“พิทักษ์ทรัพย์” คืออะไร หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ 11 อดีต “แกนนำกลุ่มพันธมิตร” ชดใช้ค่าปิดสนามบิน

“พิทักษ์ทรัพย์” คืออะไร หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ 11 อดีต “แกนนำกลุ่มพันธมิตร” ชดใช้ค่าปิดสนามบิน

“พิทักษ์ทรัพย์” คืออะไร หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ 11 อดีต “แกนนำกลุ่มพันธมิตร” ชดใช้ค่าปิดสนามบิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นอีกประเด็นร้อนของสังคม เมื่อเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ “พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด” อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) 11 คน เพื่อนำมาชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการนำกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าปิดท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อปี พ.ศ.2551 โดยศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินกว่า 522 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2551 จนกว่าจะชำระเสร็จ

เมื่อข่าวถูกนำเสนอออกไป ก็ทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า “การพิทักษ์ทรัพย์” คืออะไร Sanook ทำหน้าที่ไขข้อสงสัย และพาทุกคนไปรู้จักข้อกฎหมายเกี่ยวกับการพิทักษ์ทรัพย์ให้มากขึ้น

“พิทักษ์ทรัพย์” คืออะไร

การพิทักษ์ทรัพย์ คือคำสั่งของศาลล้มละลาย ที่ตัดสินให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ อยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ โดยลูกหนี้จะไม่สามารถทำอะไรกับทรัพย์สินนั้นได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการขาย การจำนอง หรือการถ่ายโอน เพื่อเป็นการพิทักษ์ทรัพย์สินเหล่านั้นให้กับเจ้าหนี้

iStock

การพิทักษ์ทรัพย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว คือคำสั่งที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างพิจารณาคำฟ้อง โดยเจ้าหนี้สามารถขอให้ศาลพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ชั่วคราวได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหนี้โยกย้ายหรือถ่ายโอนทรัพย์สินไปไว้ที่อื่น
  • คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ารวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้โดยเด็ดขาด เกิดขึ้นต่อเมื่อศาลวินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว มีผลเหมือนเป็นคำพิพากษา แต่ยังไม่ถือว่าเป็นบุคคลล้มละลาย เพราะสามารถเจรจนกับเจ้าหนี้เพื่อประนอมหนี้ได้ ภายในกำหนด 7 วัน

ถ้ามีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จะไม่สามารถถอนฟ้องคดีได้ และเจ้าหนี้ต้องมายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายในเวลา 2 เดือน นับจากวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เพื่อลูกหนี้จะได้รู้ว่าตัวเองมีหนี้สินเท่าไร และจะจัดการกับหนี้สินดังกล่าวอย่างไร

เมื่อถูกพิทักษ์ทรัพย์จะเป็นอย่างไร

การพิทักษ์ทรัพย์เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของการล้มละลาย แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์จะล้มละลายทันที หรือกลายเป็นบุคคลล้มละลาย เพราะยังสามารถไกล่เกลี่ยและจัดการเรื่องคดีความกับเจ้าหนี้ได้

iStock

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ลูกหนี้ต้องเจอเมื่อโดนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ คือ

  • ทรัพย์สินของลูกหนี้จะตกอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว
  • ห้ามลูกหนี้ทำการใดๆ กับทรัพย์สินของตัวเอง เว้นแต่ได้รับคำสั่งจากศาล
  • ภายในเวลา 24 ชั่วโมง หลังลูกหนี้รับทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ต้องไปสาบานตัวต่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ และยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับทรัพย์สินของตัวเอง
  • ลูกหนี้ต้องประชุมเจรจากับเจ้าหนี้ทุกครั้งที่มีการนัดหมาย
  • กรณีลูกหนี้ต้องเดินทางออกนอกประเทศ ต้องขออนุญาตจากศาลหรือเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ให้ถูกต้องก่อน 

ในกรณีที่ลูกหนี้รับข้าราชการ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้จะขาดคุณสมบัติการเป็นข้าราชการ และถูกสั่งให้ออกจากราชการทันที แต่หากยังอยู่ในขั้นตอนพิทักษ์ทรัพย์ ยังไม่ถือว่าลูกหนี้ขาดคุณสมบัติจนต้องออกจากราชการ จนกว่าจะมีคำตัดสินให้กลายเป็นบุคคลล้มละลายเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook