พระราชประวัติ มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบีย นักปฏิรูปเปื้อนเลือด ผู้กุมอำนาจตัวจริง

พระราชประวัติ มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบีย นักปฏิรูปเปื้อนเลือด ผู้กุมอำนาจตัวจริง

พระราชประวัติ มกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบีย นักปฏิรูปเปื้อนเลือด ผู้กุมอำนาจตัวจริง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมเด็จเจ้าฟ้าโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัล ซะอูด มกุฎราชกุมาร แห่งซาอุดีอาระเบีย ทรงเป็นที่รู้จักในนามเจ้าฟ้านักปฏิรูป ที่ทรงมีแผนการพลิกประเทศให้ทันสมัยหลายโครงการ ขณะเดียวกัน ก็ยังทรงถูกครหาถึงความโหดเหี้ยมเด็ดขาดจากการปราบปรามผู้เห็นต่าง และหลายกรณีก็รุนแรงถึงชีวิต

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ต.ค. 2566 เจ้าชายมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบียพระองค์นี้ก็ทรงพบปะกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย ที่เดินทางไปร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย ที่กรุงริยาด ดังนั้นเราจึงน่าจะมาทำความรู้จักกับสมาชิกระดับสูงแห่งราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียพระองค์นี้ ที่ว่ากันว่าขณะนี้ทรงเป็นผู้กุมอำนาจของประเทศตัวจริง กันสักนิด

สมเด็จเจ้าฟ้าโมฮาเหม็ด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัล ซะอูด มกุฎราชกุมาร แห่งซาอุดีอาระเบีย ประสูติเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2528 (1985) ทรงเป็นพระโอรสพระองค์แรกของพระนางฟาห์ดา บินต์ ฟาลาห์ อัล ฮิธลีน ชายาคนที่ 3 ในสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซิซ อัล ซะอูด

หลังทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยม ก็ทรงศึกษาต่อด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยกษัตริย์ซะอูด ก่อนทรงเริ่มธุรกิจ และตั้งบริษัทหลายแห่งและองค์กรไม่แสวงกำไรองค์กรหนึ่ง ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมผู้ประกอบการในซาอุดีอาระเบีย

สมเด็จเจ้าฟ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฏราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย เสด็จฯ เยือนพระราชวังซาร์ซุเอลา ในกรุงมาดริด ของสเปน เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2561Carlos Alvarez/Getty Imagesสมเด็จเจ้าฟ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฏราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย เสด็จฯ เยือนพระราชวังซาร์ซุเอลา ในกรุงมาดริด ของสเปน เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2561

เมื่อปี 2552 ทรงเข้าสู่แวดวงการเมืองในฐานะที่ปรึกษาพิเศษของพระราชบิดา ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดริยาดด้วย ต่อมาเมื่อปี 2556 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าสำนักงานมกุฎราชกุมาร และปี 2558 ทรงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรองมกุฎราชกุมาร

หลังจากพระราชบิดาทรงขึ้นครองราชสมบัติซาอุดีอาระเบียเมื่อปี 2558 ได้ 2 ปี เจ้าฟ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าฟ้าชายมกุฎราชกุมาร

อย่างไรก็ตาม ปัญหาสุขภาพของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งซาอุดีอาระเบีย ทำให้สมเด็จเจ้าฟ้าชายมกุฎราชกุมารพระองค์นี้ทรงขึ้นมามีอำนาจแทน และทรงกลายเป็นผู้กุมอำนาจตัวจริง โดยระหว่างที่ทรงทำหน้าที่แทนพระราชบิดา ทรงใช้พระราชอำนาจหลายด้าน ทั้งการใช้คำสั่งทางปกครอง การแต่งตั้งโยกย้ายบุคคลสำคัญ การบัญชาการกองทัพ การควบคุมนโยบายภายในประเทศ โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยอย่างจริงจัง เช่น โครงการวิสัยทัศน์ 2030 

โครงการวิสัยทัศน์ 2030 เป็นการปฏิรูปประเทศในหลายๆ ด้าน โดยแบ่งได้ 3 กลุ่มหลักดังนี้

  • กระจายช่องทางทำเงินเข้าประเทศ
    • ส่งเสริมธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจน้ำมัน เช่น การท่องเที่ยว ความบันเทิง และเทคโนโลยี
    • ตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
    • แปรรูปรัฐวิสหากิจ
  • ปฏิรูปด้านสังคม
    • ยกเลิกข้อกำหนดที่ห้ามผู้หญิงขับรถ
    • อนุญาตให้ผู้หญิงร่วมชมการแข่งขันกีฬาและคอนเสิร์ต
    • ผ่อนคลายมาตรการแบ่งแยกเพศในการใช้สถานที่สาธารณะ
  • การริเริ่มด้านอื่นๆ
    • ลงทุนด้านการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเตรียมแรงงานในประเทศให้พร้อมกับอุตสาหกรรมในอนาคต
    • ส่งเสริมกิจกรรมและงานด้านวัฒนธรรม
    • ขยายทางเลือกด้านความบันเทิงให้กับพลเมืองและผู้มีถิ่นพำนักในประเทศ

ผู้ร่วมคอนเสิร์ตทั้งชายและหญิงโยกตามจังหวะเสียงดนตรีแนวอีดีเอ็ม ของงาน MDLBEAST SOUNDSTORM 2021 เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2564 ที่กรุงริยาด ของซาอุดีอาระเบียDarren Arthur/Getty Images ผู้ร่วมคอนเสิร์ตทั้งชายและหญิงโยกตามจังหวะเสียงดนตรีแนวอีดีเอ็ม ของงาน MDLBEAST SOUNDSTORM 2021 เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2564 ที่กรุงริยาด ของซาอุดีอาระเบีย

อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งเจ้าฟ้าชายมกุฎราชกุมารนี้ก็ทรงเผชิญกับข้อครหาหลายเรื่อง หนึ่งในนั้น คือ การเข้าไปแทรกแซงการเมืองในประเทศเยเมน การปิดกั้นการเดินทางเข้าออกประเทศกาตาร์ และการจับกุมบุคคลที่มีชื่อเสียงของซาอุดีอาระเบียหลายคน เช่น เจ้าฟ้าชายอัลวาลีด บิน ตาลาล และบรรดานักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิผู้หญิง ทั้งยังถูกสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังการสังหารนักข่าวชื่อนายจามาล คาชอกกี เมื่อปี 2561

คนถือภาพถ่ายในจามาล คาชอกกี นักข่าวชาวซาอุดีอาระเบีย เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมหน้าสถานกงสุลซาอุดีอาระเบีย ในนครอิสตันบูล ของตุรกี ที่นายคาชอกกีถูกสังหาร หลังเข้าไปทำเอกสารเพื่อจดทะเบียนสมรสกับคนรักเมื่อปี 2561Chris McGrath/Getty Imagesคนถือภาพถ่ายในจามาล คาชอกกี นักข่าวชาวซาอุดีอาระเบีย เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมหน้าสถานกงสุลซาอุดีอาระเบีย ในนครอิสตันบูล ของตุรกี ที่นายคาชอกกีถูกสังหาร หลังเข้าไปทำเอกสารเพื่อจดทะเบียนสมรสกับคนรักเมื่อปี 2561

แม้เรื่องเหล่านี้เขย่าความเชื่อมั่นในตัวพระองค์พอสมควร แต่สมเด็จเจ้าฟ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฏราชกุมาร ยังทรงเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลในซาอุดีอาระเบียเช่นเดิม 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook