ที่คนทั้งโลกให้ความสนใจ ก่อนจะนำไปสู่การประกาศสงครามของ “อิสราเอล” เพื่อตอบโต้การโจมตีที่เกิดขึ้น และเดินหน้าปราบปรามกลุ่มฮามาสอย่างเด็ดขาด ทั้งการยิงขีปนาวุธเข้าใส่พื้นที่ “ฉนวนกาซา” อย่างต่อเนื่อง มาตรการปิดล้อม ตัดน้ำ ไฟ อาหาร และน้ำมัน ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพลเรือนในพื้นที่อย่างรุนแรงกลายเป็น “วิกฤตมนุษยธรรม” ครั้งเลวร้ายมากที่สุดครั้งหนึ่งของโลก

แล้ว “วิกฤตมนุษยธรรม” ที่เกิดขึ้นท่ามกลางการสู้รบของ “อิสราเอล - ฮามาส” นี้คืออะไร Sanook พาทุกคนไปทำความรู้จักวิกฤติมนุษยธรรมในฉนวนกาซาที่คนทั้งโลกกำลังรู้สึกกังวลใจ

วิกฤตมนุษยธรรมคืออะไร

วิกฤตมนุษยธรรม (หรือภัยพิบัติด้านมนุษยธรรม) คือคำนิยามของเหตุการณ์บางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือความเป็นอยู่ของคนกลุ่มใหญ่ อาจเป็นความขัดแย้งภายในหรือความขัดแย้งภายนอกที่เกิดขึ้นในพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้น คนในพื้นที่ คนในประเทศและต่างประเทศมีความจำเป็นต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ 

Getty Images

ตัวอย่างของวิกฤตมนุษยธรรม เช่น การเกิดสงคราม โรคระบาด ภาวะการขาดแคลนอาหาร ภัยพิบัติ วิกฤตพลังงาน และเหตุฉุกเฉินขนาดใหญ่อื่นๆ เป็นต้น หากเหตุวิกฤตเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนมากก็อาจนำไปสู่วิกฤตผู้ลี้ภัย 

วิกฤตมนุษยธรรมในฉนวนกาซา

การโจมตีกลับของอิสราเอลเกิดขึ้นทันทีหลังจากกลุ่มฮามาสบุกโจมตี โดยอิสราเอลกระหน่ำยิงขีปนาวุธเข้าใส่อาคารบ้านเรือนและพื้นที่ต่างๆ ในฉนวนกาซา เป็นเหตุให้ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พุ่งสูงหลายพันคน ขณะมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก และมีประชาชนต้องหนีออกจากบ้านของตัวเองอีกกว่าล้านคน 

ไม่เพียงแค่นั้น วิกฤตมนุษยธรรมในฉนวนกาซาก็กำลังทวีความรุนแรงและเลวร้ายมากขึ้น เมื่ออิสราเอลยังคงมุ่งล่าหัวกลุ่มฮามาสที่ซ่อนตัวอยู่ในฉนวนกาซา โดยไม่สนใจว่าจะส่งผลกระทบต่อประชาชนบริสุทธิ์ ซึ่งวิกฤตมนุษยธรรมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในตอนนี้ มีดังต่อไปนี้

  • อิสราเอลโปรยฟอสฟอรัสขาว

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่ากองทัพอิสราเอลได้ใช้ “ฟอสฟอรัสขาว (White Phosphorus)” อาวุธเคมีต้องห้าม ในการโจมตีพื้นที่ฉนวนกาซาและเลบานอน โดยสารเคมีชนิดนี้เป็นวัตถุไวไฟและถูกต่อต้านในการใช้ทำสงคราม เนื่องจากเป็นสารเคมีที่เกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ง่าย และทำให้เกิดเปลวไฟ เมื่อสัมผัสกับผิวของมนุษย์ จะทำปฏิกิริยาและเกิดความร้อน ทั้งยังทำให้เกิดควันสีขาวที่มีความรุนแรง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อการหายใจ ประชาชนหรือทหารที่โดนสารเคมีชนิดนี้อาจะเสียชีวิตได้

Getty Images

ฟอสฟอรัสขาวเป็นอาวุธระดับรุนแรง ที่สหประชาชาติ (UN) จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับระเบิดนาปาล์ม ซึ่งเป็นอาวุธต้องห้ามภายใต้อนุสัญญาเจนีวา 1980 

