“The Witness” หนังสั้นที่เปิดภาพแรกมาว่า… ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริง
เรื่องจริงของสังคมไทย ซึ่งทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุสะเทือนใจ จะเห็นปัญหาการแชร์คลิปหรือภาพความรุนแรง ภาพความเสียหาย และภาพผู้อยู่ในเหตุการณ์ โดยคนแชร์คงไม่ทันคิด ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำร้ายและซ้ำเติมเหยื่อผู้เสียหายหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ให้รู้สึกสะเทือนใจหนักมากขึ้นไปอีก เพราะการที่เขาต้องเห็นภาพซ้ำ ๆ มันทำให้ไม่ลืม เหมือนเขาต้องอยู่กับฝันร้ายซ้ำ ๆ ทุกวัน แถมชาวเน็ตบางคนยังทำตัวเป็นนักสืบ ไปขุดคุ้ยประวัติและภาพส่วนตัวเขาเอามาส่งต่อ ทั้ง ๆ ที่นี่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลที่ลึกซึ้งเกินความจำเป็น ไม่ได้มีผลดีอะไร มีแต่จะสร้างบาดแผลทางใจและความวิตกกังวลให้กับครอบครัวผู้เสียหาย
หนังส่งต่อความรู้สึกหลอนและกดดันมาถึงผู้ชมได้ดี ทำให้ประเด็นปัญหาที่หนังต้องการสื่อสารกับผู้ชม เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ทันทีเมื่อดูหนังจบ และแรงบันดาลใจที่หนังเปิดหัวขึ้นมา น่าจะมาจากเหตุร้ายซึ่งเกิดขึ้นที่พารากอนเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หนังสะท้อนให้เห็นว่าบางทีความรุนแรงไม่ใช่การที่เราลุกไปชกหน้าใคร แต่ด้วยการโพสต์ แชร์ หรือคอมเมนต์ ที่ไม่ระมัดระวัง เราก็มีส่วนทำร้ายหรือซ้ำเติมเหยื่อหรือผู้เสียหายแล้ว
หนังสั้นชุดนี้เป็นผลงานของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) “ The Witness ” เป็นหนังที่รณรงค์ให้ร่วมกันสร้างสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัยด้วยการปรับเปลี่ยนทักษะการสื่อสารออนไลน์ ที่ไม่ละเมิดสิทธิ์ และไม่ทำร้ายใคร หรือถ้าหากสะเทือนใจกับการเสพข่าวนั้น ๆ ก็แค่ลดการใช้มือถือลงบ้าง ฯลฯ
ทักษะเหล่านี้จะค่อย ๆ สร้างสิ่งที่เรียกว่า “ความฉลาดทางดิจิทัล” ให้เกิดขึ้น “ความฉลาดทางดิจิทัล” หรือ DQ ( Digital Intelligence Quotient ) นี่แหละ ที่จะช่วยหยุดปัญหาการทำร้ายหรือทำลายคนอื่นโดยไม่ตั้งใจได้มาช่วยกันสร้างมาตรฐานใหม่ ๆ ให้สังคมออนไลน์กันเถอะ
กสทช. เขาเป็นห่วง
[Advertorial]