  • ตัดน้ำไฟและอาหาร

อิสราเอลใช้ “มาตรการปิดล้อม” ด้วยการตัดน้ำ ไฟ อาหาร และน้ำมัน ส่งผลให้พื้นที่ในฉนวนกาซาไร้ไฟฟ้าใช้ เนื่องจากโรงไฟฟ้าไม่มีเชื้อเพลิงสำหรับการเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ การปิดล้อมฉนวนกาซาอย่างเด็ดขาดของอิสราเอล ยังทำให้ไม่สามารถลำเลียงอาหาร น้ำสะอาด และเครื่องอุปโภคบริโภคจำเป็นอื่นๆ เข้าไปในพื้นที่ได้เลย 

ขณะที่ผักและผลไม้สด ที่ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา ก็ไม่สามารถทำการลำเลียงมาส่งให้ประชาชนทางตอนเหนือได้ เนื่องจากขาดแคลนพลังงานและน้ำมัน 

Getty Images

นานาชาติต่างออกแถลงการณ์ประณามมาตรการปิดล้อมของอิสราเอล พร้อมเรียกร้องให้เปิดทางเพื่อส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าสู่พื้นที่ฉนวนกาซา

  • ขาดแคลนยารักษาโรค

การโจมตีอย่างหนักของอิสราเอล ทำให้ประชาชนในฉนวนกาซาได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก โดยโรงพยาบาลหลักสองแห่งทางตอนเหนือของฉนวนกาซา มีผู้ป่วยเกินความสามารถที่จะรับได้ ขณะเดียวกัน ฉนวนกาซากฎกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการขาดแคลนเลือดสำรอง ไม่เพียงเท่านั้น ยังเกิดวิกฤตขาดแคลนยารักษาโรคที่จำเป็น รวมไปถึงเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็น แต่ประชาชนยังคงเดินทางมาที่โรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

  • ประชาชนต้องลี้ภัย

อิสราเอลโจมตีฉนวนกาซาอย่างต่อเนื่องและรุนแรง ทำให้ประชาชนมากกว่าสองแสนคนต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน และต้องไปหลบภัยอยู่ตามโรงเรียนที่ UN ดูแล ต้องหนีตายอย่างหวาดกลัว มองดูบ้านของตัวเองถูกถล่ม หรือมองดูคนที่ตัวเองรักเสียชีวิตต่อหน้าต่อตา 

Getty Images

ล่าสุด อิสราเอลได้โปรยใบปลิวเหนือท้องฟ้าของฉนวนกาซา สั่งการให้ประชาชนกว่า 1 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนั้นรีบ “อพยพ” ลงไปทางใต้ของฉนวนกาซา ในระยะเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อความปลอดภัย เนื่องจากอิสราเอลวางแผนจะเริ่มบุกฉนวนกาซาแบบจำกัดวง เพื่อปราบปรามกลุ่มฮามาสตามที่ได้ประกาศไว้ 

คำสั่งดังกล่าวของอิสราเอลทำให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนมากเร่งเก็บข้าวของอพยพลี้ภัย แม้กลุ่มฮามาสจะเรียกร้องให้ประชาชนไม่ต้องอพยพตามคำสั่งของอิสราเอล อย่างไรก็ตาม คำสั่งอพยพดังกล่าวทำให้อิสราเอลถูก UN และหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ว่าเป็นไปไม่ได้และผิดด้วยกฎหมาย 

สถานการณ์เลวร้ายที่ประชาชนต้องเผชิญ

การสู้รบอย่างดุเดือดระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส เข้าสู่วันที่ 9 แล้ว (16 ต.ค. 2566) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั้งในอิสราเอลและปาเลสไตน์ เพิ่มเป็นมากกว่า 4,000 ราย และบาดเจ็บหลายหมื่นราย

แม้ UN และองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่งจะออกมาประณามการโจมตีพลเรือนอิสราเอลของกลุ่มฮามาส แต่อิสราเอลก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกประณามเรื่องการตอบโต้กลับที่รุนแรงเช่นกัน โดยเฉพาะคำสั่งอพยพคนในฉนวนกาซามากกว่า 1 ล้านคนในเวลาอันจำกัด

Getty Images

ไม่เพียงเท่านั้น อิสราเอลยังตัดน้ำ ไฟ และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ และเป็นอันตรายต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขา นานาชาติจึงเรียกร้องให้อิสราเอลเปิดเส้นทางให้พลเรือนในฉนวนกาซา รวมถึงการช่วยเหลืออื่นๆ ที่จะเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook